ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ

คุยเท่าที่รู้ กับครูแชมป์  SEAL2thai.org 

 

ปลูกต้นไม้แห่งปัญญา กับ ดินแดนปัญญาชน  

          ดินแดนปัญญาชน           

bullet

[หน้าแรก]
 

bullet

[รวมสาระ]
 

bullet

[web board]
 

bullet

[คุรุชน]
 

bullet

[สอบบรรจุครู]
 

bullet

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

bullet

กรมหลวงชุมพร

 Thailand Travel Memo
 
เรียนพิเศษในพิษณุโลก
 
วงการครู

 ข้อสอบ o-net a-net ผลงาน คศ.3
 ได้รับการสนับสนุนโดย เงินงอกเงย
 เสด็จเตี่ย เรียนพิเศษ   
     บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

     วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย

     หนังสือวิทยาศาสตร์

         

 
 
 
คุยเท่าที่รู้ กับครูแชมป์ ให้กำลังใจเว็บ SEAL2thai ด้วยนะจ๊ะ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (อย่าลืมให้ like บทความนี้ ด้านท้ายบทความด้วยนะครับ)
เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีเหตุและผล โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

 


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ

    
ตั้งแต่ครูแชมป์เรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เรื่องของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่คุณครูทุกท่านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเอง ครูวิทยาศาสตร์ทุกท่านก็ต้องสร้างให้ลูกศิษย์ของตนเองเกิดทักษะเหล่านี้ขึ้นตามช่วงวัย ทั้งนั้น เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ มีอะไรบ้าง

      ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์ 

     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ

 

หนังสือวิทยาศาสตร์

เด็ก (เก่ง) วิทย์ ติววิทย์กับครูแชมป์ประถมปลาย

หนังสือวิทย์ที่เหมาะสำหรับทุกคน

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก หนังสือวิทยาศาสตร์

    ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้

     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

    
ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

    
ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

   
 ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

    
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

    
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

    
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

    
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง

    
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก


    ข้อมูลนี้ได้สรุปและเรียบเรียงจากเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 (วิทยาศาสตร์ / 52) วันที่ 30 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมกาซะลอง อาคารมหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วิทยากรโดย นายพิริยะ ตระกูลสว่าง

      ดินแดนปัญญาชนขอสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนเองและประเทศชาติครับ
    

     ขอแนะนำนิดนึง เนื่องจากที่ผ่านๆมา มีนักเรียน นักศึกษาบางส่วน โพสต์ข้อความหรือรูปภาพบางอย่างในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจเข้าข่ายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ได้ จึงขอนำมาฝากครับ

 

     ขอให้ทุกคนรักชาติ และนำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ครับ ทาง seal2thai.org ขอส่งกำลังใจให้ทุกคนครับ



ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่ http://www.seal2thai.org/sara/sara273.htm    free toolbar

 

   ที่มา ครูแชมป์ พิริยะ  ตระกูลสว่าง

ชาว facebook ให้กำลังใจบทความนี้ด้วยนะครับ :)

  ขอบคุณครับที่ทำ link และอ้างอิงมาหาเรา นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่ีกแล้ว

หลุดจากทางบ้าน

ให้คะแนนข้อเขียนนี้ กี่ดาวดีครับ...


 รวมสาระ 
counter Powered by www.seal2thai.org   ดินแดนปัญญาชน