|
|
||||||||||||
ดินแดนปัญญาชน
เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เรียนพิเศษในพิษณุโลก วงการครู ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net |
|||||||||||||
ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ได้เกิดเหตุการณ์หลายอย่างขึ้น
ทั้งที่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ พี่น้องคนไทยเข่นฆ่ากันเอง
และแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในทางที่ดี มีคนกล่าวไว้ว่า ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หากผู้กระทำเป็นผู้ชนะ เราก็จะเรียกว่า การรัฐประหาร แต่ถ้าแพ้ ก็จะถูกตราหน้าว่ากบฏ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การรัฐประหาร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอำนาจ หาใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ เพราะการปฏิวัติ หรือการผลัดแผ่นดินของประเทศไทย เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ เหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ในปี พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 เสวยราชย์ได้เป็นปีที่ 2 มีคณะนายทหารที่เรียกว่า คณะ 130 (ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 130) ร่วมกันคิดการอันเป็นภัยต่อราชวงศ์ โดยซ่องสุมและคบคิดกันที่บริเวณย่านแพร่งสรรพศาสตร์ ซึ่งต่อมานายทหารกลุ่มนี้ก็ถูกจับกุมได้เสียก่อนลงมือกระทำการ คณะ 130 ถูกพิพากษาโทษลดหลั่นกันไป แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษทั้งหมด ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยได้เพียงปีเดียว ปีต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2476 คณะราษฎรที่นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย นับเป็นการกระทำรัฐประหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลและยึดอำนาจภายในกลุ่มคณะราษฎรด้วยกันเอง กบฏบวรเดช ในเดือนตุลาคม 2476 กองทัพจากหัวเมืองนำโดยพลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากร ในนามของ "คณะกู้บ้านเมือง" ยกทัพลงมาประชิดพระนคร และเข้ายึดสนามบินดอนเมือง เพื่อกดดันรัฐบาลของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาที่มีแนวโน้มจะเป็นเผด็จการทหาร และถวายพระราชอำนาจคืนแก่พระมหากษัตริย์ เพื่อให้ทรงพระราชทานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงให้แก่ทวยราษฎร์ ทว่าทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยินยอม มีการปะทะกันหลายแห่ง การนำทัพของพระองค์เจ้าบวรเดชเข้ามาล้มล้างรัฐบาล โดยเคลื่อนทัพมาจากนครราชสีมา สู้รบกันที่ทุ่งบางเขนจนถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามได้เด็ดขาด ได้กลายเป็นการกบฏ จนภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนาม "กบฏบวรเดช" กบฏนายสิบ "กบฏนายสิบ" เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา กบฏพระยาทรงสุรเดช กบฏที่โด่งดังที่สุดอีกครั้งหนึ่งคือ "กบฏพระยาทรงสุรเดช" เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2482 ผู้ที่คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม ซึ่งหากทำสำเร็จจะนับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของการเมืองไทย นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร กบฏแบ่งแยกดินแดน ในปีถัดมา นับเป็นปีที่การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุด เริ่มตั้งแต่ต้นปีได้มี กบฏแบ่งแยกดินแดน ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมส.ส.ของภาคอีสานหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์, นายถวิล อุดล, นายเตียง ศิริขันธ์, นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฎรมีเอกสิทธิทางการเมือง กบฏเสนาธิการ เพียงหนึ่งเดือนเศษหลังจากนั้น คือวันที่ 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 ได้บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป และนำมาสู่ "กบฏเสนาธิการ" 1 ตุลาคม 2491 ซึ่งพลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจับกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง ความพยายามยึดอำนาจครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏวังหลวง" กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ และในวันที่ 29 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ กบฏสันติภาพ ในยุคที่โลกตกอยู่ในภาวะสงครามเย็น และประเทศไทยเป็นยุคของอัศวินตำรวจ รัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากการกระทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นรัฐบาลทหารที่ประกาศเดินหน้าดำเนินโยบายทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ ด้วยการรื้อฟื้นกฎหมายคอมมิวนิสต์ 2495 และกวาดจับผู้มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาลครั้งใหญ่ที่รู้จักกันในนาม "กบฏสันติภาพ" ในปี พ.ศ.2497 กบฏ 26 มีนาคม กบฏ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 กบฏยังเติร์ก กบฏยังเติร์ก 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ กบฏทหารนอกราชการ 9 กันยายน 2528 ความพยายามที่จะทำการปฏิวัติในวันที่ 9 กันยายน 2528 เกิดขึ้นในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก กำลังอยู่ในต่างประเทศกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิวัติ ได้เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นสถานที่บัญชาการ โดยมีพลเอกเสริม ณ นคร อดีตทหารประการเป็นหัวหน้าคณะ (พลเอกเสริม อ้างว่าถูกบังคับ) มีนายพลนอกประจำการอีกหลายท่านรวมอยู่ด้วย และ พ.อ.มนูญ รูปขจร อดีตผู้นำกบฏยังเตอร์กเป็นแกนสำคัญ การปฏิวัติครั้งนี้ทำไม่สำเร็จ เพราะได้รับการต่อต้านในทันทีโดยนายทหารประจำการภายใต้การนำของพลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ รองผบ.ทบ. ภายหลังการประทะกันด้วยกำลังอาวุธในบางพื้นที่จนทำให้มีการบาดเจ็บล้มตาย คณะปฏิวัติยอมแพ้ในตอนเย็นของวันนั้นเอง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ใช้วิธีการยุบสภาเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองตลอดมา จนกระทั่งครั้งหลังสุดภายหลังการยุบสภา เมื่อ 29 เมษายน 2531 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ก็ปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรค มอบให้ภายหลังการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 ทำให้พลตรีชาติชาย ชุณหะวัน หัวหน้าพรรคชาติไทย และ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเท่ากับเปิดยุคสมัยของรัฐบาลประชาธิปไตยที่กลุ่มทหารไม่ได้เข้ามามีส่วนในการจัดตั้งรัฐบาล
ทีมข่าวปริทรรศน์ / ผู้จัดการ |
|||||||||||||
|
|||||||||||||