ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

สามัญญลักษณะ

โดย ครูถวัลย์

   
 
   

 ดินแดนปัญญาชน

[หน้าแรก]

[รวมสาระ]

[webboard]

[คุรุชน]

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

 เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
 
พรมลายน่ารัก
 
มะขาม
ขนมจีน

 ข้อสอบ o-net a-net

       
    
บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

         

 

 
 

   ว่า ทุกขัง แปลว่า ทนยาก หรือดูแล้วน่าระอาใจ หรือว่าง อย่างน่าเกลียด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ลักษณะแห่ง ความเป็นทุกข์ นี้ แฝงอยู่ใน ลักษณะแห่ง ความไม่เที่ยง โดยใกล้ชิด ในบางกรณี ท่านไม่กล่าวถึง ลักษณะนี้ เพราะนับรวมเข้า ด้วยกันเสียก็มี แต่ความหมายนั้น มีอยู่ต่างกัน อนิจจัง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ทุกขัง หมายถึง ลักษณะแห่ง ความทนทรมาน หรือ ทำความทุกข์ ให้เกิดขึ้น แก่ผู้ที่เข้าไปยึดถือ หลักใหญ่ๆ มีอยู่ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ ข้อนี้หมายความว่า เพราะ ความเปลี่ยนแปลง นั่นเอง ทำให้เกิด ลักษณะอาการ ที่เรียกว่า เป็นความทุกข์ ขึ้นมา ถ้าไม่มี การเปลี่ยนแปลง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นต้น ก็มีไม่ได้ หรือ พิจารณาดูแล้ว ก็จะไม่น่าระอาใจ หรือ ไม่ดูเป็น ของไร้จากตัวตน โดยสิ้นเชิง เกี่ยวกับ ทุกขลักษณะนี้ ควรพิจารณา ให้เห็นลักษณะ อาการแห่ง ความเป็นทุกข ์อย่างหนึ่ง ให้เห็นข้อที่ความทุกข์ เนื่องมาจาก ความเป็นอนิจจัง ดังที่กล่าวมาแล้ว อย่างหนึ่ง ความเห็นอย่างแรก ทำให้เกิดการเบื่อหน่าย ต่อสิ่งที่เป็นทุกข์ ความเห็นอย่างหลัง ทำให้เกิดโอกาส และ พบวิธี แห่งการปล่อยวาง

คำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควร ถือว่า เป็นตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติล้วนๆ ที่หมุนไปตามอำนาจแห่งเหตุ และปัจจัย อยู่เป็นเนืองนิจ ลักษณะแห่ง ความเป็นอนัตตา นี้ ท่านแสดงไว้ต่างๆ กัน แต่รวมใจความแล้ว ก็มุ่งหมาย ให้เกิดความรู้สึกว่า สิ่งที่เรียกว่า ตัวตน นั้น ไม่มีจริง เป็นเพียง ความไม่รู้ และสำคัญผิด ยึดถือ ว่าตัว ว่าตนขึ้น ด้วยอำนาจ สัญชาตญาณ คือ ความรู้สึก ที่เกิดได้เอง ตามธรรมชาติ ของสิ่งที่มีชีวิต ชนิดหนึ่ง เท่านั้น ท่านสอนให้พิจารณา ว่า คนๆ หนึ่ง ประกอบอยู่ด้วยส่วน ๕ ส่วน คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละส่วนๆ ก็ไม่ใช่ ตัวตน ของมันเอง เป็นเพียงสังขาร ที่เปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุ ตามปัจจัย ดังที่กล่าวแล้วในตอน อันว่าด้วย สังขาร เมื่อแต่ละส่วน ไม่ใช่ตน แล้ว ทั้งหมดนั้น จะเป็นตน ไปได้อย่างไร แม้ว่า จะมีลักษณะอาการแปลกประหลาด หรือ วิจิตร ประณีต ยิ่งไปกว่าเดิมมาก ที่ว่า แต่ละส่วนๆ ไม่ใช่ตัวตนนั้น ท่านสอนให้พิจารณาว่า แต่ละส่วนๆ ย่อมเป็นไปเพื่อ อาพาธ คือ การบุบสลาย ชำรุด ทรุดโทรม ถ้าแต่ละส่วน เป็นตัวตน แท้จริงแล้ว มันจะไม่ควร ชำรุด ทรุดโทรม หรือ เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุที่มีการชำรุดทรุดโทรม หรือ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุที่มีการชำรุดทรุดโทรมไม่อยู่ในอำนาจในตัวของมันเอง จึงถือว่า มันไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง คือ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง มีแต่ตัวกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างหนึ่ง นี่เรียกว่า พิจารณา โดยถือเอาการชำรุด ทรุดโทรม หรือที่เรียกว่า อาพาธ เป็นหลัก อีกอย่างหนึ่ง ให้เริ่มพิจาณาโดยเอาความเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก เช่น ตั้งปัญหาว่า ส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งๆ ที่กล่าวนั้น เป็นของไม่เที่ยง ถ้าไม่เที่ยง จะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ เพราะความไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นธรรมดา จะถือว่า มันเป็นเรา หรือ เป็นของเรา ได้อย่างไรกัน เพราะ มันมีลักษณะเหมือนของที่ฝันเห็น ครั้นตื่นขึ้นมา ก็หายไป หรือ เหมือนกับของที่ยืมเขามา ไม่เท่าไรก็ต้องส่งคืน หรือ เหมือนกับสิ่งที่พบเข้ากลางทาง เสร็จแล้ว ก็ต้องเดินเลยไป ทิ้งมันไว้ที่ตรงนั้น ดังนี้ เป็นต้น รวมความแล้ว ก็คือ มีลักษณะ แห่งการที่ใครๆ ไม่อาจจะเข้าไป เป็นเจ้าของได้ และเป็นเจ้าของตัวมันเอง ก็ไม่ได้ จึงได้เรียกว่า "อนัตตา" ดังนี้

บาลีแห่งบทที่แสดงอนัตตานี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่านไม่ใช้ คำว่า สังขารทั้งหลาย เหมือนใน ๒ ข้อแรก แต่ท่านใช้คำว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา นี้ย่อมแสดงว่า ขอบเขต แห่งสิ่งที่เป็น อนัตตา นี้ กว้าง กว่า ขอบเขตแห่ง สิ่งที่ไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ได้แก่ สังขารทั้งปวง ส่วนสิ่งที่เป็นอนัตตานี้ หมายถึง ทุกสิ่ง ทั้งที่เป็นสังขาร และไม่ใช่สังขาร สิ่งที่ไม่ใช่สังขาร คือ สิ่งที่ตรงข้ามจากสังขาร โดยประการทั้งปวง ได้แก่ วิสังขาร ซึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ สภาวะ ที่เรียกว่า นิพพาน คือ สภาวะพิเศษ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง อยู่นอกอำนาจ หรือ นอกขอบเขต ของการปรุง แต่ถึงอย่างนั้น สภาวะนั้น ก็เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ของมันเอง หรือ ของใคร คงให้เรียกแต่ว่า วิสังขาร หรือ นิพพาน หรือ สิ่งที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น ไปตามเรื่องของมัน อย่าได้เข้าใจว่า เมื่อสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแล้ว สิ่งที่ตรงกันข้าม คือ วิสังขาร ก็จะเป็นตัวตน ดังนี้เลย ทั้งนี้เพราะเหตุใด ทั้งนี้ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า เป็นตัวตนนั้น เป็นเพียงของลมๆ แล้งๆ ที่เกิดขึ้นเพราะอวิชชา และอุปาทานทั้งนั้น

ลักษณะทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า ธรรมฐีติ เป็นของที่ตั้งอยู่เองตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตร เป็นใจความว่า ตถาคต จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สังขารทั้งปวง ก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่เช่นนั้นเสมอไป นี้เป็นเครื่องแสดงว่า กฏอันเกี่ยวกับ สัจธรรม นั้น ไม่เนื่องด้วย พระพุทธเจ้า โดยตรง แต่เป็น เรื่องของธรรมชาติ โดยเฉพาะ พระพุทธเจ้า เป็นแต่เพียง ผู้ทราบกฏ อันนี้ และ ทราบหนทางที่ถูกต้อง ที่พึงจะปฏิบัติ ต่อสิ่งเหล่านั้น ในลักษณะ ที่จะไม่ทำให้ เกิดความทุกข์ขึ้น สามัญญลักษณะทั้ง ๓ นี้ ก็เหมือนกัน เป็นสิ่งที่ พระองค์ ทรงมองเห็นถึงที่สุด จนนำมาใช้ เป็นประโยชน์ เพื่อกำจัดความทุกข์ และก็ต้องใช้ได้ตลอดไป คือว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น ก็ตาม เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติจะต้องสนใจ ในความจริงข้อนี้ ให้มาก

อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ ขุททกนิกายว่า เมื่อมีปัญญาเห็นว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา แล้ว ก็จะเกิด ความเบื่อหน่าย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เที่ยง แต่ตนสำคัญผิดว่า เที่ยง คือสิ่งที่แท้จริงเป็นทุกข์ แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นสุข และสิ่งซึ่ง เป็นอนัตตา แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นอัตตา เมื่อมีปัญญา ถึงขนาดนี้ ตัวปัญญานั่นเอง เป็นทางแห่ง ความหมดจด จากทุกข์ กล่าวคือ นิพพาน

ทั้งหมดนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า เรื่องอันเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ นี้ เป็นใจความสำคัญ เพราะ เป็นเรื่องแสดงให้เห็น ความทุกข์ แล้วนำมาซึ่ง ทางแห่งความดับทุกข์ และเป็นเรื่องซึ่ง ทรง ย้ำมากที่สุด ทรงสั่งสอนมากที่สุด กว่าเรื่องทั้งหลาย ควรที่จะ ได้รับการสนใจ เป็นพิเศษ

จบตอนที่ ๑ หมวดธรรมะประเภททฤษฎีฝ่ายทุกข์

 หน้า 1  2  3

   

  counter power by www.seal2thai.org