ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

 

สมุดปกขาว คมช

สาระดีดี จาก ดินแดนปัญญาชน

 

ปลูกต้นไม้แห่งปัญญา กับ ดินแดนปัญญาชน  

          ดินแดนปัญญาชน           

bullet

[หน้าแรก]
 

bullet

[รวมสาระ]
 

bullet

[webboard]
 

bullet

[คุรุชน]
 

bullet

[สอบบรรจุครู]

 
bullet

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

 เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
 
เรียนพิเศษในพิษณุโลก
 
วงการครู
ขนมจีน

 ข้อสอบ o-net a-net

       
    
บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

         

     

ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

   4.ช่องว่างทางการเมืองขยายห่างออกไปทุกทีจนเนิ่นนานกว่าครึ่งปี โดยไม่มีรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาที่สมบูรณ์ วิกฤติที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เป็นวิกฤติในทางการเมืองโดยตรง แต่ส่งผลกระทบต่อสังคมมหาศาล ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องการแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย จนน่าวิตกว่าอาจมีการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน ขณะเดียวกันก็กระทบต่อเศรษฐกิจด้วย แม้แต่การบริหารราชการแผ่นดินก็พลอยชะงักงัน เพราะนับแต่เมื่อมีการยุบสภาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 คณะรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุดลง จึงไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารราชการแผ่นดิน คงมีก็แต่รัฐบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปดังที่มีผู้เรียกว่า "รัฐบาลรักษาการ" (Caretaker Government) โดยไม่อาจกำหนดนโยบายใหม่ได้ สภาผู้แทนราษำรเองก็สิ้นสุด จึงไม่มีองค์กรที่จะทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ วุฒิสภาก็หมดวาระไปก่อนแล้ว ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ก็ยังประกาศไม่ครบถ้วน นับเป็นช่องว่างทางการเมืองที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2549 อันเป็นการเริ่มต้นปีงบประมาณกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายจะไม่สามารถออกมาใช้บังคับได้ทัน ซึ่งก็ต้องรอจนการเลือกตั้งครั้งใหม่สิ้นสุดลงและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แล้วเสร็จ เป็นที่คาดหมายว่า ถ้าปล่อยไปเช่นนี้กว่าจะมีกฎหมายงบประมาณใช้คงเป็นในรายเดือนพฤษภาคม 2550 อันเป็นเวลาที่ปีงบประมาณล่วงพ้นไปกว่าครึ่งปี และปกติแล้วกฎหมายงบประมาณปีถัดไปจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วด้วยซ้ำ

   5.แนวโน้มการก่อความไม่สงบและความขัดแย้งที่รุนแรงถึงขีดสุด ความรุนแรงสุดท้ายของปัญหาที่ประดังเข้ามาจนเหมือนตัวเร่งคือ รายงานข่าวอันเป็นที่แน่ชัดในช่วงสองสามวันก่อนหน้าวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่า ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 ราษฎรสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันอยู่แล้ว ดังสาเหตุในข้อ 1 จะจัดชุมนุมใหญ่โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แม้บางคนบางฝ่ายจะชุมนุมด้วยความสงบโดยปราศจากอาวุธ และเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยชอบ แต่บางฝ่ายจะมีการนำประชาชนจากต่างจังหวัดจำนวนมากเคลื่อนเข้ามาชุมนุมด้วยเสมือนหนึ่งการประลองกำลัง ซึ่งตามการข่าวที่ได้รับคือ ได้จัดหายานพาหนะ เสบียงอาหารและอาวุธตามที่ฝึกปรือกันมาแล้ว เป็นที่เชื่อ่วาการชุมนุมครั้งนี้น่าจะรุนแรงหวังผลแตกหัก โดยเกิดการยั่วยุจนถึงขั้นใช้กำลังเข้าปะทะกัน อันจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนอย่างใหญ่หลวง หากมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมหรือสลายการชุมนุม ก็จะยิ่งยากต่อการดำเนินการในภาวะที่มีการเผชิญหน้ารุนแรงเสียแล้ว จนอาจมีการใช้กำลังจากฝ่ายที่ไม่พึงปรารถนาสอดแทรกเข้าปฏิบัติการโดยปราศจากการควบคุมได้

   สาเหตุทั้งหมดนี้ได้สรุปไว้แล้วในคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ที่ว่า "เหตุที่ทำการยึดอำนาจ...ก็โดยปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย จนเสื่อมสลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติ อันเป็นวิกฤตการณ์รุนแรงทางสังคม"

   คณะทหารและตำรวจซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้ที่เคยถวายสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์และต่อหน้าธงไชยเฉลิมพลแล้วว่าจะจงรักภักดีและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้ายิ่งชีวิต ทั้งจะดูแลรักษาผลประโยชน์ของประชาชนชาวไทยและประเทศชาติให้เกิดความสงบเรียบร้อย แม้เรื่องราวที่ดำเนินมาจะเป็นเรื่องทางการเมืองการปกครอง แต่บัดนี้ลุกลามถึงขั้นเป็นความทุกข์ความเดือดร้อนของประชาชนทั่วไป เป็นภัยคุกคามความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ และเป็นพระราชปริวิตกจนมีพระราชกระแสต่อผู้นำทางตุลาการว่าเป็นวิกฤติที่สุด คณะทหารเป็นผู้ดูแลรักษาเอกราชและอธิปไตยของประเทศย่อมไม่อาจเพิกเฉยอยู่ได้ จึงจำเป็นต้องเข้าคลี่คลายปัญหาและระงับยับยั้งภยันตรายอันใกล้จะถึงโดยด่วนที่สุด เมื่อเห็นชอบร่วมกันจนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอพระราชทานพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กราบบังคมทูลถวายรายงานเพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงเหตุผลและความจำเป็นตามข้อ 5 ข้างต้นนี้ รวมทั้งได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงแนวทางที่จะจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย เรียกความสามัคคีปรองดองให้กลับคืนมาโดยเร็ว เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและออกคำสั่งต่างๆ ได้ตามความจำเป็น ซึ่งเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ก็ได้มอบอำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ให้แก่องค์กรและกลไกการปกครองตามปกติต่อไป

   การมีพระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นการนำคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ามาอยู่ในระบบภายใต้การปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการยืนยันความจงรักภักดีของคณะปฏิรูปการปกครองฯ และการได้รับพระราชทานอำนาจภายใต้เงื่อนไขและกรอบเวลาอันจำกัด มิให้ประพฤติปฏิบัติเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ได้กราบบังคมทูล อันเป็นวิธีปฏิบัติที่เคยดำเนินมาเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. กระทำการยึดอำนาจใน พ.ศ.2534 และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเช่นเดียวกัน

   คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติขอยืนยันในความสุจริตและความประสงค์จะแก้ปัญหาที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะในระยะเฉพาะหน้า เพื่อให้เหตุการณ์คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด และเรียกความสามัคคีปรองดองกลับคืนมาโดยเร็วที่สุด สิ่งใดที่ต้องมีการตรวจสอบสอบสวนหรือดำเนินการเพื่อขจัดสิ่งอันเป็นเงื่อนไข หรือสาเหตุของการยึดอำนาจและค้างคาอยู่ในใจของประชาชน หรือแม้แต่จำเป็นต้องใช้วิธีกำหนดกฎเกณฑ์กติกาใหม่ไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำขึ้นอีก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะเร่งแก้ไขหรือประสานการดำเนินการร่วมกับผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ได้คำตอบโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ ขอให้เป็นที่เข้าใจว่า เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ไปแล้ว อำนาจหน้าที่และบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติมีขีดจำกัดอยู่เพียงตามมาตรา 34 ที่ว่า "เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ" อันเป็นอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปเท่านั้น ไม่อาจเข้าไปแทรกแซงกลไกขององค์กรอิสระที่แม้จะตั้งขึ้นโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ ก็ตาม ไม่อาจแทรกแซงการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ และศาลทั้งหลาย บทบาทที่มีอยู่จึงเป็นการติดตาม ประสานและขอความร่วมมือเท่านั้น และตระหนักดีว่า การดำเนินการทุกอย่างขอให้ทุกฝ่ายมีความอดทน เพราะจำเป็นต้องให้อยู่ในกรอบแห่งกฎหมายบ้านเมือง เพื่อมิให้ได้ชื่อว่าลุแก่อำนาจ หรือกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรม เพราะการลุแก่อำนาจหรือการกลั่นแกล้งผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม เป็นพฤติการณ์ที่ประชาชนเคยรังเกียจและหวาดหวั่นมาแล้ว และบัดนี้เป็นที่จับตาดูอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่บัดนี้การพยายามดำเนินการ มีผลคืบหน้าและเป็นที่เข้าใจแล้วในระดับหนึ่งตามสมควรแก่เวลา และขอขอบคุณในความเข้าใจ ความปรารถนาดี และคำแนะนำหลากหลายที่ประชาชนหลายท่านได้แจ้งให้ทราบ

   คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติขอยืนยันว่า การบริหารประเทศนับแต่นี้ไปเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีโดยเฉพาะ การทำหน้าที่นิติบัญญัติเป็นเรื่องของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเฉพาะ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะไม่เข้าไปแทรกแซง จะปฏิบัติหน้าที่เท่าที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนด ซึ่งมีกรอบการปฏิบัติที่ไม่มากนัก จะช่วยรัฐบาลดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติภายในกรอบกฎหมายตามอำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะตามกรอบอำนาจบังคับบัญชาในฐานะผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มีอยู่แล้วแต่เดิม และจะให้การสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยขอยืนยันว่าจะไม่มีการสืบทอดอำนาจหรือรักษาอำนาจใดๆ ต่อเนื่องยาวนานออกไปเป็นอันขาด ด้วยเหตุว่าประเทศไทยมีบทเรียนในเรื่องเหล่านี้มากพอที่จะเป็นอนุสติควรแก่การหลาบจำได้อย่างดีอยู่แล้ว แต่ขณะเดียวกัน ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะไม่ยอมให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดอาศัยข้ออ้างใดๆ เพื่อสร้างสถานการณ์กัดเซาะ หรือทำลายความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของชาติ และพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้าเป็นอันขาด

หน้าที่ 1  2  3  4  5  6


รวมสาระ  counter power by www.seal2thai.org ดินแดนปัญญาชน