ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

 

พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานกล

คุยเท่าที่รู้ กับครูแชมป์  SEAL2thai.org 

 

ปลูกต้นไม้แห่งปัญญา กับ ดินแดนปัญญาชน  

          ดินแดนปัญญาชน           

bullet

[หน้าแรก]
 

bullet

[รวมสาระ]
 

bullet

[web board]
 

bullet

[คุรุชน]
 

bullet

[สอบบรรจุครู]
 

bullet

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

bullet

กรมหลวงชุมพร

 Thailand Travel Memo
 
เรียนพิเศษในพิษณุโลก
 
วงการครู

 ข้อสอบ o-net a-net ผลงาน คศ.3
 ได้รับการสนับสนุนโดย เงินงอกเงย
 เสด็จเตี่ย เรียนพิเศษ   
     บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

     วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย

     หนังสือวิทยาศาสตร์

         

 
 
 
คุยเท่าที่รู้ กับครูแชมป์ ให้กำลังใจเว็บ SEAL2thai ด้วยนะจ๊ะ

พลังงาน (อย่าลืมให้ like บทความนี้ ด้านท้ายบทความด้วยนะครับ)
ทบทวนเรื่องพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานกล กันเถอะ

 


พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานกล

    
ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้

     การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
  
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
  
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
  
3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น

   ทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้
พลังงานศักย์จะสะสมอยู่ในวัตถุที่พร้อมจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ขณะที่พลังงานจลน์เป็นพลังงานที่อยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และตามกฏการอนุรักษ์พลังงานค่าของพลังงานกลจะคงที่
   ดังนั้น
พลังงานกล = พลังงานศักย์ + พลังงานจลน์ เสมอ
เมื่อพลังงานในระบบ (พลังงานกล) คงที่ แล้วพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น พลังงานจลน์จะลดลง แต่ถ้า พลังงานศักย์ลดลง พลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น

ที่เพิ่มเติมคือ พลังงานศักย์ที่พบมาก มี 2 ชนิด
   1. พลังงานศักย์โน้มถ่วง เกิดจากพลังงานที่สะสมไว้ในวัตถุที่อยู่สูงขึ้นไป
กล่าวง่ายๆ คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุเมื่อเราทำให้มันอยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าเดิม เช่นยกก้อนหินขึ้นข้างบนก็จะมีพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น
(Ep = mgh เมื่อ Ep คือพลังงานศักย์ m คือมวลของวัตถุ g คือความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก และ h คือระดับความสูง)
เมื่อทิ้งก้อนหินลงมาพลังงานศักย์จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานจลน์ โดยเพิ่มความเร็วขึ้นครับ (Ek = 1/2 m v^2 เมื่อ Ek คือพลังงานจลน์
m คือมวลของวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ) ดังนั้นเมื่อเรายกวัตถุไว้สูงมากๆ จะตกถึงพื้นแรงกว่าเมื่อยกไว้ต่ำๆ
   2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น เช่นเราดึงสปริงจากจุดสมดุล ยิ่งดึงแรงมากความยาวของสปริงที่ห่างจากสมดุลก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
(พลังงานศักย์)มาก (Ep = -kx เมื่อ Ep คือพลังงานศักย์ k คือค่าคงตัวของสปริง คือสปริงอ่อนหรือแข้งนั่นเอง และ x คือระยะที่ยืดออก)

     หมั่นทบทวน และทำแบบทดสอบกันบ่อยๆนะครับ น้องๆก็จะประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้นะครับ  seal2thai.org เชื่อว่า ทุกคนทำได้ครับ



ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่ http://www.seal2thai.org/sara/sara249.htm    free toolbar

 

   ที่มา ครูแชมป์ พิริยะ  ตระกูลสว่าง

ชาว facebook ให้กำลังใจบทความนี้ด้วยนะครับ :)

  ขอบคุณครับที่ทำ link และอ้างอิงมาหาเรา นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่ีกแล้ว

หลุดจากทางบ้าน

ให้คะแนนข้อเขียนนี้ กี่ดาวดีครับ...


 รวมสาระ 
counter Powered by www.seal2thai.org   ดินแดนปัญญาชน