มารู้จัก Storyline กันเถอะ |
|||
คำว่า Storyline ประกอบด้วย Story
และ line ซึ่งหมายถึงเส้นทางของเรื่องเป็นการดำเนินเรื่องที่ติดต่อ กันเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาในสกอตแลนด์ โดย Steve Bell และ Sallie Harkness ทำให้ Storyline ได้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Scottish Method ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตรา 22-24 ได้กล่าวถึงแนวการจัดการศึกษาที่ยึดหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อที่จะพัฒนาตามศักยภาพ |
Storyline
จัดว่าเป็นรูปแบบของกิจกรรมที่มีลักษณะเด่นในการบูรณาการหลักสูตร
องค์ความรู้และทักษะการเรียน
โดยอาศัยเส้นทางเดินเรื่องที่ผู้สอนได้วางโครงไว้คร่าว ๆ แบ่งเป็นตอน ๆ
(Episode) ผู้เรียนเป็นผู้เติมเต็มรายละเอียดตามจินตนาการ การวางแผน
และตัดสินใจของผู้เรียนเอง ที่เกิดจากกิจกรรมย่อยในแต่ละช่วงของ Storyline ดังนั้นผู้เรียน จึงต้องทำหน้าที่เป็น ผู้แสดง ทั้งการปฏิบัติ การแสวงหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การสรุปแนวคิดสำคัญ โดยผู้สอนจะใช้คำถามหลัก (Key Question) ในการเปิดประเด็นโดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญดังแผนภาพต่อไปนี้ |
||
|
|||
|
ผู้เขียนขอนำเสนอภาพรวมของงานวิจัยพอสังเขปซึ่งก็ยังไม่ได้ตอบคำถาม ข้อสงสัย ในตอนต้นที่ว่า นักศึกษาจะใช้วิธีเรียนแบบสตอรีไลน์ได้ดีกว่านักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่ จากข้อสรุปและข้อสังเกตจากการทำวิจัยตามขั้นตอนดังกล่าว ผู้เขียนขอวิเคราะห์บทสรุปจากการทำวิจัย ซึ่งอาจเชื่อมโยงแนวทางสู่คำตอบ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์หลักสูตรถ้าเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความชัดเจนในการบูรณาการหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การสร้างเส้นทางเดินเรื่องได้ดีกว่าระดับอุดมศึกษา เนื่องจากระดับอุดมศึกษาในบางเนื้อหายังต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้านที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะ และสอดคล้องกับลักษณะของศาสตร์โดยเฉพาะรายวิชาหลักการสอน ที่มีเนื้อหาที่ต้องมีการฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับครู มีการวางแผนการสอนที่ต้องการวิเคราะห์หลักสูตรจนสามารถนำไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีบางเนื้อหาที่อาจให้ผู้เรียนได้กำหนดเรื่อง เหตุการณ์ ยกปัญหามาดำเนินเรื่องตามองค์ประกอบได้บ้าง ซึ่งผู้เขียนและคณะได้ทดลองใช้ คือ การจัดบรรยากาศการจัดชั้นเรียน บทบาทหน้าที่ของครูและนักเรียน และแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ |
2.
การฝึกกระบวนการคิดของนักศึกษายังมีบางส่วนยึดติดกับภาพลักษณ์เดิม
ขาดการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดจินตนาการ
คิดนอกกรอบเพราะมีความเชื่อว่าโรงเรียนไม่สามารถมีหรือจัดหาให้สมบูรณ์ได้
รวมทั้งการได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ที่ผ่านมา
ยังไม่เอื้อต่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะตอบสนองการปฏิรูปการเรียนรู้ 3. ควรมีการนำบทเรียนที่ได้จากกทำวิจัย มาเป็นโจทย์ หรือคำถามวิจัย เพื่อให้เป็นบทเรียนที่มีคุณภาพ และสะท้อนผลให้คณาจารย์ในระดับอุดมศึกษาเห็นความสำคัญ กับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำเทคนิคใหม่ ๆ มาประยุกต์และทดลองใช้ เพื่อให้ตอบสนองกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก เพราะอย่างไร พันธกิจด้านการเรียนการสอนยังเป็นปัจจัยหลักของการจัดการศึกษาทุกระดับ
บทสรุป |
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู
[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard] [คุรุชน] [สอบบรรจุครู] power by seal2thai.org