เวลามีค่าให้ตั้งใจ
๕. เราบวชเป็นพระแล้ว
ไม่ควรที่จะเอาเวลาที่มีค่าไปพูดคุยคลุกคลีสรวลเสเฮฮากับคนอื่นหรือที่กุฏิอื่น
ให้เราเดินจงกรมให้มากนั่งสมาธิให้มาก
ต้องฝึกเข้าสมาธิให้ได้ให้เกิดความชำนิชำนาญ บทบริกรรมให้ท่องพุทโธ
พุทโธในใจ ถ้าจะเจริญ
อานาปานสติก็ให้ฝึกหายใจเข้าหายใจออกให้สบาย รู้ลมเข้า รู้ลมออกให้สบาย
เมื่อใจมันสงบลง ลมมันจะละเอียดก็ให้อยู่กับตัวผู้รู้
เมื่อผู้รู้เป็นหนึ่งก็ให้ปล่อยวางอาการทางกายทั้งหมดอยู่กับผู้รู้
จิตใจจะก็เกิดสภาวะ คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอตคตา เมื่อใจเราสงบ
อยู่ว่างๆ ก็ให้พิจารณาร่างกายของเรา
ตอนที่พระอุปัชฌาย์ให้กรรมฐานเราตอนที่เรากล่าวคำขอบวชทีแรกคือ เกศา
โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตัวนี้สำคัญมาก
เพราะตัวนี้เปรียบเสมือนระเบิดปรมาณูที่จะทำลายสังสารวัฏ
เป็นเครื่องมือเป็นอุปกรณ์ให้พิจารณาแยกออกเป็นชิ้นเป็นส่วนสู่พระไตรลักษณ์
จนมันเกิดภาพติดตาติดใจ ไม่ให้พิจารณาครั้งเดียวหรือสองครั้ง
ให้พิจารณาจนใจละอุปาทาน ละตัวละตน เราเดินก็พิจารณา นั่งก็พิจารณา
นอนก็พิจารณา เราทำกิจวัตรก็ให้พิจารณา ขณะที่ใจเราสงบ
แล้วมันจะไม่อยากพิจารณา
เราก็ต้องถอนจากความสงบแล้วก็พิจารณาร่างกายของเรา
จะได้ถอนสักกายะทิฎฐิ เราจะได้ละตัว
ละตนได้ ถ้าเราไม่ภาวนาตัวนี้มันก็เป็นเพียงความสงบเฉยๆ
ยังละสักกายะทิฎฐิไม่ได้ เมื่อเราทำเช่นนี้แล้ว
เราจะได้เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ตรัสรู้จริง
เราจะได้ไม่สงสัยในข้อวัตรปฏิบัติว่าสามารถทำให้เราบรรลุธรรมได้จริง
ถ้าเราเจริญสติรู้ตัวทั่วพร้อมเฉยๆ เราก็ได้แต่รู้ตัวทั่วพร้อม
ถ้าเรารักษาศีลดีเราก็จะได้ความบริสุทธิ์
แต่ตัวที่สำคัญที่ทำให้เราเป็นพระได้ก็คือ
การพิจารณาร่างกายสู่พระไตรลักษณ์
การพิจารณาไม่ใช่เรื่องง่ายต้องอาศัยความเป็นอิสระไม่คลุกคลีกับใคร.
ข้อที่ 1
2 3
4 5
6 7
8 9
10 11
12