น่ารู้เรื่อง "ผะหมี"

 

 

 

ผะหมี : ความบันเทิงของปัญญาชน
ผ.ศ.สุรีย์ ไวยกุฬา
 

ตอนที่ 4 การแต่งผะหมี
  
เมื่อได้รู้จักลักษณะตัวเฉลยของผะหมีแล้ว ผู้แต่งปริศนาหรือนายโรงจะต้องศึกษาฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละชนิดที่นำมาแต่ง ต้องเตรียมหาตัวเฉลยให้มากพอต่อจากนั้นจึงนำมาพิจารณาว่าจะแต่งผะหมีด้วยคำประพันธ์ชนิดใด เท่าที่เล่นกันอยู่นั้นมักใช้โคลงสี่สุภาพเป็นพื้น เนื่องจากใช้ตัวเฉลยเพียง ๓ – ๔ ตัวเท่านั้น ต่อปริศนา ๑ บท ส่วนผะหมีลักษณะอื่นๆ เช่น ดอกสร้อย สักวา ยานี ฉบัง มีแต่งน้อยกว่า
 

   ลักษณะของผะหมีหรือตัวปริศนามีดังนี้
   ผะหมีลักษณะที่ ๑ โคลงสี่สุภาพ

นายโรงนำตัวเฉลยที่เตรียมไว้ ซึ่งมีลีกษณะต่างำตามที่กล่าวมาแล้วซึ่งผู้แต่งจะต้องเตรียมทั้งตัวคำตอบ ความหมาย หรือคำอธิบายมาแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เช่น
 

โคลงสี่สุภาพ ๑

     ผู้หนึ่งเชี่ยวชาญด้าน
ผู้หนึ่งหลงลาวศรี
ผู้หนึ่งวุ่นวารี
ผู้หนึ่งโปรยทานก้อง
ดนตรี
พี่น้อง
ชิงนุช คืนนา
ส่ำสร้างผลบุญ

    ผะหมีนี้คำตอบเป็นชื่อตัวละครจากวรรณคดี บาทแรก คำตอบคือ พระอภัยมณี บาทที่ ๒ คำตอบคือ พระลอ บาทที่ ๓ คำตอบคือ พระราม บาทที่ ๔ คำตอบคือ พระเวสสันดร ลักษณะของคำตอบคำหน้าเหมือนกันคือคำว่า พระ
 

โคลงสี่สุภาพ ๒

    ของใช้ไว้ปิดป้อง
บางหนึ่งมีนามา
อีกนามหนึ่งปักษา
เป็นเครื่องหมายมีใช้
คมอา วุธเฮย
เอ่ยไว้
เสียงเสนาะ
ท่านนั้นคงเห็น

   คำตอบของปริศนาบทนี้ บาทแรก คำตอบคือ เขน บาทที่ ๒ คือคำว่าบางเขน บาทที่ ๓ คือคำว่า นกกางเขน บาทที่ ๔ คือคำว่า ไม้กางเขน จะเห็นว่าคำตอบของปริศนานี้ คำหลังเหมือนกันคือคำว่า เขน
 

โคลงสี่สุภาพ ๓

     แบแบะเผยแจ่มแจ้ง
อร่ามลักษณ์ระเริงใน
บวมปูดอูดทั่วไป
สามบาทขาดหนึ่งเตื้อ
อะไร
อะเคื้อ
อนาถนึก
แผ่นนี้ทายสาม

   ปริศนานี้บาทสุดท้ายบอกผู้ทายว่าปริศนานี้มีคำตอบเพียง 3 คำตอบคำตอบของบาทแรกคือ อล่างฉ่าง บาทที่๒ คือ อล่องฉ่อง บาทที่ ๓ คือ อลึ่งฉึ่ง จะเห็นว่าตำแหน่งของคำตอบ ตำแหน่งที่ ๑ คือ ฮ ตำแหน่งที่ ๒ คือ ล ตำแหน่งที่ ๓ คือ ฉ
 

ผะหมีผวน ๑

     แต หนึ่งนามหมู่ไม้
แต หนึ่งตามสะกิด
แต หนึ่งดัดจริต
แต หนึ่งสัตว์สี่เท้า
มีพิษ
ยั่วเย้า
โป้ปด
กู่ก้องร้องไกล

   ปริศนาบทนี้ผู้แต่งเขียนว่า ผะหมีผวน เป็นการบอกให้ผู้ทายรู้ว่าคำตอบจะต้อง ผวนคำ จึงจะได้ความหมาย คำตอบของปริศนาบทนี้ บาทแรกคือ แตยำ ผวนเป็น ตำแย บาทที่ ๒ แตยอ ผวนเป็น ตอแย บาทที่ ๓ คือ แตหลอ ผวนเป็น ตอแหล บาทที่ ๔ คือ แตกุ๊ก ผวนเป็น ตุ๊กแก

   สำหรับปริศนาที่มีคำตอบเป็นคำผวนนั้น ปกติแล้วคำตอบจะต้องผวนทั้งหมด แต่ถ้าจะผวนเฉพาะวรรคใดหรือบาทใดผู้แต่งจะต้องบอกให้ผู้ทายเข้าใจด้วย เช่น

โคลงสี่สุภาพ ๔

     ยัก หนึ่งทะลึ่งบ้อง
ยัก แย่แปรแล้วหนอ
ยัก แปรเปลี่ยนเวียนพอ
ยัก สุดใจบาทนี้
ชีกอ
เล่ห์ชี้
ทดสอบ
ท่านต้องตอบผวน

   ปริศนาบทนี้ คำตอบของบาทแรกคือ ยักคิ้ว คำตอบของบาทที่ ๒ คือ ยักเหลี่ยม คำตอบของบาทที่ ๓ คือ ยักกระสาย ส่วนบาทที่ ๔ ผู้แต่งบอกไว้ว่าคำตอบเป็นคำผวน คือคำว่า ยักรอด ผวนเป็นยอดรัก
 

โคลงสี่สุภาพ ๕

     จังหวัดเหนือชื่อนั้น
งามผ่องผิวยองใย
พฤกษาชาติแจงไข
เป็นเครื่องใช้พวกพ้อง
นามใด พ่อเอย
น่าจ้อง
นามหน่อย
ชื่อนี้เชิญทาย

   คำตองของปริศนานี้บาทที่ ๑ คือ ลำพูน บาทที่ ๒ คือ ลำเพา บาทที่ ๓ คือ ลำพู หรือ ลำโพง บาทที่ ๔ คือ ลำแพน สังเกตว่าคำตอบของปริศนานี้พยางค์แรกคือ ลำ และพยางค์ที่ ๒ ต้องเป็น พ เป็นการเล่นอักษร
 

คำพังเพย ๑

     นามธาตุหนึ่งทราบไซร้
ปริมาณต่ำค่า
เห็นมากซากพฤกษา
ปริ่มปริ่มริมฝั่งตื้น
บอกมา
สู่พื้น
ห้ำหั่น ทอนแฮ
โผล่ขึ้นอวดโฉม

   ปริศนาบทนี้บอกให้รู้ว่าคำตอบเป็นคำพังเพย บาทแรก คำตอบคือ น้ำ บาทที่ ๒ คือ ลด บาทที่ ๓ คือ ตอ บาทที่ ๔ คือ ผุด คำตอบทั้งหมดคือ น้ำลดตอผุด

ผะหมีผัน ๑

     ผันปริศนาบทนี้
หนึ่งสืบเสาะแสวงไป
โรคติดต่อเป็นภัย
สองคู่หนึ่งหน่วยนั้น
อย่างไร พี่เอย
บ่หยั้น
ชนม์ชีพ เราเฮย
ช่วยเว้าคำทาย

 ปริศนาบทนี้ บาทแรกกล่าวเกริ่นให้รู้ว่าคำตอบเป็นการผันอักษร คำตอบของบาทที่ ๒ คือ หา บาทที่ ๓ คือ ห่า บาทที่ ๔ คือ ห้า คำตอบของปริศนาบทนี้คือ หา ห่า ห้า
 

   ผะหมีลักษณะที่ ๒ กลอนดอกสร้อย

   ผู้แต่งปริศนาจะต้องศึกษาฉันทลักษณ์ของกลอนดอกสร้อย และเตรียมตัวเฉลยไว้ ๑ บทดอกสร้อย ใช้ตัวเฉลยประมาณ ๗ ตัวเฉลย คือ ๑ วรรคต่อ ๑ คำตอบ ดังตัวอย่าง
 

ดอกสร้อย ๑

     มีเอ๋ยมีกัน
ทั่วทุกท่านไม่ว่าใครทั้งชายหญิง
ดัดจริตแดะแด๋แย่จริงจริง
กระหนุงกระหนิงเมื่อลมพัดสะบัดไกว
ความรู้สึกตะขิดตะขวงไม่จ้วงจาบ
ของแบนราบใช้กันอยู่คุณรู้ไหม
ทีละเล็กละน้อยค่อยๆไป
ขมเข้าไส้ลูกพฤกษาทำยาเอย

 (คำตอบคือ กระเดือก)
 (คำตอบคือ กระแดะ)
 (คำตอบคือ กระดึง)
 (คำตอบคือ กระดาก)
 (คำตอบคือ กระดาน)
 (คำตอบคือ กระดิบ)
 (คำตอบคือ กระดอม)


ดอกสร้อย ๒

     นงเอ๋ย นงพะงา
เมื่อยักษ์พาลิงแย่งแทงกันกลุ้ม
มันไหลโซกซาบกายาพาร้อนรุ่ม
เจ้ามอญหนุ่มลอกลักภคินี
มีที่เรือหากไม่เชื่อไปดูได้
เห็นเขาใช้ลงยันต์กันภูตผี
แหงนดูฟ้าเถิดท่านฉันเห็นผี
บอกอีกทีนามศาสดากล่าวมาเอย

(คำตอบคือ มณโฑ)
(คำตอบคือ เสโท)
(คำตอบคือ มะกะโท)
(คำตอบคือ ราโท)
(คำตอบคือ พุทโธ)
(คำตอบคือ ไม้โท)
(คำตอบคือ กกุสันโธ)


ผะหมีลักษณะที่ ๓ กลอนสักวา
   ผู้แต่งปริศนาต้องศึกษาฉันทลักษณ์ของกลอนสักวา แล้วเตรียมหาตัวเฉลย ๗ - ๘ คำตอบ ดังตัวอย่าง
 

สักว่า ๑

     สักวาตอบปัญหาบทนี้
อาหารฟรีเรื่องตั้งทางกุศล
ใช้ตัวเขื่อมประโยคสันโยคปน
ทุกทุกคนเกิดมาต้องอ้ากิน
เป็นคนจนด้นขอต่อเขาทั่ว
ตั้งใจตัวตั้งจิตคิดถวิล
เรื่องโกหกตลกมาข้าฯเคยยิน
กันคนดิ้นออกนอกทางวางกฎหมายเอย

(คำตอบคือ โรงทาน)
(คำตอบคือ สันธาน)
(คำตอบคือ รับประทาน)
(คำตอบคือ ขอทาน)
(คำตอบคือ ปณิธาน)
(คำตอบคือ นิทาน)
(คำตอบคือประธาน )


ผะหมีลักษณะที่ ๔ กาพย์ยานี
  ผู้แต่งปริศนาต้องศึกษาฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี แล้วเตรียมหาตัวเฉลยไว้ในหนึ่งแผ่นปริศนา อาจจะทายเพียง ๑ บทหรือ ๒ บทของกาพย์ยานีก็ได้ เช่น
 

กาพย์ยานี ๑

     ค้าขายหมายมุ่งใช้
ขนมไทยเคยลิ้มลอง
สี่บาทผาดผยอง
เป็นที่รองพระประธาน
ชื่อผักมิตรรักตอบ
แคว้นเขตขอบเชิญแฟนขาน
สถานีมีมานาน
ปิดอาหารกันแมลง
(คำตอบคือ บัญชี)
(คำตอบคือ กล้วยบวชชี)
(คำตอบคือ พาชี)
(คำตอบคือ ชุกชี)
(คำตอบคือ ผักชี)
(คำตอบคือ วัชชี)
(คำตอบคือ ชุมทางบ้านพาชี)
(คำตอบคือ ฝาชี)


   ผะหมีลักษณะที่ ๕ กาพย์ฉบัง
   ผู้แต่งปริศนาศึกษาฉันทลักษณ์ของกายพ์ฉบัง แล้วเตรียมหาคำเฉลยไว้ ประมาณ ๓ - ๖ คำตอบ ขึ้นอยู่กับว่าปริศนานั้นจะแต่งด้วยกาพย์ฉบัง ๑ บทหรือ ๒ บท ดังตัวอย่าง

กายพ์ฉบัง ๑

     เป็นนามเกาะอยู่เมืองไทย
ผักน้ำนามใด
รู้ไทยเป็นสัตว์สี่ขา
ขนมไทยได้กินกันมา
เรียกลูกพฤกษา
กายามีแฝงแจ้งทาย
(คำตอบคือ เกาะเต่า)
(คำตอบคือ ผักตับเต่า)
(คำตอบคือ เต่า)
(คำตอบคือ ปลากริมไข่เต่า)
(คำตอบคือ มะเขือไข่เต่า)
(คำตอบคือ ขี้เต่า)


   ผะหมีลักษณะที่ ๖ กลอน
   ผะหมีที่แต่งเป็นกลอนนี้จะแต่งเป็นกลอนหก หรือกลอนแปดก็ได้ แต่มักนิยมแต่ด้วยกลอนแปด ตัวอย่างเช่น
 

กลอน ๑

     “กระโปรงทอง” คืออะไร
ยังอ่อนไซร้ไม่เดียงสา
ติดสะดือตอนเกิดมา
ถิ่นโอฬาร์ของคนบาป
(คำตอบคือ ต้นกะทกรก)
(คำตอบคือ ทารก)
(คำตอบคือ รก)
(คำตอบคือ นรก)


กลอน ๒

    สระอะบรรพกาลเคยขานเรียก
เคยสำเหนียกพันธุ์พฤกษ์ไพรเป็นไม้เถา
เต้าตูมตั้งเต่งตึงน่าคลึงเคล้า
พอแหย่เข้าพุ่งปรี๊ดฉีดน้ำมัน
(คำตอบคือ นมนาง)
(คำตอบคือ นมแมว)
(คำตอบคือ นมสาว)
(คำตอบคือ นมหนู)


   ผะหมีลักษณะที่ ๗ จตุพจน์
   คำว่า “จตุพจน์” เป็นคำที่อาจารย์วีระ ฉ่ำตุ๋ย เรียกลักษณะของผะหมีชนิดหนึ่งที่มีฉันทลักษณ์ เช่นเดียวกับกลอนสี่นั่นเอง ในปัจจุบันคือมี ๔ วรรค วรรคละ ๔ คำตอบ ดังตัวอย่าง เช่น
 

จตุพจน์ ๑

     เป็นที่ขึ้นลง
อย่างงลายเซ็น
พฤกษ์นี้เคยเห็น
เกมเล่นของเด็ก
(คำตอบคือ บันได)
(คำตอบคือ แกงได)
(คำตอบคือ สลัดได)
(คำตอบคือ งูไต่บันได)


   ผะหมีลักษณะที่ ๘ จุลพจน์
   ผะหมีที่เป็นจุลพจน์ อาจารย์วีระ ฉ่ำตุ๋ย คิดขึ้นเช่นกัน เป็นคำถามสั้นๆ คำตอบประมาณ ๓ - ๔ คำตอบ เช่น
 

จุลพจน์ ๑


เวลานานวัน (คำตอบคือ ปี)
เอกผันขานเลา (คำตอบคือ ปี่ )
โทเข้าทับกัน (คำตอบคือ ปี้)
คำตอบขอบปริศนานี้คือ ปี ปี่ ปี้



   ผะหมีลักษณะที่ ๙ กระจุ๋มกระจิ๋ม
   ในการออกโรงเล่นผะหมีตามปกติจะเล่นกันทั้งคืน ดังนั้นบางครั้งตัวปริศนาที่เตรียมไปอาจจะไม่เพียงต้องแต่งเพิ่มขึ้นใขณะนั้น อาจารย์วีระ ฉ่ำตุ๋ย จึงแต่งปริศนาที่เรียกว่า กระจุ๋มกระจิ๋มขึ้น กระจุ๋มกระจิ๋ม แปลว่า เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ลักษณะของผะหมีจึงเป็นข้อความสั้นๆ เป็นำคล้องจองกัน เช่น
 

กระจุ๋มกระจิ๋ม ๑

เรือใบรูปท้ายตัด (คำตอบคือ เรือญวน )
ขนมอร่อยชมัด (คำตอบคือ ขนมเบื้องญวน)
หากซัดต้องหดจู๋ (คำตอบคือ ก๋วยเตี๋ยวญวน)
 


   ผะหมีลักษณะที่ ๑๐ ทศ
   ทศ แปลว่า สิบ ผะหมีที่เป็นทศนี้ตัวปริศนามี ๑๐ วรรคอาจจะแต่งด้วยคำประพันธ์ต่างๆตามที่กล่าวมาแล้ว หรือแต่งให้แต่ละวรรคคล้องจองกัน คำตอบมีประมาณ ๙ - ๑๐ คำตอบ ผะหมีชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะเปลืองตัวเฉลย และในการติดแผ่นปริศนาก็ใช้พื้นที่มาก นอกจากนี้เนื่องจากใช้คำประพันธ์เพียง ๑๐ วรรคตามชื่อ ทศ ฉะนั้นวรรคที่ ๙ และ ๑๐ ของกลอนหรือกาพย์ จะเป็นเพียงครึ่งบททำให้จบห้วนจึงไม่ใคร่นิยมนัก ตัวอย่างเช่น
 

ทศ ๑

     หนึ่งว่าขีดขั้น
หนึ่งนั้นซ้ำซาก
หนึ่งยากหลบหนี
หนึ่งนี้ดอกหอม
หนึ่งยอมพ่ายแพ้
หนึ่งแน่ความหวัง
หนึ่งฟังดูตลก
หนึ่งดกงดงาม
หนึ่งยามแปลงตัว
เชิญฮั้วคิดทาย
(คำตอบคือ จำกัด)
(คำตอบคือ จำเจ)
(คำตอบคือ จำจอง)
(คำตอบคือ จำปีหรือจำปา)
(คำตอบคือ จำนน)
(คำตอบคือ จำนง)
(คำตอบคือ จำอวด)
(คำตอบคือ จำเริญ)
(คำตอบคือ จำแลง)


    ผะหมีลักษณะที่ ๑๑ อะไรเอ่ย
   “อะไรเอ่ย” เป็นผะหมีที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ มาแล้ว เช่น
 

อะไรเอ่ย ๑
อะไรเอ่ย ๒ ไม่ทรง (คำตอบ ๒ คือ ยี่ ไม่ตรงคือ เก คำตอบคือ ยี่เก)
อะไรเอ่ย ๒
สีอะไรเอ่ยที่ผู้หญิงชอบ (คำตอบของปริศนานี้เป็นคำผวน สีที่ผู้หญิงชอบคือ สีมา ผวนเป็น สามี)
 


   ผะหมีลักษณะที่ ๑๒ ผะหมีภาพ
   ผะหมีภาพ คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมาแล้วเช่นกัน คำตอบคือคำเฉลยนั้นอาจเป็นคำตอบตรงๆ เป็นคำผวนหรือคำพังเพย สุภาษิตก็ได้

   ผะหมีภาพที่คำเฉลยเป็นตัวตรงๆ เช่น วาดภาพคนกำลังจมน้ำชูมืออยู่ไหวๆ บนตลิ่งมีเด็กร้องตะโกนว่า “ช่วยอาด้วย” ผู้ทายก็จะได้คำตอบว่า อาจม หรือ
วาดรูปที่ว่าการอำเภอ ที่สนามข้างที่ว่าการอำเภอมีเรือวางอยู่บนคานมีช่างซ่อม ๒ คน คนหนึ่งกำลังใช้สว่านเจาะไชรูสลัก อีกคนหนึ่งถือกะลาใส่ชัน ทำท่ายาเรืออุดรูรั่ว คำตอบของผะหมีภาพนี้คือ อำเภอไชยา
  
ผะหมีภาพที่ตัวเฉลยเป็นคำผวน เช่น วาดภาพทศกัณฐ์กำลังแบกขอน ผู้ทายมองภาพจะเห็นว่ามีขอน กับ ทศกัณฐ์ คำตอบคือ ขัณฑสกร เป็นต้น
ผะหมีภาพที่คำเฉลยเป็นคำพังเพย เช่น วาดภาพคนที่นั่งคุกเข่า มีมีดแหลมเปื้อนเลือดวางอยู่ ข้างตัว ก้มหน้าทำท่าดึงไส้ใส่ลงในแม่น้ำที่วางอยู่ใกล้ๆ คำตอบของผะหมีภาพนี้คือ “สาวไส้ให้กากิน” เป็นต้น
 

   ผะหมีทั้ง ๑๒ ลักษณะนี้นำมาจากการสาธิตของชาวอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ผะหมีของที่อื่นๆ รวมทั้ง “โจ๊ก” ของจังหวัดชลบุรีอาจจะมีรูปแบบที่เหมือน และแตกต่างจากที่กล่าวมาแล้วทั้งตัวผะหมีและลักษณะของคำตอบ ผู้ที่สนใจควรศึกษาค้นคว้าต่อไป
  
   ผะหมีทุกลักษณะเมื่อแต่งเสร็จแล้วควรนำมาจดลงไว้ในสมุด โดยแยกเล่มประเภทของผะหมีแต่ละลักษณะ และทำทะเบียนหมายเลขไว้ เช่น เล่มที่จดผะหมีที่เป็นโคลงสี่สุภาพ เขียนว่า โคลงสี่สุภาพ ๑ โคลงสี่สุภาพ ๒ เล่มที่เป็นกลอนดอกสร้อยก็เขียนว่า ดอกสร้อย ๑ ดอกสร้อย ๒ เป็นต้น เมื่อนำลงเขียนบนแผ่นปริศนาเพื่อนำออกทาย จะต้องใส่หมายเลขของปริศนาให้ตรงกับในสมุดทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็วแก่นายโรงที่จะเปิดหาคำตอบ
 

 counter ©  Powered by SEAL2thai Team :::
 :::
[ดินแดนปัญญาชน]
::: [รวมสาระ] ::: [กระดานปัญญาชน] :::[คุรุชน วงการครู] ::: [สอบบรรจุครู] :::