การปฏิบัติในการเป็นนาค
1.
การปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ
ที่ทางวัดกำหนดไว้ดังนี้
- นาคต้องเข้าทำกิจกรรมต่างๆที่ได้จัดไว้ให้ด้วยความเคารพ
และตรงต่อเวลา ให้มาก่อนเวลา
- ให้ตั้งใจทำกิจวัตรโดยไม่มายาสาไถย,หลบหนี ฯลฯ
2.
การท่องคำขานนาค
- นาคจะต้องท่องคำขานนาคออกเสียงให้ได้ถูกต้องแม่นยำ เสียงดัง ฟังชัด
ในวันส่งตัว
- ขณะทำกิจต่างๆ ไม่ควรท่องคำขานนาค เช่น ปัดกวาด เช็ดถู
อยู่ในที่ชุมชน ห้องสุขา ฯลฯ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความไม่เคารพ
ควรหาที่สงบโดยไม่รบกวนผู้อื่น
- ไม่ควรท่องเล่น ทำเสียงเล็กเสียงน้อย เสียงใหญ่ ทำเป็นทำนองเพลง
3.
การครองผ้า ครองบาท การรักษาบาตร
- ให้นาคฝึกหัดการครองผ้า ครองบาตรให้ชำนาญ ทั้งห่มคลุม ห่มเฉวียง
- ปฏิบัติวัตรการดูแลรักษา บาตร และบริขารอื่นๆให้ถูกต้อง
และสะอาดเรียบร้อย
4.
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า - เย็น
- ให้นาคเข้าทำวัตรเช้า - เย็น ตามเวลาที่ทางวัดกำหนด ทุกวัน ห้ามขาด
และสายโดยเด็ดขาด และให้เลิกโดยพร้อมเพรียงกัน
- ให้ตั้งใจสวดมนต์ สวดออกเสียง พนมมือให้เรียบร้อย ไม่คุยกัน ไม่เล่น
ไม่อมลุกอม หรือไม่นำเอาสิ่งใดๆมารับประทานในขณะทำวัตรสวดมนต์
- ขณะหมู่คณะนั่งสมาธิไม่ควรเดินเข้า - ออก หากมีความจำเป็น
ควรเข้าออกด้วยความเงียบสงบไม่รบกวนผู้อื่น
- ขณะสวดมนต์ ไม่ควรเข้า - ออก ไปทำอย่างอื่น
ยกเว้นจำเป็นตามคำสั่งของครูบาอาจารย์
- หลังทำวัตรสวดมนต์ให้ช่วยเก็บหนังสือ อาสนะ เสื่อ เข้าที่ทุกครั้ง
5.
การแสดงความเคารพอ่อนน้อม
- นาคต้องเป็นผู้ที่มีความเคารพอ่อนน้อมเสมอ
ตามลำดับอาวุโสผู้มาก่อนหลัง
- มีความเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคารพ เช่น
บอกให้ทำอะไรต้องทำสิ่งนั้นทันที ซ้ายเป็นซ้าย ขวาเป็นขวา
หยุดเป็นหยุด ฯลฯ
- ไม่นั่งในที่สูงกว่าพระ - เณร
- เวลาเดินสวนกับพระเณร ให้นั่งลงพนมมือรอให้ท่านเดินผ่านไปก่อนเสมอ
- เคารพในสถานที่ส่วนรวม โบสถ์ ศาลา ไม่ให้นอน
หรือนำของส่วนตัวมาวางไว้
6.
การดูแลที่พัก
- ต้องอยู่ในสถานที่ ที่จัดไว้ให้เท่านั้น ไม่ย้ายโดยพลการ
- ไม่ส่งเสียงดัง หรือทำให้เกิดเสียงดังเกินไป
- ต้องหมั่นทำความสะอาดที่พักทุกวัน รักษาของสงฆ์ให้มีสภาพดีเสมอ
- รักษาความสงบ ไม่รบกวนผู้อื่น
- ลุกจากที่นอนให้พับผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า เสื่อ
และวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- ผ้าที่แห้งแล้วให้พับเก็บทันที ไม่ควรตากทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืน
- ไม่ให้นำอาหาร น้ำปานะ ของขบเคี้ยวไว้ในที่พัก
- ไม่ขีดเขียน หรือติดรูปภาพสิ่งใดๆในที่พัก
- ให้เป็นผู้สันโดษมักน้อย ในบริขารเครื่องต่างๆ
- ให้ช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ
- ห้องพักที่อยู่ด้วยกันหลายคน ในเวลา 22.00 น. ให้ปิดไฟพักผ่อน
7.
การพูดคุย
- ไม่ส่งเสียงดัง ไม่ตะโกน และไม่พูดค่อยจนเกินไป
- ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ไม่พูดเรื่องทางโลก
- ไม่พูดคุยขณะออกรับบิณฑบาต ขณะทำกิจวัตร ขณะทานอาหาร ขณะดื่มน้ำปานะ
- พุดคุยให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่
- พุดคุยกับพระเณร ให้พนมมือทุกครั้ง และไม่ควรยืนพูดคุยกับพระเณร
8.
การแต่งกาย
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เสื้อขาว กางเกงขาว (กางเกงสีใช้ใส่ทำงาน)
- รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ดำ สกปรก ไม่น่าดู
- ตัดผมสั้นให้เรียบร้อย
- ไม่เปลือยกาย ถอดเสื้อในที่ชุมชน
และเวลาจะอาบน้ำให้นำเสื้อผ้าเข้าไปเปลี่ยน
- ไม่ควรพับแขนเสื้อ พับขากางเกง
- เวลาออกบิณฑบาต ทำวัตรสวดมนต์เช้า - เย็น ให้สวมชุดขาว
9.
ความเสียสละ
- นาคต้องคอยสนใจในกิจสงฆ์ และคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ
- หมั่นดูแลรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะ และช่วยเก็บขยะ
เปลือกลูกอมในบริเวณวัด
10.
อื่นๆ
- สำรวมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ให้สงบเรียบร้อยอย่างสมณะ
- ในการเข้าที่ประชุม ให้ตรงเวลา เข้าพร้อมกัน และเลิกพร้อมกัน
- ทางอาหารหลังพระเถระ ครูบาอาจารย์ และทานให้เสร็จก่อนครูบาอาจารย์
- จะกระทำสิ่งใดประการใด ให้เรียนครูบาอาจารย์
- ออกรับบิณฑบาตให้เดินอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่แกะกะ ขวางทาง
|