|
อคติแห่งประชาธิปไตย
|
สาระดีดี จาก SEAL2thai.org |
|
|
|
|
|
|
|
|
ท่ามกลางประแสประชาธิปไตยที่ครุกรุ่น
แล้วพวกเรา เข้าใจความหมายของ"ประชาธิปไตย" แค่ไหน
|
อคติแห่งประชาธิปไตย
อำนาจการบริหารประเทศโดยประชาชน
เพื่อประชาชน โดยทุกคนมีส่วนร่วม มีการออกเสียงสนับสนุน คัดค้าน
เสนอแนวทางการบริหารจัดการต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นหลัก
แต่ประชาธิปไตยกำลังถูกเข้าใจผิดเปลี่ยนไป
จริงๆแล้วอาจถูกเข้าใจผิดมานานแล้วก็เป็นได้ เมื่อหลายคนเข้าใจว่า
ประชาธิปไตยคือ ใครมีพวกมาก ก็ได้เป็นผู้นำ
เมื่อเสียงส่วนมาก
ย่อมได้เป็นผู้นำ ผู้บริหาร หลายคนจึงมีวิธีดำเนินการเรียกคะแนน
เพื่อให้ตนหรือพวกของตน เป็นฝ่ายเสียงส่วนมาก
บางคนเสนอตัวเองในเหตุการณ์ต่างๆ (ขอใช้คำว่าเหตุการณ์
เนื่องจากมีหลายโอกาสในการกระทำ) เช่น งานศพ
บุคคลเหล่านี้จะนำพวงหรีดไปร่วมวางเคารพศพ บ้างก็นำน้ำแข็งหลอดมาช่วยงาน 2
ถุง แล้วให้โฆษกพูดขอบคุณตลอดเวลา นี่ยังไม่รวมการนับญาติ
บอกว่าตนเป็นญาติทางยายฝ่ายปู่ (โอย
พอๆกับพวกมาขอส่วนแบ่งเวลามีใครถูกรางวัลที่ 1 เลย)
และอีกหลากหลายกลยุทธ์ในการทำให้ชาวบ้าน ประชาชน มา "เป็นพวกของตน"
บางคนก่อนหน้านี้พบตัวยาก
พอช่วงเลือกตั้ง มาพบพี่น้องประชาชนในวันที่โรงเรียนนัดประชุมผู้ปกครอง
แย่งครูพูดซะ 2 ชั่วโมง สัญญาอะไรไว้หลายอย่าง พอได้เป็นสมใจ ก็หาตัวยาก
เข้าพบยาก
นับวัน
เด็กๆจะเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยยากมากขึ้น......
แค่ไปลงคะแนนเสียง
ก็ถือว่าประชาธิปไตยแล้ว
เรื่องนี้ทำให้นึกย้อนไปสมัยที่มีสิทธิเลือกตั้งตอนอายุ 18 ครั้งแรก
จำได้ว่าครั้งนั้นเลือกตั้ง ส.ว. ที่นั่นมี 2 ที่นั่ง
แต่ที่น่าประกลาดใจนอกว่า 18 ปี มีสิทธิ์ครั้งแรกก็คือ คนที่ได้ 2
ที่นั่งนั้น สามารถสร้างพวกพ้องของตนเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ท่านแรก
ใช้น้ำแข็งไปในงานศพ งานบวช งาน... จึงได้ฉายาจากคนที่รู้ทันว่า
ส.ว.น้ำแข็ง (จริงๆแล้ว ท่านอาจเป็นที่รู้จักในวงกว้างก็เป็นได้
เพราะเป็นครูเก่า ลาออกมาเล่นการเมือง) ส่วนอีกท่าน คะแนนท่วมท้น
เพราะเอกสารแนะนำตัวเป็นรูปครอบครัว
แต่ที่ได้ไม่ใช่ว่าคนเค้ามาว่ารักครอบครัว คุณอาจฟังเหตุผลแล้วอาจจะตกใจ
เพราะผมก็ตกใจตอนได้ยินครั้งแรกจากรายการวิทยุ
ผู้จัดรายการลองสอบถามเด็กสายอาชีพที่มีสิทธิ์ครั้งแรก ว่าจะเลือกใคร
เธอคนนั้นตอบมาทันทีว่า เบอร์... (เว้นไว้หน่อยนะครับ)
พอผู้จัดรายการถามต่อว่า ทำไมละ รู้จักเค้าหรือ นักศึกษาคนนั้นตอบว่า
"เปล่าค่ะ ลูกชายเค้าหล่อค่ะ" ฟังแล้วน่าปวดใจ
เราเลือกคนไปเป็นตัวแทนด้วยเหตุผลที่สั่นคลอนความมั่นคงมาก
แม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องในอดีต
แต่มันก็เป็นผลมาถึงปัจจุบันเช่นเดียวกัน มีการดึงบุคคลที่มีชื่อเสียง
หน้าตาดี มีหน้ามีตาทางสังคมและจอโทรทัศน์มาร่วมงาน
บางคนดึงคนที่กำลังเป็นกระแสมาเข้าพรรค พอเวลาผ่านไป ผลประโยชน์ไม่ลงตัว
คนๆนั้นกลับไปสร้างกระแสขย่มพรรคจนล่มไปแล้วก็มี
มองมาถึงมุมประชาธิปไตยเล็กๆ
และใกล้ตัว นั่นก็คือ การเลือกตั้งประธานนักเรียน
บางโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมาก เค้าก็ตั้งนายกรัฐมนตรีนักเรียน
มีสภานักเรียนจริงๆ (ทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้กับเพื่อนนักเรียน
แต่ไม่มีอำนาจสั่งซื้อหนังสือเรียนเหมือนรัฐมนตรีจริงๆ) ส่วนโรงเรียนเล็ก
แค่มีประธานนักเรียน และคณะมาช่วยงานครูก็หรูแล้ว
แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าน่าเป็นห่วงคือ แม้จะเป็นสังคมการเมืองเล็ก
เป็นแค่การเลือกตัวแทนมาเป็นหัวหน้าของโรงเรียน
แต่กลับมีการทำลายป้ายหาเสียงของฝั่งตรงข้าม
แม้ว่าจะเป็นป้ายเล็กๆที่ทำจากเศษกระดาษเหลือใช้มีมูลค่าไม่มากมาย
แต่มันสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมไทยว่า แม้แต่เด็กนักเรียนก็ยังคิดว่า
"ใครไม่ใช่พวกกู กูต้องทำลาย"
ครูเลยต้องทำหน้าที่ปรับทัศนคตินักเรียนกันยกใหญ่
แถมยังต้องปรามด้วยการเทียบเคียงกับกฎหมายการเลือกตั้ง
เกี่ยวกับการทำลายป้ายหาเสียงของพรรคการเมือง
ไม่รู้ว่าสังคมไทยเราเป็นอะไรไปกันหมดแล้ว ระหว่างทางที่ขี่รถไปโรงเรียน
ก็มีป้ายหาเสียงถูกทำลาย แบบนี้อย่าถามหาความสมานฉันท์ในสังคมเลย
แค่การรับฟังความเห็นที่แตกต่างยังทำไม่ได้เลย
(พ่อตากับลูกเขยใส่เสื้อคนละสี ยังแทงกันตายเพราะความเห็นแตกต่างกัน)
ผมเคยร่วมเลือกตั้งระดับโรงเรียนมาหลายที่ แต่มีอยู่ 2
ครั้งที่พบข้อผิดพลาดในบัตรลงคะแนนเสียง ครั้งแรก
ครูผู้จัดทำบัตรลืมทำช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนในบัตร
เพราะคิดว่าอย่างไรก็ตามเด็กนักเรียนต้องเลือกใครคนใดคนหนึ่ง
(สงสัยตั้งใจลืม) ครั้งที่สอง
ครูผู้จัดทำบัตรไม่ได้ทำช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเหมือนกัน แต่ที่ไม่ทำเพราะ
เขาไม่เห็นด้วยกับกระแส vote no
ในขณะนี้แสดงให้เห็นถึงอคติของ"ครูบางคน" สิ่งที่ตามมาคือ
แม้ว่าจะไม่มีช่องไม่ลงคะแนน แต่ปริมาณบัตรเสียกลับมากผิดปกติกว่าทุกๆครั้ง
และอาจเกิดคำถามว่า "ครูมีสิทธิ์อะไรไปบังคับให้เด็กลงคะแนนผู้สมัคร
ทั้งๆที่เด็กไม่ชอบใครเลย"
ครูเป็นอาชีพที่ต้องอยู่กับเด็ก
ต้องสรรสร้าง เสกปั้น ปรุงแต่งให้นักเรียนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ
แต่ด้วยความเป็นปุถุชน ซึ่งทุกคนก็ย่อมมีอยู่เป็นปกติ บางคนบางท่าน
กลับเอาอคติของตนเอง หรืออาจเรียกได้ว่า เอาความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด
ทัศนคติของตนใส่ไว้ในเด็กด้วย และถ้ามองในมุมกว้างๆ
หากทัศนคติของครูที่มอบให้เด็กเป็นเรื่องของความรักชาติ
ความตั้งใจเรียนเพื่อออกไปรับใช้สังคม
ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นมาส่งต่อทัศนคติที่ดี
แต่ถ้าครูชอบพรรคการเมืองสีนั้น ดูจานดาวเทียมสีนี้ ชอบนายกคนนั้น
รักนายกคนนี้ แล้วนำความเชื่อความชอบเหล่านั้นมากรอกใส่นักเรียน
มันน่าจะเป็นแง่ลบมากกว่าแง่บวก
แถมบาปกรรมจะติดตัวไปเพราะท่านทำหน้าที่ของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบบผิดๆ
(ประมาณว่า ถ้าเด็กเติบโตไปเป็นคนที่มีความรุนแรงทางความคิด
ใครมาว่านายกที่ฉันรัก ฉันจะกระโดดชก
แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับครูโกงเงินโรงเรียนวันละ 10 บาท เด็กคนนั้นเรียนกี่ปี
ครูก็โกงเงินหลวงเท่านั้น ยิ่งเด็กมีมากเท่าไร ก็คูณจำนวนเด็กเข้าไป
และถ้าอคติยังติดตัวเด็กออกไป แม่ว่าจะเติบโตจนแก่ตาย
ก็ยังนับว่าครูยังโกงอยู่ เพราะเป็นผลผลิตมาจากครูโดยตรง)
ทุกคนย่อมมีความคิดเป็นของตน
หากเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตนกระทำเป็นประชาธิปไตย
ของโปรดจงรับฟังเสียงของคนอื่นบ้าง ดูทีวีช่องอื่นบ้าง
เวลาเค้ามาหาเสียงถ้าไม่ชอบ ไม่รัก ก็เดินหนีเสีย ไม่ใช่เอาไข่ปา
เอาร้องเท้าปา หรือไม่ก็ไปทำลายป้ายของพรรคที่ไม่ชอบ
ถ้าคิดจะใช้คำว่า "ประชาธิปไตย"
ขอโปรดทำความเข้าใจ และอย่าใส่อคติ อย่าตัดสินคนอื่นว่าโง่
แม้ว่าคนๆนั้นจะยืนอยู่คนละฝั่งกับคุณก็ตาม เพราะทุกคนมีสมอง
มีพ่อแม่เลี้ยงดู มีครูบาอาจารย์สั่งสอน
ประชาธิปไตยควรให้สิทธิเสียงข้างมาก ในขณะเดียวกัน
ก็ต้องให้เกียรติเสียงข้างน้อย มิเช่นนั้น ก็เป็นเพียงกากเดนประชาธิปไตย
โดยภายในเป็นอัตตาธิปไตย หรือคณาธิปไตยนั่นเอง
ไม่ว่าจะรักใคร ชอบใคร หรือไม่รักใครก็ตาม
เราคนไทยต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามหน้าที่ ใช้สติปัญญาของเรา
ลงคะแนนให้กับคนที่เราคิดว่า เขาจะไม่ทอดทิ้งเราและไม่ทำลายประเทศในภายหลัง
หรือถ้ายังไม่มีใครเข้าตา ก็ตัดสินใจเอาเองนะครับพี่น้องดินแดนปัญญาชน
(ป.ล.
หากมีโฆษณาของพรรคการเมืองใดปรากฏบนหน้านี้ เป็นสิ่งที่เกิดจาก
google adword ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เขียน
ขออภัยหากรบกวนสายตา ทั้งนี้เป็นสิทธิ์ของพรรคการเมืองในการติดต่อกับ
google โดยตรงไม่เกี่ยวกับทางเว็บ
ท่านสามารถสังเกตได้จากหน้าอื่นๆ ซึ่งจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามที่
google กำหนด)
ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่
http://www.seal2thai.org/sara/sara226.htm
free toolbar
ที่มา
ครูพิริยะ
ตระกูลสว่าง
ขอบคุณครับที่ทำ link
และอ้างอิงมาหาเรา
นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว
|
ให้คะแนนข้อเขียนนี้ กี่ดาวดีครับ... |
|
|
|