ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

 

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภาคปฏิวัติ

การเมืองภาคประชาชน เสรีไทย ในเว็บ

 

ปลูกต้นไม้แห่งปัญญา กับ ดินแดนปัญญาชน  

          ดินแดนปัญญาชน           

bullet

[หน้าแรก]
 

bullet

[รวมสาระ]
 

bullet

[webboard]
 

bullet

[คุรุชน]

 
bullet

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

 เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
 
เรียนพิเศษในพิษณุโลก
 
วงการครู
ขนมจีน

 ข้อสอบ o-net a-net

       
    
บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

         

     
  ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ได้เกิดเหตุการณ์หลายอย่างขึ้น ทั้งที่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ พี่น้องคนไทยเข่นฆ่ากันเอง และแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในทางที่ดี

  มีคนกล่าวไว้ว่า ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หากผู้กระทำเป็นผู้ชนะ เราก็จะเรียกว่า การรัฐประหาร แต่ถ้าแพ้ ก็จะถูกตราหน้าว่ากบฏ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การรัฐประหาร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอำนาจ หาใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ เพราะการปฏิวัติ หรือการผลัดแผ่นดินของประเทศไทย เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

ปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

การปฏิวัติ พ.ศ. 2475

ก่อนที่รัชกาลที่ 7 จะได้ทรงดำเนินการเกี่ยวกับการจัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นก็ได้มีการปฏิวัติทางการเมืองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ล้มเลิกระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช การปฏิวัติครั้งนี้ที่จริงก็ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรก เพราะสมัยรัชกาลที่ 6 นายทหารชั้นผู้น้อยได้คบคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว แต่ข่าวรั่วไหล ผู้คบคิดถูกจับได้เสียก่อน

สำหรับการปฏิวัติปี พ.ศ. 2475 นั้น ผู้เข้าร่วมการปฏิวัติได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2467 โดยเริ่มก่อตัวจากคนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคงจะเริ่มต้นจากากรคุยกันของบางคน และเมื่อมีความเห็นคล้ายกันมากขึ้น ก็ได้จัดให้มีการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คนโดยใน 7 คนนี้มี 2 คน ซึ่งต่อมาจะเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย คือ ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (ภายหลังคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) และนายปรีดี พนมยงค์ การประชุมมีขึ้น ณ ที่พักของ ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี หลังจากการประชุมกันแล้วก็มีการหาสมาชิกเพิ่มโดยชวนนักเรียนไทย ที่เรียนอยู่ในประเทศต่าง ๆ ของทวีปยุโรปและคนไทยที่เดินผ่านมาและเมื่อคนเหล่านี้นี้สำเร็จการศึกษากลับมาประเทศไทยก็ได้ชักชวน คนอื่น ๆ เพิ่มเติมจนในที่สุดก่อตัวเป็นคณะปฏิวัติเรียกตัวเองว่า คณะราษฎรมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 99 คน โดยมีสายทหารบก 32 คน สายทหารเรือ 21 คน และสายพลเรือน 46 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้

สายทหาร

1.นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
หัวหน้าสายทหารบก
(พจน์ พหลโยธิน)

2.นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช
(เทพพันธุมเสน)
3.นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
4.นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ (วันชูถิ่น)
5.นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
6.นายพันตรี หลวงสฤษฎิ์ยุทธศิลป์ (เพียร พิริยะโยธิน)
7.นายพันตรี หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล)
8.นายร้อยเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)
9นายร้อยเอก หลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง)
10.นายร้อยเอก เกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ)
11.นายร้อยเอก หลวงชาญสงคราม (พาน ชาลีจันทร์)
12.นายร้อยเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)
13.นายร้อยเอก หลวงทัศไนยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)
14.นายร้อยเอก หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลชีวิน)
15.นายร้อยเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนพินทุ)
16.นายร้อยเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์)
17.นายร้อยเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล)
18.นายร้อยเอก หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ)
19.นายร้อยโท ขุนสุจริตรณการ (ผ่องนาคะนุช)
20.นายร้อยโท ขุนจำนงภูมิเวท (จำนง ศิวะแพทย์)
21.นายร้อยโท ขุนนิรันดรชัย (สเหวก นีลัญชัย)
22.นายร้อยโท ขุนพิพัฒน์สรการ (เท้ง พัฒนศิริ)
23.นายร้อยโท ขุนปลดปรปักษ์ (ปลด ภาณุสะวะ)

24.นายร้อยโท ขุนเรืองวีรยุทธิ์ (บุญเรือง วีระหงส์)
25.นายร้อยโท ขุนวิมลสรกิจ (วิมล เก่งเรียน)
26.นายร้อยโท ขุนศรีศรากร (ชะลอ ศรีศรากร)
27.นายร้อยโท ไชย ประทีปะเสน
28.นายร้อยโท วิชัยขัทคะ
29.นายร้อยโท น้อม เกตุนุติ
30.นายร้อยตรี จำรูญ จิตรลักษณ์
31.นายร้อยตรี สมาน เทพสหัสดิน ณ อยุธยา
32.นายร้อยตรี อุดม พุทธิเกษตริน

.

สายทหารเรือ

1.นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย
หัวหน้าสายทหารเรือ (สินธุ์ กมลนาวิน)
2.นายนาวาตรี หลวงศุภชลาลัย (บุง ศุภชลาชัย)
3.นายพันตรี หลวงวิจักรกลยุทธ (เศียร สู่ศิลป์)
4.นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)
5.นายเรือเอก หลวงนาวาวิจิต (ผัน อำไพวัลย์)
6.นายเรือเอก หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา)
7.นายเรือเอก หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ)
8.นายเรือเอก สงบ จรูญพร
9.นายเรือเอก ชลิต กุลกำม์ธร
10.นายเรือเอก สงวน รุจิราภา
11.นายเรือโท จิบ ศิริไพบูลย์
12.นายเรือโท ทองหล่อ ขำหิรัญ
13..นายเรือโท ทิพย์ ประสานสุข
14.นายเรือโท ประเสริฐ สุขสมัย
15..นายเรือโท วัน รุยาพร
16..นายเรือโท หลี สินธุโสภณ
17..นายเรือตรี กุหลาบ กาญจนสกุล
18..นายเรือตรี ชั้น รัศมิทัต
19..นายเรือตรี ทองดี ระงับภัย
20.นายวนิช ปานะนนท์
21.นายจำรัส สุวรรณชีพ


สายพลเรือน

1.อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
หัวหน้าสายพลเรือน (ปรีดี พนมยงค์)
2.อำมาตย์ตรี หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)
3.รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
4.เสวกตรี หลวงนฤเบศร์มานิตย์ (สงวน จูฑะเตมีย์)
5.รองอำมาตย์เอก หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
6.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น ลีละเมียร)
7.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถกิติกำจร (กลึง พนมยงค์)
8.รองอำมาตย์เอก หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
9.รองอำมาตย์เอก หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (ม.ล. กรี เดชาติวงศ์)
10.รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม
11.รองอำมาตย์เอก ประจวบ บุนนาค
12.รองอำมาตย์เอก ม.ล.อุดม สนิทวงศ์
13.นายแนบ พหลโยธิน
14.รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ
15.นายร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี
16.นายวิลาศ โอสถสถานนท์
17.รองอำมาตย์โท จรูญ สืบแสง
18.นายเล้ง ศรีสมวงศ์
19.นายดิเรก ชัยนาม
20.นายวิเชียร สุวรรณทัต
21.รองอำมาตย์โท ชุณห์ ปิณฑานนท์
22.นายสวัสดิ์ โสตถิทัต
23.นายจิตตะเสน ปัญจะ
24.นายยงค์ เยอร์เกนส์
25.นายเอก สุถโปฎก
26.นายสุรินทร์ ชิโนทัย
27.นายศิริ ชาตินันทน์
28.นายเฉลียว ปทุมรส
29.นายบรรจง ศรีจรูญ
30.นายประเสริฐ ศรีจรูญ
31.นายแช่มมุสตาฟา
32.นายการิม ศรีจรูญ
33.นายสงวน ตุลารักษ์
34.นายชิม วีระไวทยะ
35.นายหงวน ทองประเสริฐ
36.นายบุญล้อม พึ่งสุนทร36
37.นายเจริญ ปัณฑโร
38.นายทองเปลว ชลภูมิ
39.นายบุญเจือ อังศุวัฒน์
40.นายชุบ ศาลยาชีวิน
41..นายกลิ่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
42.นายสอน บุญจูง
43.นายยล สมานนท์
44.นายยิน สมานนท์
45.นายร้อยตำรวจโท เชย กลัญชัย
46.นายร้อยตรี เที่ยง เฉลิมศักดิ์


.

ดูรายชื่อแล้วจะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่อยู่ระดับกลาง และระดับล่าง ฝ่ายทหารบกนั้นยศสูงสุดคือพันเอก ทหารเรือยศสูงสุดคือนาวาตรี ส่วนพลเรือนนั้นมีบรรดาศักดิ์สูงสุดคือ หลวงไม่มีพระหรือพระยาเลย

คนที่สำคัญที่สุดที่เป็นมันสมองของการปฏิวัติก็คือ

(1) พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อายุ 44 ปี

(2) พันเอกพระยาทรงสุรเดช อายุ 41 ปี

(3) พันตรีหลวงพิบูลสงคราม อายุ 35 ปี

(4) ดร.ปรีดี พนมยงค์ อายุ 32 ปี

คณะปฏิวัติได้เริ่มทำการตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 กำลังทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน โดยนัดรวมพลกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คณะปฏิวัติได้แยกย้ายกันไปเชิญตัวเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มาคุมตัวไว้เป็นประกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ก็เช่นเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ควรพินิต เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็เช่น พลโท พระยาสีหราชเดโชชัย เสนาธิการทหาร พลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประกาศอธิบดีกรมตำรวจภูธร เป็นต้น ซึ่งการกระทำการในวันนั้นเกิดการบาดเจ็บเพียงรายเดียวคือ พลตรี พระยาเสนาสงครามผู้บัญชากองพลที่ 1 รักษาพระองค์ พยายามขัดขืนเมื่อถูกทหารฝ่ายปฏิวัติไปเชิญตัวและถูกยิงที่ขาบาดเจ็บ

ฝ่ายปฏิวัติหรือคณะราษฎร์ได้ตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารขึ้นมาประกอบด้วย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ ซึ่งเวลามีประกาศหรือแถลงการณืทั้ง 3 ท่าน ก็ลงนามร่วมกันเป็นตัวแทนของคณะราษฎร์ทั้งหมด คณะราษฎร์ได้ส่งตัวแทนไปกราบบังคมทูลเชิญรัชกาลที่ 7 ให้เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร โดยกราบทูลว่า คณะราษฎร์ไม่ประสงค์ที่จะแย่งชิงราชสมบัติเพียงแต่จะให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยให้รัชกาลที่ 7 เป็นกษัตริย์ต่อไป ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินหรือที่จะเรียกต่อมาว่ารัฐธรรมนูญ รัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงคิดเรื่องจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนอยู่แล้วก็ไม่ได้คิดรวมคนเพื่อต่อสู้ ยอมเสด้จกลับมายังกรุงเทพมหานคร โดยถึงกรุงเทพ ตอน 1.00 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475

หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จกลับมาแล้วในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ก็ได้จัดให้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อนเพื่อรอร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรกนี้มีชื่อว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวนี้ ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสิ้นสุดลง เพราะธรรมนูญชั่วคราวนี้ได้ การจัดตั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารขึ้นมาโดยไม่ขึ้นกับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป

กล่าวคือ ในฝ่ายนิติบัญญัตินั้นระบุว่าให้คณะราษฎร ซึ่งมีคณะผู้รักาาพระนครฝ่ายทหารเป้นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย
ส่วนฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐบาลนั้นให้สภาเป็นผู้เลือกสมาชิกสภา 14 คนเพื่อเป็นกรรมการ โดยกรรมการ 14 คนนี้ ประธานคณะกรรมการราษฎรเลือกแล้วก็ต้องให้สภาเห็นชอบด้วย ประธานคณะกรรมการราษฎร์นี้ อำนาจก็เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและกรรมการ 14 คนก็คือ รัฐมนตรี 14 คนนั่นเอง

หลังจากมีธรรมนูญการปกครองชั่วคราวและรัฐบาลชั่วคราวแล้ว คณะราษฎร์ก็ได้ตั้งอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นมา เมื่อเสร็จแล้วก็นำขึ้นทูล เกล้าถวายรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ทั้งนี้รัฐบาลของพระยามโนฯ ได้ลาออก จากตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกนี้เปลี่ยนชื่อประธานคณะกรรมการราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการราษฎรเป็นคณะรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปใน 2 สาระสำคัญ คือ

1. สมาชิกสภานิติบัญญัตินั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของราษฎรทั้งหมดแต่กำหนดให้มาจากการเลือกตั้งเพียงครึ่งเดียว

กล่าวคือ ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดว่าเมื่อราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งยังไม่จบประถมศึกษามากกว่ากึ่งจำนวนทั้งหมดก็ให้มีสมาชิกสภา 2 ประเภท ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งของราษฎร และประเภทที่2 มาจาการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ โดยสมาชิกทั้ง 2 ประเภทนี้มีจำนวนเท่ากัน

ทั้งนี้บทเฉพาะกาลได้กล่าวด้วยว่าการมีสมาชิกแต่งตั้งนี้จะมีได้ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว คือวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475

การเขียนว่าให้สมาชิกประเภท 2 มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์นี้เป็นการเขียนที่กำกวมเพราะเมื่อถึงเวลาแต่งตั้งรัฐบาลก็ได้ถวายชื่อให้แก่รัชกาลที่ 7เพื่อทรงลงพระปรมาภิ?ธยแต่งตั้งเท่านั้น ไม่ใช่รัชกาลที่ 7 เป็นผู้เลือกสมาชิกประเภท 2 ด้วยพระองค์เอง

2. ไม่มีข้อกำหนดว่าให้ประชาชนมีเสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองที่ประหลาดอีกประการหนึ่งก็คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้กำหนดว่าจะให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาประเภทที่ 1 (ราษฎรเลือก) เมื่อใดแต่กลับมีบทเฉพาะกาลกล่าวว่า

?ในระหว่าง ตั้งแต่ใช้รัฐธรรมนูญน้จนกว่าสมาชิกตามมาตรา 65 นั้นจะเข้ารับหน้าที่แล้ว ท่านว่าสภาผู้แทนราษฎรคงประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีอยู่แล้วโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475?

ซึ่งก็หมายความว่าให้สมาชิกแต่งตั้งชุดแรก 70 คนนั้น ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติไปก่อนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งซึ่งไม่กำหนดว่าเมื่อใด

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่วันที่ 10 ธันวาคม ก็ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ตั้งพระยามโนฯ เป็นนายกรัฐมนตรีอีก พระยามโนฯได้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีตัวท่านเองเป็นนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอีก 6 ท่าน ซึ่งมิใช่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีรัฐมนตรีลอยอีก 11 ท่าน ซึ่งเป็นคนของคณะผู้ก่อ การฯหรือคณะราษณ์ 9 คน ซึ่งใน 4 คนมีคนสำคัญ 4 คนอยู่ด้วยคือ พระยาพหลฯ พระยาทรงฯหลวงพิบูลฯ และหลวงประดิษฐ์ฯ

ในช่วงการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของพระยามโนฯ นี้เอง ดร.ปรีดี พนมยงค์หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจขึ้นมา เค้าโครงเศรษฐกิจขึ้นมา เค้าโครงเศรษฐกิจนี้ถูกโจมตีว่าเป็นแนวความคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งประเทศรัสเซียได้นำไปใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ซึ่งดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้ชี้แจงว่า ??โปลิซีของข้าพเจ้านั้นเดินแบบโซเซียลิสต์ ผสมลิเบอราล? ซึ่งหมายถึงว่านโยบายของท่านนั้นเป็นแบบสังคมนิยมผสมเสรีนิยม

เค้าโครงเศรษฐกิจของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นำไปสู่ความแตกแยกระหว่างรัฐบาลฝ่ายหนึ่งและคณะราษฎร์ ซึ่งขณะนั้น พระยาพหล ฯ และหลวงพิบูลฯ อยู่ข้างดร.ปรีดีฯ ส่วนพระยาทรงฯ นั้นโน้มเอียงไปทางพระยามโนฯ สมาชิกรัฐสภาก็มีความคิดแตกกันเป็น 2 ฝ่าย คือมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจของดร.ปรีดีฯ

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 พระยามโนฯ ได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภายุบคณะรัฐมนตรี จัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ ในพระราชกฤษฎีกานี้ยังระบุด้วยว่าให้งดใช้รัฐธรรมนูญในนมาตราที่ขัดกับพระราชกฤษฎีกานี้

วันต่อมาจากที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาคือวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2476 ก็ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ปี พ.ศ. 2476 ซึ่งระบุโทษแก่ผู้สนับสนุนการส่งเสริมความเป็นคอมมิวนิสต์ หรือสนับสนุนส่งเสริมลัทธิคอมมิวนิสต์มีด้วยวาจาหือลายลักษณ์อักษรหรือเอกสารตีพิมพ์หรืออุบายใด ๆ

ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 รัฐบาลของพระยามโนฯ ให้ดร.ปรีดี พนมยงค์เดินทางไปพักผ่อนอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเท่ากับเนรเทศออกไปนอกประเทศนั่นเอง

ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระยาพหล ฯ ก็เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีพ.ท. หลวงพิบูลสงครามเป็นกำลังสำคัญยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนฯซึ่งการยึดอำนาจครั้งนี้สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. คณะผู้ยึดอำนาจเรียกคณะของตนว่า คณะทหารบกทหารเรือและพลเรือน ไม่เรียกว่าคณะราษฎร และถือได้ว่าเป็นการรัฐประหารครั้งแรกและรัฐบาลของพระยามโนฯ ก็ยอมสละอำนาจแต่โดยดี

2. พระยาพหล ฯ ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น ในคณะรัฐบาลชุดของพระยาพหลฯ ชุดนี้ไม่มีพระยาทรงฯ รวมอยู่ด้วยซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า พระยาทรงฯ เริ่มถูกกันออกนอกวงอำนาจ เพราะนอกจากไม่ได้เป็นรัฐมนตรีแล้ว พระยาทรงฯ และนายทหารฝ่ายพระยาทรงฯ อีก 2 คน คือพระยาฤทธิ์อัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธก็ถูกลดอำนาจในทางทหารด้วย

3. ดร.ปรีดีฯ ได้เดินทางกลับประเทศเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน และได้เข้าร่วมในคณะรัฐบาลของพระยาพหลฯ

การพยายามยึดอำนาจของพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช 11-27 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (ไม่สำเร็จ)

พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แต่ได้ทรงลาออกเสียเมื่อ พ.ศ. 2474 เนื่องจาก ไม่พอพระทัยว่าขอขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการกระทรวงกลาโหมแล้วไม่ได้

คณะของพระองค์เจ้าบวรเดชประกอบด้วยนายทหารคุมกำลังในต่างจังหวัดทั้งทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเข้ามายึดดอนเมืองไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 คณะของพระองค์เจ้าบวรเดชเรียกตนเองว่า ?คณะกู้บ้านเมือง? ได้เรียกร้องให้รัฐบาลปฏิวัติหลายข้อเช่นห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งการเมืองการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐบาลต้องทำโดยรัฐธรรมนูญ การถือความสามารถเป็นหลักในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งการเลือกตั้ง ส.ส. ประเภท 2 ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก นอกจากนั้น ?คณะกู้บ้านเมือง? เรียกร้องให้รัฐบาลพระยาพหลฯ ลาออกด้วย

พระยาพหลฯ ได้ตั้งให้ พ.ท.หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้อำนวยการปราบกบฏการสู้รบดำเนินอยู่จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ฝ่ายรัฐบาลก็ปราบ ?คณะกู้บ้านเมือง? ได้สำเร็จการพยายามยึดอำนาจของพระองค์เจ้าบวรเดชหรือที่เรียกว่ากบฏบวรเดชคราวนี้มีประเด็นสำคัญที่ควรกล่าวถึงดังนี้

1.มีทหารบาดเจ็บล้มตายและทรัพย์สินเสียหายมาก นายทหารชั้นผู้ใหญ่ท่าหนึ่งของฝ่ายกบฏถูกยิงตายในที่รบคือ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม

2.เหตุผลของฝ่ายกบฏเป็นเหตุผลที่ดีเช่นการห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง การแต่งตั้งและถอดถอนรัฐบาลต้องทำตามรัฐธรรมนูญ

3.ทหารเรือประกาศตัวเป็นกลางในการสู้รบ เมื่อการรบจบลงแล้วผู้บัญชาการทหารเรือถูกปลดจากตำแหน่งและรองผู้บัญชาการทหารเรือคือนาวาโทหลวงสุภชลาศัยก็คงถูกปลดจากราชการไปแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้เริ่มแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายทหารเรือ

4.รัฐบาลของพระยาพหลฯ จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 การเลือกตั้งมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 มีสมาชิกสภาทั้งสิ้น 78 คน ส่วนส.ส. ประเภท 2 นั้น พระยาพหลฯ เป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าให้รัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่งตั้ง เป็นส.ส. ประเภท 2 ก็คือคนที่ฝ่ายพระยา พหลฯเป็นผู้คัดเลือกทั้งสิ้น
รัฐบาลของพระยาพหลฯ มีความขัดแย้งกับรัชกาลที่ 7 ในหลาย ๆ เรื่องประกอบกับรัชกาลที่ 7 มีปัญหาที่จะต้องรักษาดวงเนตรพระเนตร จึงได้เสด็จไปรับการรักษายังประเทศอังกฤษ โดยเดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 ระหว่างที่ทรงพำนักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษนั้น รัชกาลที่ 7 ก็ได้เตรียมสละราชบัลลังก์ ซึ่งพอสรุปได้ว่าประเด็นใหญ่ที่สุดก็คือ ดูเหมือนว่าคณะราษฎรจะรวมอำนาจการปกครองที่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์ไว้เสียเอง ไม่ได้ผ่านไปยังราษฎรดังที่กล่าวไว้แต่แรก ซึ่งวิธีการแต่งตั้ง ส.ส. ประเภท 2 ก็เป็นเครื่องชี้อันหนึ่งเพราะคณะราษฎรได้ตั้งบุคคลที่ร่วมอยู่ในคณะราษฎรถึง 47 คนจากจำนวน 78 คน ดังจะเห็นได้จากพระราชบันทึกของพระองค์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ตอน หนึ่งมีข้อความดังนี้

"ข้าพเจ้าได้ยินกล่าวกันว่าเพราะประเทศเรายังไม่คุ้นเคยกับการปรึกษาราชการในสภาฯ จึงควรให้มีสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งเลือกตั้งโดยคุณวุฒิที่เป็นผู้มีวิชาสูงหรือเคยชินกับการงานแผ่นดิน เพื่อเป็นผู้นำทางแก่สมาชิกประเภทที่ 1 ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา หลักการอันนี้พอฟังได้ ถ้าได้ทำกันตามนั้นจริง แต่เมื่อตั้งกันขึ้นมาแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับกลายเป็นเลือกตั้งแต่พวกที่อยู่ในคณะผู้ก่อการเป็นส่วนมาก และความจริงหาได้มีคุณวุฒิหรือความเคยชินกับการงานดีไปกว่าสมาชิกประเภทที่ 1 เลยเมื่อการเป็นดั่งนี้ ก็จำเป็นอยู่เองที่จะมีผู้กล่าวว่าคณะรัฐบาลเลือกตั้งคนเหล่านนั้นเพื่อความประสงค์ที่จะกุมอำนาจไว้ให้ได้เท่านั้น แม้ราษฎรจะเห็นด้วยกับนโยบายของตนหรือไม่ก็ตามที ข้อความในมาตรา 2แห่งรัฐธรรมนูญก็เป็นหมันไปทันที เป็นการเขียนเพื่อตบตา เพื่อหลอกกันเล่นเท่านั้นเอง

ข้าพเจ้าเห็นว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ยังควรมีอยู่จริงแต่ควรกำหนดให้บุคคลมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 และเป็นผู้ที่เคยชินกับการงานมาแล้ว เช่นรับราชการในตำแหน่งสูง ๆ เป็นต้น การเลือกตั้งนั้น ถ้าอย่าให้เป็นบุคคลใดคนหนึ่งเลือกได้จะดีเพราะจะป้องกันไม่ให้มีเสียงได้ว่าเลือกพวกพ้อง เพราะฉะนั้นจำต้องให้ประชาชนเลือกหรือหรือให้บุคคลซึ่งเรียกว่ามีความรู้ ?Intelligentsia? เลือกโดยกำหนดเอาการศึกษาหรือถ้าจะให้ง่ายที่สุดก็ให้บุคคลที่เป็นข้าราชการ หรือเคยเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรเป็นผู้เลือก เพราะบุคคลที่ได้เป็นข้าราชการสัญญาบัตร โดยมากเป็นผู้ที่มีความรู้และเคยชินกับการงาน จะเรียกเป็น ?Intelligentsia? ของประเทศสยามก็จะไม่สู้ผิดนัก ข้าพเจ้าเห็นว่าหนทางนี้เป็นทางตัดข้อคฤหา และความไม่พอใจได้ แต่วิธีการจะเป็นอย่างอื่นใดก็ตาม แล้วแต่ใครจะมีปัญญาหาทางถ้ามีทางดีกว่านี้ ข้าพเจ้าก็จะยินดีรับ ขอแต่ให้พ้นไปจากคำติเตียนว่าเป็นการ ?ตั้งพวก? เพื่อยึดอำนาจไว้ให้จงได้เป็นการผิดหลักผิดทางของลัทธิ ?Democracy? โดยแท้"

รัฐบาลของพระยาพหลกับรัชกาลที่ 7 ได้มีหนังสือโต้ตอบกันหลายฉบับ แต่ในที่สุดรัชกาลที่ ก็ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ดังพระราชหัตเลขาของรัชกาลที่ 7 ดังต่อไปนี้

?ปปร. บ้านโนล

แครนลี ประเทศอังกฤษ

เมื่อพระยาพหลพยุหเสนากับพวก ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหารในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำอัญเชิญนั้นเพราะเข้าใจว่า พระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญ ตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้ในการปกครองตามหลักนั้น เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศและนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลง การปกครองของประเทศสยามให้เป็นไปในรูปนั้น โดยมิให้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียก่อน และเมื่อผู้ก่อการรุนแรงนั้นอ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นควรโน้มตามความประสงค์ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ ข้าพเจ้าได้พยสยสมช่วยเหลือในการที่จะรักษาความสงบราบคาบเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นั้สุดที่จะเป็นไปได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองหาได้กระทำให้บังเกิดความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ จะพึงเห็นได้ว่า อำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการแลัผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้นมิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่นในฉบับชั่วคราวแสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการ จะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ตามคำร้องขอของข้าพเจ้า แต่ก็ยังให้มีสมาชิกซึ่งตนเองข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่งหนึ่ง การที่ข้าพเจ้ายินยอมที่จะมีสมาชิก 2 ประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนี้ จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นพวกใดคณะใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทางให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอาแต่เฉพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเองเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นอกจากนี้คณะผู้ก่อการบางส่วนได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวกันขึ้นเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้อง จนต้องมีการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของคณะรัฐบาลซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้นทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลฯ กับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ 2 และแต่นั้นมาความหวังที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง

เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้กระทำให้มีเสรีภาพในการเมืองอันแท้จริงและประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะดำเนินนโยบายอันสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการกบฏขึ้น ถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย

เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเสียให้เข้ารู้ประชาธิปำตยอันแท้จริงเพื่อเป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุมอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎรมีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายอันสำคัญ มีผลได้เสียแก่พลเมือง รัฐบาลก็ไม่ยินยอมและแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องคำร้องขอต่าง ๆ ของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้และละเอียดอ่อน เสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วนในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รัฐบาลได้ออกกฎหมายใช้วิธีปราบปรามบุคคล ซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทางการเมืองในทางที่ผิดยุติธรรมของโลก คือ ไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับไม่เปิดเผย ซึ่งเป็นวิธีการไม่เคยใช้ในเมื่ออำนาจสิทธิขาดยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเอง และข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เลิกใช้วิธีนี้รัฐบาลก็ไม่ยอม

ข้าพเจ้าเห็นได้ว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการในการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใดใช้วิธีการอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจของข้าพเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช่อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้สิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และข้าพเจ้ารู้สึกบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ หรือให้ความคุ้มครองประชาชนได้อีกต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติ สืบสันตติวงศ์

ข้าพเจ้าไม่มีประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป ตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิจะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐานขอให้ประเทศสยามจงประสบความเจริญและขอให้ประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขสบาย

(พระปรมาภิไธย) ประชาะปก. ปร.
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
เวลา 13 นาฬิกา 45 นาที

เมื่อรัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มาตรา 9 ได้ระบุว่า การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมและได้ลงมติเห็นชอบให้สถาปนาพระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งเท่ากับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ผู้แทนราษฎรมีโอกาสให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการสถาปนาองค์พระมหากษัตริย์แต่ต้องเป็นไปตามกฏมณเฑียรบาล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เมื่อขึ้นครองราชย์พระชนมายุ 10 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งรัฐบาลก็ตั้งบุคคล 3 คนขึ้นเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วยกรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) โดยกรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงเป็นประธาน

ถึงตอนนั้นก็จะเห็นว่าคณะราษฎร์มีอำนาจอย่างมาก นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายคนเป็นสมาชิกคณะราษฎร ส.ส. ประเภท 2 จำนวน 78 คนนั้นเป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 47 คน พวกที่รับราชการทหารก็จะได้เลื่อนตำแหน่งราชการสูงขึ้นเร็ว จนถึงกับมีการกล่าวขวัญกันว่าในการเข้ารับราชการไม่มีอะไรดีกว่า ?ปริญญา ก.ก.? ถือถ้าเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นหน้าข้าราชการคนอื่น ๆ

กบฏนายสิบ

ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2478 ได้มีคณะบุคคลคณะหนึ่งเป็นนายสิบทหารบกในกองพันต่าง ๆ คิดทำการยึดอำนาจ เหตุผลสำคัญของความคิดนี้ก็คือ (1) ไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลของพระยาพหลฯ (2) ผู้บังคับบัญชาของเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาล (3) ไม่พอใจที่รัฐบาลไม่เทิดทูนพระมหากษัตริย์เท่าที่ควร

คณะนายสิบได้กำหนดจะลงมือทำการตอนใกล้รุ่งของวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2478 โดยมีแผนจะสังหารคนชั้นนำของงรัฐบาลหลายคนรวมทั้งหลวงพิบูลสงครามแต่ความลับรั่วไหลและบรรดาผู้คบคิดได้ถูกจับกุมหมด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ได้ตัดสินลงโทษจำคุกนายสิบทั้งหมด 12 คน และลงโทษประหารชีวิต 1 คน ในจำนวนผู้จำคุกนั้น 8 คน ถูกจำคุกตลอดชีวิต 3 คน ถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี ปละ 1 คนถูกพิพากษาจำคุก 16 ปี

หนังสือประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่ค่อยกล่าวถึงการเกิดกบฏนายสิบนี้จึงไม่ค่อยรู้รายละเอียดอาจจะมีข้อน่าสงสัยว่า นายสิบทหารจะคิดยึดอำนาจได้หรือ สำหรับผู้เขียนคิดว่าเป้นไปได้ อี้ดี้ อามิน อดีตประธานาธิบดีของอุการดา แซมมวลโด อดีตปรัธานาธิบดีไลบิเรีย และบาติสต้า อดีตประธานาธิบดีของคิวบา ก็เป็นทหารยศนายสิบตอนยึดอำนาจ (ทั้ง 3 คนถูกใช้กำลังขับไล่ออกจากตำแหน่ง ภายหลัง)

การจับกุมผู้ต้องสงสัยจะยึดอำนาจในเดือนมกราคม พ.ศ. 2481

พระยาพหลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ก็จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 2 โดยมีส.ส. จำนาน 91 คน หลังการเลือกตั้งพระยาพหลฯ ก็ได้รับมอบหมายจากสภาฯให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาอีก

วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2481 รัฐบาลของพระยาพหลฯ แพ้มติในสภาในบัญญัติข้อแก้ไขข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร พระยาพหลฯ จึงได้ขอลาอออกต่อคณะผู้สำเร็จราชการเทนพระองค์ แต่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ยอมรับใบลาออกเนื่องจากมีปัญหามากทั้งภายในและภายนอกประเทศ พระยาพหลฯได้ทำการยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481สภาฯ ก็ได้ทำการซาวเสียงเพื่อเลือกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ลงมติเลือกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งตอนนั้นเป็นพันเอกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เพราะพระยาพหลฯ ปฏิเสธไม่ยอมรับตำแหน่งอีกต่อไปอ้างว่าสุขภาพไม่ดี

หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้ทรงอำนาจทางทหารที่ค้ำอำนาจนายกรัฐมนตรีของพระยาพหลฯ อยู่ หลวงพิบูลฯ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังที่ทำหน้าที่ปราบปรามความพยายามจะยึดอำนาจของพระองค์เจ้าบวรเดช ระหว่างที่พระยาพหลฯยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น หลวงพิบูลสงคราถูกลอบสังหาร 3 ครั้ง ครั้งแรกถูกคนร้ายชื่อ นายพุ่ม ทับสายทอง ใช้ปืนยิงที่สนามหลวง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ครั้งที่ 2 ถูกยิงโดยนายลี บุญตา คนใช้ในบ้านเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่ 3 ถูกวางยาพิษ การถูกวางยาพิษนี้มีคำกล่าวหาเป็การสร้างเรื่องขึ้นมาเองแต่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นผุ้หนึ่งที่ไปเยี่ยมหลวงพิบูล ฯ หลังถูกวางยาพิษและทรงเขียนไว้ว่า

?ในไม่ช้าก็มีข่าวมาว่ามีผู้พยายามจะปลงชีพหลวงพิบูลฯ อีก คราวนี้โดยการวางยาพิษ และปรากฏว่าภรรยาก็ถูกยาพิษด้วย ผู้เขียนไปเยี่ยม และได้พบในห้องนอนที่โรงพยาบาลทหารบก ดูท่านทั้งสองไม่สบายอย่างมากนอนครางอยู่เรื่อย จึงไม่เป็นของแปลกที่เมื่อหายสบายดีแล้ว ท่านทั้งสองจะไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มอย่างใดนอกบ้านเลยอยู่เป็นเวลาชั่วขณะหนึ่ง?

เมื่อหลวงพิบูลฯ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 มีการกวาดล้างผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความพยายามลอบสังหารหลวงพิบูลฯด้วย ผู้ต้องสงสัย 51 คนถูกจับเมื่อตอนเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลของหลวงพิบูลสงครามได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีอยู่หลายเดือน และในที่สุดศาลพิเศษนี้ก็ได้ตัดสินศาลพิเศษนี้ก็ได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิตบุคคล 21 คน 3ใน 21 คนนี้ศาลได้ลดโทษให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากเคยทำดีมาแต่ก่อนคือ

1.พลโท พระยาเทพหัสดิน ณ อยุธยา

2.กรมขุนชัยนามนเรนทร

3.พันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลป

ที่เหลืออีก 18 คนนั้นถูกประหารชีวิตตามคำพิพากษา ซึ่งใน 18 คนนี้มีบุตรของพลโทพระยาเทพหัสดินฯ 2 คน และอดีตรัฐมนตรี 1 คนคือ พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล ทั้ง 3 คนได้รับการลดโทษเพราะพลโท พระยาเทพหัสดินเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นโอรสของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลปเป็น 1 ในคณะผุ้ก่อการฯ ปี พ.ศ. 2475 กรมขุนชัยนาท ฯ นั้นถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ด้วย ศาลพิเศษที่พิจารณาคดีนี้มีพันเอกหลวงพรหมโยธี หนึ่งในคณะผู้ก่อการฯ ปี พ..ศ. 2475 เป็นประธานกรรมการ รัฐบาลสงสัยว่า พันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้นำในขบวนการจะยึดอำนาจคราวนี้มีประเด็นสำคัญสรุปไว้ดังนี้

1.ผู้ต้องสงสัยไม่ได้ทำการใช้กำลังยึดอำนาจ เป็นแต่มีการพยายามลอบสังหารหลวงพิบูลฯ
2.จนบัดนี้ก็ยังเป็นที่สงสัยว่าบุคคลที่ถูกลงโทษทั้งหมดผิดจริงหรือไม่ เพราะผู้พิจารณาพิพากษาคดีเป็นศาลพิเศษ

3.พระยาทรงสุรเดช ซึ่งกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าคณะผู้คบคิดยึดอำนาจครั้งนี้ นับเป็นคนชั้นนำของคณะก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่ต้องไปถึงแก่กรรมที่ต่างประเทศ

4.กรมขุนชัยนาท ฯ ถูกจำคุกอยู่จนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2486 ก็ได้รับการอภัยโทษจากรัฐบาลหลวงพิบูลฯ และได้รับฐานันดรศักดิ์คืนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ. 2487 ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับพระยามานวราชเสวี

5.การสังหารผู้ต้องหาว่าเป้นกบฏถึง 18 คนในคราวเดียวกัน เป็นเรื่องที่รุนแรง แต่หลังจากนั้นมาก็ไม่มีใครพยายามยึดอำนาจจากหลวงพิบูลฯ อีก จนกระทั่งหลวงพิบูลฯ หมดอำนาจครั้งแรกตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา : การเมืองไทยการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา / ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์


 
counter power by www.seal2thai.org