วันเพ็ญพุธ กับความเชื่อเรื่องพระอุปคุต
พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม
เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา
ถือได้ว่าเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ชื่อ "อุปคุต"
แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา
พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย
มอญและชาวไทยทางเหนือ และอีสาน
สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4
ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย
ชีวประวัติเชื่อกันมาว่า
พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบพระยามาร มีเรื่องเล่ามาว่า
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ
ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7
เดือน 7 วัน แต่ถูกพระยามารมาผจญ
ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพระยามารจนพระยามารยอมแพ้
จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"
ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า
พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ
ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย
และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น
ประวัติในแง่ของพระเครื่องพระบัวเข็ม
หรือ พระอุปคุต ในทางพระเครื่องมีประวัติว่า "พระบัวเข็ม"
เดิมเป็นพระพุทธรูปมอญ เข้ามาแพร่หลายในไทยช่วงสมัยรัชกาลที่ 3
โดยพระรามัญได้นำมาถวายท่านวชิรญาณภิกขุ (ต่อมาคือ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)
โดยเชื่อในพุทธคุณว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดลาภผล ความมั่งมี
ขจัดภยันตราย และมีอิทธิฤทธิ์ในทางขอฝนอีกด้วย
(ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/)
คาถาบูชาพระอุปคุต
อุปคุตโต จะมะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มารัญจะ
มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตตะวา ปะติฏฐิโต อะหัง วันทามิ
อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะมะหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต
มะหาลาภัง ภะวันตุ ฯ
คาถาบทนี้ สวดบูชาพระอุปคุตทุกวัน จะบันดาลให้บังเกิดโชคลาภ
ทรัพย์สินเงินทองมากมาย และป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงแก่ผู้บูชา
หากมีเวลาจำกัด อาจสวดแบบย่อก็ได้ ดังนี้
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มะ หาลาภัง
ภะวันตุ เม ฯ
คาถาขอลาภพระอุปคุต
มะหาอุปคุต จะ มะหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา
ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโม โจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ
สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม ฯ
เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุตโต จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะอานุภาเวนะ
มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุณณะตา จะ เทวะตานัมปิ มะนุสสานัมปิ เอหิจิตตัง
ปิยังมะมะ อิมัง กายะพันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ
คาถาพระอุปคุตผูกมาร
มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ
พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง
อะทิถามิ
เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ครูตัวน้อยๆอย่างผมรู้สึกดีใจครับ
(โดยเฉพาะการนั่งอธิษฐานใกล้ๆหลวงปู่แขก
ผู้เป็นอีกหนึ่งหลักศรัทธาของผมครับ)
ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่
http://www.seal2thai.org/sara/sara234.htm
free toolbar
ขอบคุณครับที่ทำ link
และอ้างอิงมาหาเรา
นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว
|
ให้คะแนนข้อเขียนนี้ กี่ดาวดีครับ... |
|
|