วันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ
World Environment Day
นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก
จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่
5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ
โดยเรียกการประชุมนี้ว่า
"การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์"
หรือ "UN Conference on the Human Environment"
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ
รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ
องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ
กำลังเผชิญอยู่
ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง
เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP:
United Nations Environment Programme)
ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น
ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน
ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ
จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม
องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน
ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม
และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี
และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้
-
สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม
และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป
-
ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
-
เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
นอกจากนั้น
ยังมีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน
ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม
และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535
ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น
3 หน่วยงาน คือ
1.กรมควบคุมมลพิษ
2
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
และในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในหลายๆ
มหาวิทยาลัย
ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งสื่อมวลชนก็ได้ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ซึ่งวันสิ่งแวดล้อมโลกในแต่ละปีก็จะมีหัวข้อที่ต่างกันออกไป
พ.ศ.
2528 เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม (Youth, Population
and Environment)
พ.ศ. 2529
ต้นไม้เพื่อสันติภาพ (A Tree for Peace)
พ.ศ. 2530 (Public
Participation,Environment Protection and Sustainable
Development)
พ.ศ. 2531
การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (When people put the environment
first,development will last)
พ.ศ. 2532
ภาวะโลกร้อน (Global Warming,Global Warming)
พ.ศ. 2533 เด็ก
และสิ่งแวดล้อม (Children and the Environment (Our
Children,Their Earth))
พ.ศ. 2534
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change : Need for
Global Partnership)
พ.ศ. 2535 (Only
One Earth : Care and Share)
พ.ศ. 2536 (Poverty
and the Environment : Breaking the Vicious Circle)
พ.ศ. 2537
โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน (One Earth, One Family)
พ.ศ. 2538 ประชาชน
เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก (We The Peoples,United
for the Global Environment)
พ.ศ. 2539 รักโลก
: ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา (Our Earth, Our Habitat,Our Home)
พ.ศ. 2540
เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก (For Life one Earth)
พ.ศ. 2541
เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน (For Life on Earth "Save
our Seas")
พ.ศ. 2542 รักโลก
รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม ("Our Earth,Our Future...Just
Save It")
พ.ศ. 2543 ปี 2000
สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก
เพื่อเรา (2000 The Environment Millennium :Time to Act)
พ.ศ. 2544
เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต (CONNECT with
the World Wide Web of Life)
พ.ศ. 2545
ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต (Give Earth a Chance)
พ.ศ. 2546
รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน (Water - Two
Billion People are Dying for it!)
พ.ศ. 2547
ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย (Wanted! Sea and Oceans -
Dead or Live?)
พ.ศ. 2548
เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก (GREEN CITIES PLAN
FOR THE PLANET!)
พ.ศ. 2549
เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ (DON T DESERT DRYLANDS!)
พ.ศ. 2550
ลดโลกร้อน ด้วยชีวิตพอเพียง (MELTING ICE-A HOT TOPIC)
พ.ศ. 2551
ลดวิกฤติโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด
สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Co2 Kick the Habit ! Towards a
Low Carbon Economy)
พ.ศ.
2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน (Your Planet
Needs You - Unite to Combat Climate Change)
พ.ศ. 2553 ความหลากหลายทางชีวภาพ
กู้วิกฤติชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)