ข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
เหตุแห่งการยึดอำนาจ
ข้อที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยึดอำนาจการปกครองเมื่อคืนวันอังคารที่
19 กันยายน 2549 ก็คือ สาเหตุแห่งการยึดอำนาจดังกล่าว
อันที่จริงข้อนี้
คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ชี้แจงในประกาศ คำสั่ง และแถลงการณ์มาแล้วเป็นระยะ
ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่เหตุผลที่ควรอธิบายขยายความ ณ บัดนี้ คือ
1.ความแตกแยกอย่างหนักในสังคมจนลามถึงแทบทุกสถาบันในชาติ
นับแต่ปลายพุทธศักราช 2547 เป็นต้นมา
ประเทศไทยประสบปัญหาบอบช้ำอย่างหนักทั้งในเรื่องภัยธรรมชาติร้ายแรงและการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
จึงเป็นเวลาที่ชาวไทยน่าจะสมัครสมานสามัคคีให้มากได้
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในช่วงเวลาเดียวกันอันประจวบกับปลายวาระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัรฐบาลในขณะนั้น
ประเทศไทยกลับเริ่มตกอยู่ในภาวะตึงเครียดทางการเมืองขึ้นเป็นลำดับ
เริ่มจากการชุมนุมวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลซึ่งครั้งแรกก็เป็นการรวมกลุ่มคนไม่มากนักและเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย
แต่ต่อมาได้แพร่ออกไปทางสื่อสารมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
เคเบิลทีวี วิดีโอ วีซีดี และยังแพร่หลายออกไปในต่างประเทศอีกด้วย
การชุมนุมขยายตัวกว้างขวางและแพร่หลายมากขึ้น
จนเป็นกลุ่มใหญ่และแตกแยกเป็นหลายหมู่หลายพวก
แพร่ไปในหลายพื้นที่เกือบทั่วประเทศในเวลาใกล้เคียงกัน
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างหมดวาระลง ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
จึงเป็นธรรมดาที่พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของตนอย่างเข้มข้น
แต่แม้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงแล้วอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง
การวิพากษ์วิจารณ์โจมตีรัฐบาลและบุคคลในคณะรัฐบาลด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ
ยังคงมีอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นสิ่งที่ประชาชนผิดหวังอย่างหนักคือ
รัฐบาลมิได้อธิบายชี้แจงข้อกล่าวหาให้ครบถ้วนถ่องแท้เป็นที่พอใจ
รวมทั้งมิได้มีการนำผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีในระหว่างนั้นยังมีการพูดจาพาดพิงจาบจ้วงถึงสถาบนพระมหากษัตริย์
เพื่อประกอบข้ออ้างข้อเถียงหรือเหตุผลของตน
จนนำไปสู่การผลัดกันกล่าวโทษเป็นคดีอาญาหลายคดีและในหลายท้องที่ว่า
อีกฝ่ายหนึ่งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
คดีเหล่านั้นยังค้างอยู่ในชั้นสอบสวนและศาลเป็นอันมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย
ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในประเทศที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
และในปีมหามงคลที่ทุกคนสวมเสื้อสีเหลือง
โบกธงสัญลักษณ์งานพระราชพิธีทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
จะแตกแยกความคิดในเรื่องนี้ได้ถึงปานนี้
ทั้งที่ควรจะยึดมั่นอยู่ในหลักความรู้รักสามัคคี
ขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกขึ้นในหมู่ประชาชนว่า
รัฐบาลมิได้ดำเนินการเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพเท่าที่ควร
และไม่ได้กระตือรือร้นที่จะสนองพระราชปรารภในการเร่งแก้ไขคลี่คลายปัญหา
นอกเหนือไปจากข้อกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ
รวมทั้งวงศาคณาญาติกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง
การริเริ่มโครงการใหญ่ๆ ของรัฐ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การหลีกเลี่ยงกฎหมาย
และการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายระดับ
การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนำมากล่าวพาดพิงถึงในที่ลับและที่แจ้ง
ในลักษณะที่หมิ่นเหม่หรือแอบอ้างเช่นนี้
เหมือนจะหยั่งเชิงให้เกิดความเคลือบแคลงใจและกระทบกระเทือนต่อความจงรักภักดีในสถาบันที่ดำรงมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยกรณีดังกล่าวนี้เป็นที่อึดอัดและขัดเคืองอย่างยิ่งในหมู่ทหารและพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดีจนมีการวิพากษ์วิจารณ์จากปากต่อปากทั่วไปโดยหวังจะได้ยินคำชี้แจงที่ชัดเจนกอปรด้วยหลักฐาน
แต่ก็ไม่ปรากฏ
ส่วนการเปิดเวทีประชุม อภิปราย
สัมมนาในที่สาธารณะซึ่งควรจะเป็นเครื่องมือสำคัญในระบอบประชาธิปไตย
กลับกลายเป็นเวทีที่แบ่งแยกผู้คนออกเป็นฝักฝ่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ นักเรียน
นิสิต นักศึกษาร่วมชั้นเรียนเดียวกัน สมาชิกในครอบครัวเดียวกัน เช่น พ่อแม่
พี่น้อง สามีภรรยา และญาติ ข้าราชการในที่ทำงานเดียวกัน
พนักงานหรือผู้ใช้แรงงานในบริษัทห้างร้านหรือโรงงานเดียวกันสมาชิกสมาคมหรือชมรมเดียวกันที่เคยสังสรรค์กันเพื่อความบันเทิงหรือกระทำสาธารณประโยชน์
ต่างเกิดความแตกแยกในความคิดเห็นซึ่งมีทั้งที่เป็นสาระและไม่เป็นสาระ
เพราะบางหมู่บางเหล่าก็ใช้อารมณ์และความเชื่อถือในตัวบุคคลเป็นใหญ่กว่าหลักการ
ถ้ายกเว้นช่วงเวลามหามงคลที่ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายนเสียแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ตลอดปี 2548 และปี 2549
เป็นช่วงเวลาแห่งการแตกร้าวความสามัคคีครั้งใหญ่ของคนในชาติ
บางครั้งเกิดการประจัญหน้า บางครั้งเกิดความหวาดระแวง มีการแบง่แยกเป็นเขาเป็นเรา
บางครั้งฝ่ายที่มีอำนาจและไม่เห็นด้ซยกับอีกฝ่ายก็ใช้อำนาจกลั่นแกล้งในการปกครองบังคับบัญชา
การจัดทำบริการสาธารณะ การจัดสรรความช่วยเหลือ จนแอม้แต่การลอบทำร้ายอีกฝ่ายดังที่ปรากฏข่าวกรณีลอบสังหารนายกรัฐมนตรีด้วยการวางระเบิด
แต่มีการจับได้เสียก่อน เป็นต้น จนน่าวิตกว่า
ถ้ารอยร้าวนี้บาดลึกไปนานจะยากสุดแก้ไข
ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่งในภาวะที่ทั่วโลกก็มีความเปราะบางทางการเมือง
การก่อการร้าย ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคมมากพออยู่แล้ว
2.ความไร้ประสิทธิภาพขององค์กรต่างๆ
ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ลำพังความแตกแยกร้าวฉานดังกล่าวเพียงประการเดียวอาจเยียวยาได้ด้วยความอดทนตามกาลเวลาที่ทอดยาวนานออกไป
และโดยกลไกการทำหน้าที่ของรัฐ อันได้แก่ สถาบันรัฐสภา ศาลแ
ละองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีอยู่หลายองค์กรและถือกำเนิดขึ้นด้วยเจตนาจะให้เป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
แต่แล้วเหตุอันมิคาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อปรากฏว่า หลังการเลือกตั้งทั่วไปในพ.ศ.2548
รัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนสามารถชนะการเลือกตั้งและมีที่นั่งข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วยจำนวนท่วมท้นยิ่งกว่าเดิม
จนสามารถจัดตั้งรัฐบาไลด้เพียงพรรคเดียว
ในขณะที่ฝ่ายค้านทุกพรรคที่เหลืออยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
แม้รวมกันก็ยังไม่สามารถใช้สิทะและทำหน้าที่เปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้
(ตามรัฐธรรมนูญต้องมีสมาชิกเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายไม่น้อยกว่าสองในห้า หรือ
200 คน ในขณะที่ฝ่ายค้านทุกพรรครวมกันมีจำนวนเพียงหนึ่งร้อยคนเศษ)
ข้อนี้อาจเป็นเรื่องของกติกาตามรัฐธรรมนูญ
และประชามติที่แสดงออกโดยผลการเลือกตั้งแต่เสียงที่ไม่ไว้วางใจองค์กรกลางผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้งก็มีอยู่ทั่วไป
รวมทั้งความเข้าใจของคนไม่น้อยว่ามีการทุ่มใช้เงินมหาศาลในการเลือกตั้งโดยผิดกฎหมายและการครอบงำเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นอกจากนั้นยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลเมินเสียงข้างน้อยในสภา เช่น
นายกรัฐมนตรีไม่มาตอบกระทู้ถาม
และการทำหน้าที่ตรวจสอบของรัฐสภาไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหารเท่าที่ควร
ขณะที่วุฒิสภาเองซึ่งเป็นอีกสภาหนึ่งและควรปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบได้ในระดับหนึ่งก็ครบวาระลง
สมาชิกวุฒิสภาชุดเดิมที่อยู่มาครบวาระ 6
ปีแล้วไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้
ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ก็ยืดเยื้อมานานโดญยังประกาศรายชื่อได้ไม่ครบ
องค์กรนิติบัญญัติจึงอยู่ในลักษณะไม่สมประกอบหรือที่อุปมาในต่างประเทศว่าเป็น
"เป็ดง่อย" ซึ่งทำให้นักคิด ปัญญาชน
และนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงบางคนถึงกับออกมาปรารภในที่สาธารณะและทางสื่อมวลชนว่าหมดความหวังหรือความเชื่อมั่นในสถาบ้นรัฐสภา
และเมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว นักคิดปัญญาชน
และนักวิชาการบางคนได้ให้สัมภาษณ์หรือเขียนบทความว่า
ระบบรัฐสภาของไทยถูกทำลายไปก่อนหน้านี้แล้ว
จะมีประโยชน์อันใดที่จะกอดกลไกไว้และคร่ำครวญเสียดายกลไกที่ถูกยกเลิกไป
ในขณะที่เนื้อหาสาระอันนับว่าสำคัญยิ่งกว่ากลไกได้ถูกทำลายไปก่อนแล้ว
นักวิชาการบางท่านถึงกับเสนอความเห็นด้วยซ้ำว่า
มนุษย์มีสิทธิธรรมชาติที่จะก่อการรัฐประหารในสภาพที่บ้านเมืองเป็นเช่นนี้
ข้างฝ่ายองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่หลายองค์กรก็ดูจะมีปัญหาไปแทบทุกองค์กร
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
ก็ว่างเว้นไม่มีมาเป็นเวลานาน
เพราะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการสรรหาผู้เข้าดำรงตำแหน่ง
เรื่องที่ค้างและรอการพิจารณามีจำนวนนับหมื่นเรื่องจนคาดว่าต้องใช้เวลาสะสางร่วมสิบปี
ในขณะที่เรื่องใหม่ก็ยังคงทยอยหลั่งไหลเข้ามา
ในจำนวนนี้มีเรื่องทุจริตสำคัญมูลค่านับพันนับหมื่นล้านที่กำลังจะหมดอายุความดำเนินคดี
การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองและข้าราชการก็พลอยชะงัก
เพราะไม่มีคณะกรรมการตามกฎหมาย และน่าเชื่อว่ายังจะว่างเว้นไปอีกนาน
อันเป็นช่องว่างที่น่าวิตกยิ่ง องค์กรอื่นแม้จะมีตัวบุคคลทำหน้าที่
แต่ก็ไม่ได้รับความเชื่อถือเท่าที่ควร เช่น
มีการกล่าวหาว่าตกอยู่ในการครอบงำทางการเมือง
เพราะกระบวนการสรรหาผ่านทางพรรคการเมือง
และการเลือกสรรที่มีข่าวการวิ่งเต้นให้สมาชิกวุฒิสภาเลือกตามบัญชีที่มีผู้จัดทำขึ้น
คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.
ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมก็ถูกเพ่งเล็งจนไม่เป็นที่ไว้วางใจของบรรดาพรรคการเมืองที่จะต้องเข้ารณรงค์ในการเลือกตั้ง
3.วิกฤตการณ์เลือกตั้งที่ต่อเนื่อง
ในขณะที่กิดปัญหาดังกล่าว
เหตุการณ์ก็ซ้ำร้ายหนักลงเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24
กุมภาพันธ์ 2549 เจตนารมณ์ก็คงเพื่อยุติปัญหาสองข้อข้างต้น
แล้วกลับสู่กระบวนการประชาธิปไตยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจใหม่นั่นเอง
ทั้งที่เพิ่งจะผ่านพ้นการเลือกตั้งมาเพียงหนึ่งปี
แต่การยุบสภาอันแม้จะเป็นวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาก็มิได้คลี่คลายปัญหาใดๆ
ซ้ำร้ายกลับทำให้สถานการณ์ทรุดหนักลง เพราะเมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้ง
ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยของรัฐบาลเป็นพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียวที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ในขณะที่พรรคการเมืองเล็กๆ ลงสมัครบ้างในบางเขตเลือกตั้ง
ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่ามีการว่าจ้างให้บางพรรคการเมืองเหล่านั้นลงสมัครเพื่อผลทางการ
สร้างภาพและการนับคะแนนเสียงเปรียบเทียบสัดส่วนกัน
พรรคการเมืองสำคัญที่เคยเป็นฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์
(เคยจัดตั้งรัฐบาลเมื่อ พ.ศ.2535-2538 และ 2540-2541) พรรคชาติไทย
(เคยจัดตั้งรัฐบาลเมื่อ พ.ศ.2538-2538)
และพรรคมหาชนไม่ส่งผู้สมัครแม้แต่คนเดียว
ซึ่งเป็นธรรมดาที่พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง
แต่แม้กระนั้นก็ยังมีปัญหาในบางเขตเลือกตั้ง เพราะกฎหมายกำหนดว่า
ในกรณีที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว
ผู้นั้นต้องได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าร้อยละ 20
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
แต่เมื่อได้คะแนนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายระบุ
เพราะประชาชนจำนวนหลายล้านคนพร้อมใจกันมาลงคะแนนเสียง
แต่กาช่องที่แสดงว่าไม่ต้องการเลือกผู้สมัครรายใดหรือพรรคการเมืองใด
จึงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเป็นที่มาแห่งการกล่าวหาว่า
มีการจ้างบางพรรคการเมืองให้ส่งคนลงสมัครเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงปัญหาผู้สมัครเพียงคนเดียวจากพรรคเดียว
ในเวลาเดียวกันก็มีการกล่าวหาและขอให้ดำเนินคดีกับพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็ก
ในข้อหาว่ามีการว่าจ้างผู้สมัครซึ่งอ้างว่าเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย
พรรคไทยรักไทยก็มีการขอให้ดำเนินคดีต่อพรรคประชาธิปัตย์บ้างว่ามีการใส่ร้ายป้ายสี
คำขอจากผู้กล่าวหาทั้งสองฝ่ายคือขอให้ยุบพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหา
ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
(เดิมอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ) ทางฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หรือ กกต. ก็ไม่ได้รบความเชื่อถือ
มีการชุมนุมต่อต้านคัดค้านคณะกรรมการดังกล่าว
การปิดล้อมที่ทำการของคณะกรรมการ จนกรรมการผู้หนึ่งจากห้าคนต้องขอลาออก
ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตไปก่อนแล้วหนึ่งคน จึงเหลือคณะกรรมการเพียงสามคน
ซึ่งการจะดูแลจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศให้เรียบร้อยเป็นเรื่องยากลำบากมาก
ที่ควรกล่าวถึงคือในส่วนของการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ
ซึ่งจัดการเลือกตั้งมานานแรมปีแล้ว
คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังมิได้ประกาศผลรับรองครอบคลุมทั่วถึงทุกแห่ง
สภาพ "การง่อยเปลี้ยเสียขาไม่สมประกอบ"
จึงลามลึกลงไปนับแต่การเมืองระดับชาติจนถึงการเมืองระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ
ในเวลาต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่
8 พฤษภาคม 2549 ว่า
การจัดการเลือกตั้งที่มีพรรคการเมืองใหญ่ลงสมัครเพียงพรรคเดียว
และใช้งบประมาณจัดการเลือกตั้งไปแล้วหลายพันล้านบาท ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
และแม้ต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม
2549
ก็มีผู้ไม่เชื่อถือว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะต้องใช้งบประมาณอีกหลายพันล้านบาทนี้สามารถดำเนินการเรียบร้อย
บริสุทธิ์และยุติธรรมได้ ข้อสำคัญคือขณะเดียวกัน
กรรมการการเลือกตั้งสามคนที่เหลืออยู่และจะต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลว่าใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549
ให้ลงโทษจำคุกกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนโดยไม่รอลงอาญา
และไม่ให้ประกันตัว ซึ่งเท่ากับจะต้องรับโทษจำคุกจริง
แต่ต่อมากรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนขอลาออกจากตำแหน่ง
และอ้างความเจ็บป่วย เช่น บางคนต้องรับการฟอกไต จึงได้รับการปล่อยชั่วคราว
ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่างลง
ได้มีการสรรหาใหม่โดยศาลฎีกาเข้ามาทำหน้าที่ในการสรรหา
และได้เลือกสรรส่งไปให้วุฒิสภาเห็นชอบ
ซึ่งวุฒิสภาก็ให้ความเห็นชอบจนได้จำนวนครบถ้วนห้าคนเมื่อไม่นานมานี้
แต่ก็ยังมีผู้ไม่วางใจว่า ถ้าการเลือกตั้งยังคงดำเนินต่อไปภายใต้กติกาเดิม
แม้จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่พอเป็นที่น่าเชื่อถือได้แล้ว
ความสงบเรียบร้อยจะเกิดขึ้น การเลือกตั้งจะเป็นไปได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
และแม้แต่วันเลือกตั้งที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว
ก็ดูจะไม่เป็นที่เชื่อมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งได้ตามนั้น
และเมื่อมีการยึดอำนาจ
ก็ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งห้าคนที่ได้รับการคัดเลือกใหม่นี้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
และเตรียมกำกับดูแลการเลือกตั้งครั้งใหม่ ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ข้อนี้แสดงให้เห็นวิกฤติทางการเมืองที่ชุลมุนและอลเวงอย่างยิ่งจนแทบจะกล่าวว่า
ไม่ว่าจะแตะลงไปที่จุดใดก็ดูจะเป็นปัญหาไปหมด
และทุกปัญหามีความเกี่ยวเนื่องกัน คือ
การสั่นสะเทือนต่อความเชื่อมั่นศรัทธาในรัฐธรรมนูญ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
พรรคการเมือง รัฐบาล รัฐสภา ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
และระบอบประชาธิปไตยในที่สุด หลายเรื่องต้องใช้งบประมาณมหาศาล
แต่ก็ไม่บังเกิดผล หลายเรื่องใช้เวลาอันยาวนานในการแก้ไข
หลายเรื่องต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรพยายามเป็นอันมากจากบุคคลหลายฝ่าย
ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง โดยหวังจะเห็นความสงบสุข
ความปรองดองกลับคืนมาโดยเร็ว แต่ก็ไร้ผล
สถาบันที่ดูจะเป็นหลักได้มากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าวคือสถาบันตุลาการ
ซึ่งมิใช่สถาบันทางการเมือง
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสต่อประธานศาลปกครองสูงสุดและคณะ
และประธานศาลฎีกาและคณะ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ว่า
เหตุการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่นี้เป็นวิกฤติร้ายแรง
จึงมีพระราชประสงค์ให้สถาบันศาลร่วมกันทำหน้าที่แก้ปัญหาเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาโดยมาตรการทางตุลาการมีข้อจำกัด
เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน
ในเบื้องต้นต้องมีคดีเกิดขึ้นเสียก่อนและกว่าคดีจะถึงที่สุดต้องใช้เวลายาวนาน
ทั้งต้องอาศัยกลไกวิธีพิจารณาความซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
จึงได้ผลทันทีในระดับหนึ่งเท่านั้น
หน้าที่ 1
2 3
4
5 6 |