พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน
เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง " เศรษฐกิจพอเพียง "
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจของทุกอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540
ซึ่งต่อมาได้มีการนำแนวความคิดไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่า
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งแท้จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น
ก็สามารถนำเอาแนวพระราชดำรัสไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น
"ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม้ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป
เพราะหากขนาดใหญ่เกินไป
ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาผลิตสินค้า
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ในประเทศไทยก่อน
เพื่อให้ไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน
ผู้ที่เป็นเกษตรกร หากมีความพอประมาณในใจตน ไม่นึกแต่จะซื้อรถคันใหม่
หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกอยู่ร่ำไป ก็จะมีความสุข"
เศรษฐกิจพอเพียง
จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีชีวิตแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์
โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และมีใจตนเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือวิถีชีวิตไทย ที่ยึด
ทางสายกลาง ของความพอดี
ทฤษฎีใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงค้นคิดวิธีการที่จะช่วยเหลือราษฎรด้านการเกษตร
โดยทรงมีแนวทางให้เกษตรกรจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30 : 30 : 30 : 10
คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่และพืชสวน 30
สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวนหรือเลี้ยงสัตว์ 10 โดยมีหลักการ 3 ขั้น คือ
ขั้นตอนที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวได้บนพื้นฐานของการประหยัด
และจำกัดการใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม การผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้ง
ด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม
ขั้นตอนที่ 3
สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย
โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน
การตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล
หลักการพึ่งตนเอง
ต้องมีความพอดี 5 ประการ
1. ความพอดีด้านจิตใจ
ต้องเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร
และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
2. ความพอดีด้านสังคม
ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง
และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
และใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง
เพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน
การปฏิบัติตนตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ดังพระราชดำรัสว่า
"....ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง..."
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต ดังพระราชดำรัสว่า
"....ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ
และการหาเลี้ยงชีพของตนเองเป็นหลักสำคัญ..."
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ ดังพระราชดำรัสว่า
"....ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง
ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนา และการกระทำ
ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...."
4. ขวนขวายใฝ่หาความรู้ ดังพระราชดำรัสว่า
"...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้
และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า
ที่มีความสุข พอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไปก็คือ
ให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งยั่วกิเลศให้หมดสิ้นไป
ดังพระราโชวาทว่า "...พยายามไม่ก่อความชั่ว ให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น
พยายามลด พยายามละ ความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ
พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น..."
ขอบคุณครับที่ทำ link
มาหาเรา
|