|
|
||||||||||||||||
ดินแดนปัญญาชน
เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เรียนพิเศษในพิษณุโลก วงการครู ข้อสอบ o-net a-net ได้รับการสนับสนุนโดย ร้านขนมจีน ขนมจีนเส้นสด |
|||||||||||||||||
การประกาศผลรางวัลโนเบลประจำปี 2008
ฤดูกาลแห่งการมอบรางวัล "โนเบล"
อันทรงเกียรติประจำปี 2008 เริ่มขึ้นแล้ว
หลังจากที่เวที "อิกโนเบล"
รางวัลสำหรับความฉลาดๆ ที่หลายคนคาดไม่ถึง
เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ เมื่อปลายสัปดห์ที่ผ่านมา
ส่วนผลรางวัลโนเบลในปีนี้เริ่มต้นวันที่ 6
ต.ค. กับ "โนเบลแพทย์" ตามติดด้วย
"ฟิสิกส์", "เคมี", "วรรณกรรม",
"สันติภาพ" และเว้นช่วงก่อนปิดท้ายด้วย
"เศรษฐศาสตร์" ในวันที่ 13 ต.ค.
การประกาศผลรางวัลโนเบล (Nobel Prizes) เริ่มขึ้นในช่วงต้นเดือน ต.ค. และมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 10 ธ.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) ผู้ก่อตั้งรางวัลอันทรงเกียรตินี้ โดยเริ่มประกาศรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์ก่อน ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ขณะที่ "สันติภาพ" เป็นสาขาเดียวในรางวัลอันทรงเกียรตินี้ที่จะประกาศในประเทศนอร์เวย์ ** ทั้งนี้ ระหว่างที่บางรางวัลยังไม่มีการประกาศผล ทางทีมงานได้นำ การคาดการณ์ "ตัวเก็ง" จาก เดวิด เพนเดิลเบอรี (David Pendlebury) ผู้วชาญด้านประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ และนักวิเคราะห์ จากธอมพ์สัน รอยเตอร์ส (Thompson Reuters) ที่ทำนายการมอบรางวัลโนเบลในสาขาทางวิทยาศาสตร์ คือ แพทย์, ฟิสิกส์, เคมี และเศรษฐศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยเก็งถูกมาแล้วถึง 12 รายด้วยกัน ** วันที่ 6 ต.ค. เวลา 16.30 น. : สาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ มอบรางวัลโดย : สมัชชาโนเบล ที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at the Karolinska Institute) แบ่งรางวัลเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 : 2 นักวิจัยจากฝรั่งเศส คือ ฟรังซัวส์ แบร์เร-ซินอยซี (Francoise Barre-Sinoussi) วัย 61 ปี จากหน่วยวิจัยไวรัสวิทยา สถาบันหลุยส์ปาสเตอร์ ในกรุงปารีส (Regulation of Retroviral Infections Unit, Virology Department, Institut Pasteur Paris, France) และ ลุค มองตากนีแยร์ (Luc Montagnier) วัย 76 ปี จากมูลนิธวิจัยและป้องกันเอดส์ ยูเนสโก (World Foundation for AIDS Research and Prevention Paris, France) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงปารีส คณะกรรมการกล่าวสดุดีว่า "สำหรับพวกเขา ที่ค้นพบไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์" (for their discovery of human immunodeficiency virus) หรือเชื้อ เอชไอวี (HIV) นั่นเอง ส่วนที่ 2 : ศ.นพ.ฮารัลด์ ซัวร์ เฮาเซ่น (Professor Harald Zur Hausen) วัย 72 ปี จากศูนย์วิจัยมะเร็ง เมืองไฮเดลเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (German Cancer Research CentreHeidelberg, Germany) คณะกรรมการกล่าวสดุดีว่า "สำหรับการค้นพบไวรัสแพ็บพิลโลม่าในมนุษย์ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูก" ("for his discovery of human papilloma viruses causing cervical cancer") หรือเชื้อ "เอชพีวี" นั่นเอง คาดการณ์... - ชิซู อากิระ (Shizuo Akira) จากมหาวิทยาลัยโอซากา (Osaka University) ญี่ปุ่น, บรูซ บิวต์เลอร์ (Bruce Beutler) จาก The Scripps Research Institute สหรัฐอเมริกา และ จูลส์ เอ ฮอฟฟ์แมน (Jules A. Hoffman) จาก Frence Academy of Science ฝรั่งเศศ จากผลงาน การค้นพบระบบภูมิคุ้มกัน - วิคเตอร์ แอมบรอส (Victor Ambros) จาก University of Massachusetts Medical School และ การี รัฟกัน (Gary Ruvkun) จาก Harvard Medical School and Massachusetts General Hospital สหรัฐฯ จากผลงาน การค้นพบ microRNA และบทบาทในการปิดการทำงานของยีน - โรรี คอลลินส์ (Rory Collins) และ เซอร์ ริชาร์ด เพโต (Sir Richard Peto) จาก University of Oxford สหราชอาณาจักร จากผลงาน การพัฒนาข้อมูลทางสถิติจากการทดลองทางคลินิกเพื่อการวินิจฉัยโรค วันที่ 7 ต.ค. เวลา 16.45 น. : สาขาฟิสิกส์ มอบรางวัลโดย : ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) แบ่งรางวัลเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 : โยอิชิโร นามบุ (Yoichiro Nambu) วัย 87 ปี ในฐานะนักวิจัยแห่งสหรัฐฯ จากสถาบันเอนริโก เฟอร์มิ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ (Enrico Fermi Institute, University of Chicago Chicago, IL, USA) คณะกรรมการได้กล่าวสดุดีไว้ว่า สำหรับการพัฒนา "แบบจำลองพื้นฐานของอนุภาคมูลฐานในทางฟิสิกส์อนุภาค ซึ่งรวมโครงสร้างที่เล็กที่สุดของสสาร และรวม 3 ใน 4 ของแรงพื้นฐาน อยู่ภายในทฤษฎีเดียว. ส่วนที่ 2 : มาโกโต โคบายาชิ (Makoto Kobayashi) วัย 64 ปี นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรวิจัยเครื่องเร่งพลังงานสูง (High Energy Accelerator Research Organization : KEK) ในเมืองสึคุบะ ประเทศญี่ป่น และ โตชิฮิเดะ มัสกาวา (Toshihide Maskawa) วัย 68 ปี จาก สถาบันฟิสิกส์ทฤษฎียุกาวา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญีปุ่น (Yukawa Institute for Theoretical Physics (YITP), Kyoto University Kyoto, Japan) คณะกรรมการได้มอบรางวัลให้ทั้ง 2 โดยกล่าวสดุดีต่อการค้นพบ "ต้นกำเนิดการทำลายสมมาตรด้วยตัวเอง (broken symmetry) ซึ่งทำนายการมีอยู่ของควาร์กในธรรมชาติ อย่างน้อยก็ 3 ตระกูล" คาดการณ์... - อังเดร เกม (Andre Geim) และ คอสต์ยา (Kostya Novoselov) จาก University of Manchester สหราชอาณาจักร จากผลงาน การค้นพบกราฟีน (graphene) - เวรา รูบิน (Vera Rubin) จาก Carnegie Institution for Science สหรัฐอเมริกา จากผลงาน การค้นพบการมีอยู่ของวัตถุดำ (dark matter) ในเอกภพ - เซอร์โรเจอร์ เพนโรส (Sir Roger Penrose) จาก University ot Oxford สหราชอาณาจักร และ แดน เชชต์แมน (Dan Shechtman) จาก Iowa State University สหรัฐฯ จากผลงาน การศึกษาวิจัยผลึกแก้ว วันที่ 8 ต.ค. เวลา 16.45 น. : สาขาเคมี มอบรางวัลโดย : ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ 3 รายคือ - โอซามุ ชิโมมุระ (Osamu Shimomura) จากหน่วยปฏิบัติการณ์ชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory: MBL) มลรัฐแมสซาชูเซตต์ - มาร์ติน ชาลฟี (Martin Chalfie) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) มลรัฐนิวยอร์ก - โรเจอร์ เฉียน (Roger Y. Tsien) จากมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย ในซานดิเอโก (University of California) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย คณะกรรมการได้มอบรางวัลให้ทั้ง 3 โดยกล่าวสดุดีว่า ในการค้นพบโปรตีนเรืองแสง และพัฒนาจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย ในงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์และชีววิทยา คาดการณ์... - ชาร์ลส เลเบอร์ (Charls Leiber) จาก Harvard University สหรัฐฯ จากผลงาน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลวดนาโน (nanowire) และวัสดุนาโน - Krzysztof Matyjaszewski จาก Carnegie Mellon University สหรัฐฯ จากผลงาน การพัฒนากระบวนการพอลิเมอไรเซชัน - โรเจอร์ เสียน (Roger Tsien) จาก University of California San Diego สหรัฐฯ จากผลงาน การใช้สารเรืองแสง ในการศึกษากลไกการทำงานภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต วันที่ 9 ต.ค. เวลา 18.00 น. : สาขาวรรณกรรม มอบรางวัลโดย : สถาบันวิชาการสวีเดน (The Swedish Academy) มอบให้แก่ : ฌอง-มารี กุสตาฟ เลอ เคลซีโอ (Jean-Marie Gustave Le Clezio) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส วันที่ 10 ต.ค. เวลา 16.00 น. : สาขาสันติภาพ มอบรางวัลโดย :สถาบันโนเบลแห่งนอร์เวย์ (The Norwegian Nobel Institute) - มาร์ตตี อาห์ตีซารี (Martti Ahtisaari) วัย 69 ปี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ คณะกรรมการสดุดีว่า เขามีความพยายามอย่างสำคัญตลอดกว่า 3 ทศวรรษในการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ อาห์ตีซารี เคยช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยวิกฤตการณ์ความขัดแย้งมาแล้วหลายต่อหลายพื้นที่ ไล่ตั้งแต่โคโซโว จนถึงอินโดนีเซีย วันที่ 13 ต.ค. เวลา 18.00 น. : สาขาเศรษฐศาสตร์ มอบรางวัลโดย : ธนาคารกลางสวีเดน - พอล ครุกแมน (Paul Krugman) วัย 52 ปี นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ชื่อดัง แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน คณะกรรมการสดุดีว่า ให้รางวัลสำหรับผลงานของเขา ที่ช่วยอธิบายว่า ทำไมบางประเทศจึงครอบงำการค้าระหว่างประเทศ โดยที่เขาทำงานพัฒนาทฤษฎีนี้ตั้งแต่งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ไว้เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน คาดการณ์... - ลาร์ส พี แฮนเซน (Lars P. Hansen) จาก University of Chicago, โธมัส เจ ซาร์เกนต์ (Thomas J. Sargent) จาก Hoover Institution และ คริสโตเฟอร์ เอ ซิมส์ (Christopher A. Sims) จาก Princeton University สหรัฐฯ จากผลงาน แบบจำลองการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และทางสถิติในการทดสอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ - อาร์เมน เอ อัลเชน (Armen A. Alchain) และ แฮโรลด์ เดมเซตซ์ (Harold Demserz) จาก University ot California Los Angeles สหรัฐฯ จากผลงาน ทฤษฎีหน่วยผลิต (theory of the firm) และ ทรัพยสิทธิ (property right) - มาร์ติน เอส เฟลด์สไตน์ (Martin S. Feldstein) จาก National Bureau of Economic Research สหรัฐฯ จากผลงาน การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณะ (Public Economics) วันที่ 3 ต.ค. เวลา 06.30 น. : รางวัลอิก โนเบล (IG NOBEL PRIZES) มอบรางวัลโดย : คณะกรรมการงานวิจัยที่ไม่น่าจะลอกเลียนแบบได้ (The Annals of Improbable Research) ทีมา www.manager.co.th
ขอบคุณครับที่ทำ link
และอ้างอิงมาหาเรา
นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว |
|||||||||||||||||
|