ธุดงควัตร
๑๙. พระภิกษุสามเณรที่บวชมาแล้ว
ควรฝึกถือธุดงควัตร เพราะจะทำให้จิตใจเราเข็มแข็ง
เป็นการไม่ให้อาหารกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ที่ชอบทำอะไรตามใจ เปรียบเสมือนเราขังเสือตัวหนึ่งไว้ไม่ให้มันกินอาหาร
นานๆ เข้าเดี๋ยว
มันก็ตายเอง
ลักษณะของการถือธุดงค์มีมากมายที่นอกเหนือจาก
ธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เช่น เราสมาทานว่าจะไม่ฉันน้ำปานะ
ไม่ฉันอาหารอันไหนที่เราชอบมากๆ สมาทานจะฉันข้าวเปล่าๆ
จะเว้นวันฉันอาหาร จะไม่ใช้ช้อน
จะฉันอาหารที่ตักใส่ในบาตรให้หมดทุกครั้ง
สมาทานจะทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นทุกวันไม่ให้ขาด
จะฉันอาหารหรือไม่ฉันเราจะออกบิณฑบาตทุกวัน จะไม่นอนเกิน ๔ ชั่วโมง
จะไม่ไปคลุกคลีกับใคร จะเดินจงกรมอย่างน้อยวันละกี่นาที
นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละกี่นาที
จะอ่านหนังสือท่องหนังสืออย่างน้อยวันละกี่นาที ให้สมาทานเอา
สมาทานไม่พูดกับใคร ไม่มองหน้าใคร สมาทานไม่ใช้โทรศัพท์
ไม่เล่นคอมพิวเตอร์ สมาทานว่าจะทำกิจวัตรปัดกวาดเช็ดถูทุกวัน
ทำความสะอาดห้องน้ำทุกวัน สมาทานจะไปกวาดถูกุฏิครูบาอาจารย์ทุกๆ วัน
ลักษณะเช่นนี้ถ้าเราตั้งใจสมาทานเรียกว่าธุดงค์ เราอาจจะฝึกเป็นช่วงๆ
หรือถ้าเราฝึกนานจิตใจเราก็ยิ่งเข็มแข็ง
ผู้ถือธุดงค์ต้องเจริญอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ให้มาก
เดี๋ยวจิตใจจะหวั่นไหว ท้อแท้ท้อถอย เพราะช่วงนี้เรายังเอากิเลสเป็นใจ
จิตใจมันจะเหี่ยวแห้งจะหมดอาลัยตายอยาก
นั้นเป็นเพราะกิเลสมันกำลังป่วยที่เราไม่ให้อาหารมัน
มันจะพรรณนาร่ำไรรำพันอยู่ในใจถึงความสุขต่างๆ นานา
ว่าสุขเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ขอบ้างนิดหน่อยน่าคงไม่เป็นไร
เราต้องพยายามทำใจให้สงบให้ได้อย่าไปสนใจมัน
ก็ให้ฝึกถือธุดงค์เนสัชชิกบ้าง จะได้เจริญสติไม่ให้ง่วงเหงาหาวนอน
เรายังหนุ่มยังน้อยยังมีกำลังฝึกเราต้องตั้งใจฝึกให้ดีๆ
กิเลสเรานี้มันมาเหนือเมฆมาก มันผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย
ว่าอย่าเพิ่งทำเลยอย่าปล่อยอย่าวางเลย ขอโอกาสบ้างนิดหน่อย ค่อยๆ
เป็นค่อยๆ ไป
ผู้ปฎิบัติที่มุ่งมรรคผลนิพพานจึงจำเป็นต้องได้อาศัยการถือธุดงค์เหล่านี้ที่นอกเหนือจากธุดงควัตร
๑๓ ข้อ เป็นการบังคับเข้มงวดฝึกฝนจิตใจของตนเอง เพราะลำพังอาศัยกิจวัตร
ข้อวัตรต่างๆ ก็ยังไม่เพียงพอยังไม่อาจทำให้กิเลสของเราเบาบางลงได้.
ข้อที่ 1
2 3
4 5
6 7
8 9
10 11
12