: บทความการศึกษา เรื่อง
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว( Home School ) ตอนที่ 1
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School)
แนวความคิดในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
โดย ณรรฐวรรณ หนูเผือก
สถาบันทางครอบครัวเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา
เป็นพื้นฐานโครงสร้างทางสังคมที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างพฤติกรรมและวัฒนาธรรมของเด็ก
ประสบการณ์ภายในครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการการสร้างค่านิยม ทัศนคติ
ความเชื่อ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ
ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาโดยส่วนรวมการอบรมเลี้ยงดูมีส่วนสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างความเชื่อมั่น
เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างยิ่ง แม้ว่าจะเกิดจากพ่อแม่คนเดียวกัน
ดังนั้นการเลี้ยงดูเด็กจึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก
วิธีการเลี้ยงดูที่ได้ผลดีกับเด็กคนหนึ่งอาจได้ผลตรงกันข้ามเมื่อนำไปใช้กับเด็กอีกคนคนหนึ่ง
ดังนั้นการดูแลให้การศึกษาจึงต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน (นภเนตร ธรรมบวร.2541
: 28-29) มีงานวิจัยหลายเล่มพบว่า การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการศึกษาของลูก
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสำเร็จของลูกมากกว่า
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสำเร็จของลูกมากกว่าคุณภาพของโรงเรียนครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญมากในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก
ถ้าครอบครัวประสบความล้มเหลว โรงเรียนก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กเรียนรู้มากที่สุดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบตัว
จากการสังเกตการกระทำของพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กพ่อแม่ต้องเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ดังนั้นการสอนกระบวนการคิด การตัดสินใจให้กับเด็ก จึงนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ด้านการศึกษา
ไม่ได้ส่งผลต่อความสำเร็จทางด้านการเรียนเท่านั้น
แต่ยังมีผลต่อความสำเร็จในชีวิตของเด็กด้วย
ครอบครัวที่เห็นความสำคัญของการศึกษาและมีการเตรียมเด็กสำหรับประสบการณ์ทางสังคม
มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการศึกษา สามารถทำได้ 3 รูปแบบ กล่าวคือ
- รูปแบบที่ 1
การมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนบางส่วน
ซึ่งอาจจะมีส่วนร่วมได้ทั้งกิจกรรมที่อยู่ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เช่น
เป็นคณะกรรมการ เป็นครูช่วยสอน ร่วมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
เป็นแหล่งให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เป็นต้น
- รูปแบบที่ 2
ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างครอบครัวกับโรงเรียน
ครอบครัวเพิ่มบทบาทมาเป็นผู้จัดการศึกษาในระดับหนึ่งภายใต้ข้อตกลงระหว่างครอบครัวกับโรงเรียนอย่างเป็นทางการ
การมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้จึงต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนว่าฝ่ายไหนจะรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง
เช่น เรียนในโรงเรียนภาคทฤษฎี และเรียนกับครอบครัวภาคปฏิบัติ
ในลักษณะนี้การเรียนการสอนจะต้องปรับให้ยืดหยุ่นเอื้ออำนวยให้กับโรงเรียนและครอบครัว
ครูจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ เน้นเฉพาะด้านวิชาการ
ส่วนครอบครัวเพิ่มบทบาทการเป็นผู้ปกครองอย่างเดียวมาเป็นผู้ให้ความรู้ให้การศึกษาแก้ลูกอย่างเป็นระบบด้วย
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู
[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard] [คุรุชน] power by www.seal2thai.org