6Q สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ดินแดนปัญญาชนขอนำเสนอแนวความคิดที่ต้องการพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนดีมีคุณธรรม
มีความรู้ และมีความสุข ซึ่งทางหลักสูตรสถานศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดไว้
IQ :
Intelligence Quotient
ความฉลาดทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การคำนวณ
การใช้เหตุผล การเชื่อมโยง ปัจจัยที่มีผลต่อ IQ
ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือพันธุกรรม
ส่วนที่สามารถควบคุมได้ คือภาวะโภชนาการ สภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสม
จะเห็นว่าเราควบคุม IQ ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต่างจาก Q อื่นๆ
ซึ่งควบคุมได้ง่ายกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูโดยตรง
ปัจจุบันนักวิจัยยืนยันว่า IQ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิต เช่น
การทำงาน การเรียนแค่ 20% เท่านั้น
EQ : Emotional Quotient
ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ตนเองและผู้อื่น
สามารถควบคุมอารมณ์และยับยั้งชั่งใจตนเองและแสดงออกอย่างเหมาะสม
รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักรอคอย รู้จักกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย
มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม
สถานการณ์รอบข้างได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือร้น มีแรงจูงใจ
อยากประสบความสำเร็จ เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง
รายงานการศึกษาหลายชิ้นสรุปตรงกันว่า
คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและอาชีพการงาน
ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปล้วนแต่มี EQ ดีทั้งสิ้น
และสิ่งที่น่าดีใจก็คือ EQ สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาขึ้นได้
ด้วยเหตุนี้คนจึงหันมาให้ความสำคัญกับ EQ กันมาก ว่ากันจริงๆ แล้ว EQ
ค่อนข้างกว้างมาก น่าจะเป็นหัวข้อใหญ่ที่ครอบคลุม Q ต่างๆ ได้ทั้งหมด
และพ่อแม่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะลงรายละเอียดในประเด็นต่างๆ มากน้อยแค่ไหน
เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่พอพูดถึง EQ
ก็มักจะมุ่งไปที่การเป็นเด็กอารมณ์ดีซะมาก
จนอาจมองข้ามรายละเอียดบางข้อที่มีประโยชน์กับเด็ก เช่น
การปลูกฝังกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย
เด็กจะสามารถควบคุมตัวเองได้ต่อเมื่อพ่อแม่ฝึกระเบียบวินัยให้
รู้จักควบคุมลูก พูดง่ายๆ คือไม่ตามใจในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ซึ่งพบความสัมพันธ์ว่า เด็กที่พ่อแม่สอนเรื่องระเบียบวินัยดีๆ
มักจะเป็นเด็กซึ่งมี EQ ดีตามมา
CQ : Creativity Quotient
ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิด จินตนาการหรือแนวคิดใหม่ๆ
ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่น งานศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งของ CQ
จะสัมพันธ์กับเรื่องการเล่น
ถ้าเด็กได้เล่นอย่างอิสระตามความชอบและเหมาะกับวัย
เด็กก็จะมีความคิดสร้างสรรค์
การปลูกฝังเรื่องนี้จึงอยู่ที่พ่อแม่มีเวลาเล่นและทำกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการกับลูก
เช่น การเล่นศิลปะ การหยิบจับของใกล้ตัวมาเป็นของเล่น การเล่านิทาน เป็นต้น
MQ : Moral Quotient
ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม คือมีความประพฤติดี รู้จักผิดชอบ
มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีจริยธรรม
เป็นแนวคิดที่มุ่งตอบคำถามว่าการที่เรามีคนที่ IQ ดี EQ สูง
แต่ถ้ามีระดับคุณธรรมจริยธรรมต่ำก็อาจใช้ความฉลาดไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เป็นได้
MQ จึงเน้นเรื่องการปลูกฝังความดีงามให้กับเด็ก
ซึ่งตรงกับหลักศาสนาหลายศาสนาที่สอนให้คนเป็นคนดี เด็กที่มี MQ
ดีมักเป็นเด็กเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและเมื่อโตขึ้นจะเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
การที่เด็กจะมี MQ เกิดขึ้นได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการที่เด็กรู้จักถูกผิด
สิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ ซึ่งจะใช้วิธีการบอกด้วยคำพูดอย่างเดียวไม่ได้
ต้องแสดงให้เด็กเห็นอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการสอนด้วยจึงจะได้ผล
PQ : Play Quotient
ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น
เกิดจากความเชื่อที่ว่าการเล่นพัฒนาความสามารถของเด็กได้หลายด้าน
ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และสังคม
PQ จึงเน้น ให้พ่อแม่เล่นกับลูก
ถึงกับมีคำพูดที่ว่าพ่อแม่เป็นอุปกรณ์การเล่นที่ดีที่สุดของลูก
การที่พ่อแม่ให้ลูกขี่คอ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนหา เล่านิทาน
สามารถสร้างเสริมพัฒนาลูกได้ดีกว่าของเล่นพัฒนาการแพงๆ
เพราะนอกจากพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว
ลูกยังได้รับความรู้สึกอบอุ่น มีความสุขไปพร้อมกับคำสอน หลักคิดต่างๆ
ที่สอดแทรกระหว่างที่เล่นด้วย
AQ : Adversity Quotient
ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา
คือมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี
และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหา เอาชนะอุปสรรคความยากลำบากด้วยตัวเอง
ไม่ย่อท้อง่ายๆ
แบบนี้ สมาชิกดินแดนปัญญาชน
ก็มีส่วนร่วมในการปกป้องของหลวง ปกป้องข้อมูลอันสุดหวง
(ทั้งวิจัยในชั้นเรียน ทั้งผลงาน คศ.3 ชำนาญการพิเศษ สำคัญทั้งนั้น)
ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่
http://www.seal2thai.org/sara/sara206.htm
free toolbar
ที่มา
รักลูก
ขอบคุณครับที่ทำ link
และอ้างอิงมาหาเรา
นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว
ขอเชิญร่วมโครงการ ธรรมเทค |