|
ถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิ์อะไรบ้าง
|
คุยเท่าที่รู้
กับครูแชมป์ SEAL2thai.org |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ให้กำลังใจเว็บ
SEAL2thai ด้วยนะจ๊ะ |
|
ประชาธิปไตย
คือการเคารพเสียทุกเสียง
(อย่าลืมให้
like
บทความนี้
ด้านท้ายบทความด้วยนะครับ)
ประชาชนชาวไทย มีหน้าที่ออกไปใช้สิทธิ์
และการเสียภาษี
|
ถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิ์อะไรบ้าง
ในวันที่เขียนบทความนี้
เป็นวันที่สังคมไทยกำลังเกิดความคิดต่างกันเป็น 3 ฝ่าย
ฝ่ายแรกจะออกไปเลือกพรรคที่ตนรัก ตนชอบ ฝ่ายที่สอง
จะออกไปใช้สิทธิ์แต่ไม่เลือกใคร (ไม่ประสงค์ลงคะแนน)
ฝ่ายที่สามคือฝ่ายที่ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยประการต่างๆ
ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายไหน
เราทุกคนก็ต้องเคารพเสียงของกันและกัน แม้ว่าในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่า
สังคมได้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายได้อย่างชัดเจน
น่าแปลกที่เราต่างเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย"
แต่เรากลับไม่เคารพความเห็นที่แตกต่างของคนอื่นๆบ้างเลย
หรือสังคมกำลังสับสนสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น
หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรงอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หรือ กกต. ให้ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
รวมถึงสิทธิ์ที่เสียไปหากไม่ได้ไปเลือกตั้งดังต่อไปนี้
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมในรูปแบบของกลุ่มผลประโยชน์
การรวมตัวกันของบุคคลเป็นกลุ่มบุคคลหรือองค์กรในสังคม
มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเท่านั้น
โดยไม่มีเป้าหมายที่จะเข้าไปเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศแต่อย่างใด
สำหรับเป้าหมายของแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันไป
บางกลุ่มอาจเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามสิ่งที่กลุ่มตนต้องการ เช่น
การเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ราคาพืชผลการเกษตร
หรือเพื่ออำนวยความสะดวกแก่กลุ่มของตน
หรืออาจเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำนโยบายหรือโครงการที่กลุ่มตนจะได้เป็นโยชน์
เป็นต้น
การมีส่วนร่วมในรูปแบบของพรรคการเมือง
การรวมกลุ่มของบุคคลที่มีความเชื่อทางการเมืองคล้ายคลึงกัน
มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหาร
นิติบัญญัติ
อย่างไรก็ตามการเข้ามารวมตัวกันในรูปแบบพรรคการเมืองยังมีเป้าหมายอื่นอีกเช่น
การให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน การดูแลและรักษาผลประโยชน์ของส่วนร่วม
การสร้างผู้นำทางการเมือง การควบคุมและติดตามตรวจสอบทางการเมือง ฯลฯ
ในส่วนของประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองได้ เช่น
การสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
การบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรมของพรรคการเมือง
การช่วยรณรงค์หาเสียงในช่วงที่มีการเลือกตั้ง เป็นต้น
การมีส่วนร่วมในรูปแบบของการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ถือเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมที่สำคัญของการบริหารประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
แต่สิ่งที่ควรตระหนักคือ
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากไม่ได้หมายความถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ
หากแต่การใช้สิทธิเลือกตั้งในรูปแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ต้องมีลักษณะดังนี้
การใช้สิทธิโดยอิสระ
คือ
การใช้สิทธิเลือกตั้งจะต้องเกิดจากความสมัครใจ
ไม่ได้เกิดมาจากการบังคับหรือข่มขู่หรือสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การเลือกตั้งโดยลับ
การออกเสียงต้องกระทำแต่เพียงลำพัง โดยไม่มีผู้อื่นอยู่ร่วมด้วย
หรือสามารถล่วงรู้ได้ว่าผู้มีสิทธิเลือกผู้สมัครคนใดหรือออกเสียงอย่างไร
การออกเสียงเลือกตั้งของบุคคล ไม่สามารถประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปได้
ความเสมอภาคในการเลือกตั้ง
บุคคลแต่ละคนมีสิทธิออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียงเท่านั้น
ความเป็นกลาง
บุคคลที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับในการเลือกตั้งทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม
ไม่ลำเอียงเข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
การมีส่วนร่วมในรูปแบบของการแสดงออก
บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การเขียน การพูด
การโฆษณา การพิมพ์ซึ่งการแสดงออกเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของการวิพากษ์
วิจารณ์ตามสื่อต่าง ๆ
รัฐบาลต้องไม่ขัดขวางหรือห้ามปรามการแสดงออกของประชาชน
รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นก่อนลงมือดำเนินการทำกิจการใดที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชน
รวมทั้งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
การมีส่วนร่วมถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
ประชาชนต้องตระหนักว่า
ตนเป็นเจ้าของประเทศและต้องเข้าไปรับผิดชอบในกิจการของบ้านเมืองในทุกโอกาสที่สามารถกระทำได้
ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย และควรส่งเสริมคนดีให้เข้ามาบริหารบ้านเมือง
การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ ส.ส. 28
หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้
และให้ระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
- ด้วยตนเอง
- มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
- ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
-
ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100
กิโลเมตร
- ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
การเสียสิทธิ 3 ประการ
หากไม่ได้ไปเลือกตั้ง
ผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุอันสมควรจะเสียสิทธิ
ดังนี้
- สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
-
สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส.
ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
- สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
สิทธิทั้ง 3 ประการ
จะได้กลับคืนมาก็ต่อเมื่อไปใช้สิทธิการเลือกตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือท้องถิ่น
ใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว
อย่าลืมทำหน้าที่แจ้งเงินได้ประจำปีเพื่อภาษีด้วยนะครับ แม้รายได้จะได้ถึง
150,000 บาท ก็ตาม ก็ต้องแจ้งว่าตนเป็นผู้มีเงินได้ครับ ถึงจะเรียกว่า
เป็นผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยที่แท้จริงครับ
สำหรับรายได้ 8
ประเภทที่ต้องเสียภาษีมีอะไรบ้าง คลิกดูได้ที่ link
ได้เลยครับ
ขอแนะนำนิดนึง
กับเพลงที่มีเนื้อหาดีๆของละครชุดลูกไม้ของพ่อ
ละครที่สร้างจากคำสอนของในหลวงที่ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆครับ
ขอให้ทุกคนรักชาติ
และนำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ครับ ทาง seal2thai.org
ขอส่งกำลังใจให้ทุกคนครับ
ขอบคุณครับที่ทำ link
และอ้างอิงมาหาเรา
นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว
|
ให้คะแนนข้อเขียนนี้ กี่ดาวดีครับ... |
|
|
|