การเผยแพร่ผลงานวิชาการ
นายวิญญู  ประมูล

 

 


 
ดินแดนปัญญาชน

[หน้าแรก]

[รวมสาระ]

[webboard]

[คุรุชน]

[สอบบรรจุครู]

[ข้อสอบ o-net และ a-net]

champ108
มะขาม
ได้รับการสนับสนุนโดย ร้านขนมจีนมะขาม สารัช
ขนมจีนเส้นสด

ผลงาน คศ.3

ชื่อเรื่อง                รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา 
              นายวิญญู  ประมูล (ครู อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ)
สถานศึกษา          โรงเรียนบ้านวังวน(ราษฎร์พิทยา)  อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ปีที่รายงาน           2553

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4    ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านวังวน(ราษฎร์พิทยา)  อำเภอสูงเม่น  จังหวัดแพร่  จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เวลา 40 นาที และประเมินและแบบประเมินความสนใจในการเรียนโดยใช้เวลา 20 นาที ทดลองสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA ใช้เวลา 20 ชั่วโมง และทดสอบหลังเรียนด้วย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความสนใจในการเรียนโดยใช้เวลาทั้งหมดรวม 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความสนใจในการเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ  t – test   (One Sample test

                ผลการศึกษา พบว่า
               

1.  ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.58) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ  73.37/74.64  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  70/70

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

            3. ความสนใจในการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล สังคมบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ได้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ตลอด  (อุ้มบุญ สิงห์อัศวิน 2542 : 65) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2544  มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขและมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพได้ จึงกำหนดจุดหมาย ซึ่งเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ ให้ผู้เรียนมีทักษะและกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลโดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการดำเนินชีวิต (กรมวิชาการ 2545 : 5) 

เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของด้านอื่นๆ ในระดับพื้นฐาน ยังเป็นเครื่องมือ                   ในการปลูกฝังอบรมให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติ ทัศนคติ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อีกด้วย ในด้านที่ซับซ้อนนั้นจะเห็นว่า คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสำหรับแสดงออกซึ่งความคิดเห็นเป็นระบบระเบียบ ในด้านวิเคราะห์ปัญหา และการหาเหตุผลอื่นตื่นตัวอยู่เสมอ นักการศึกษาทุกระดับจึงได้เห็นความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ในปัจจุบันเป็นอย่าง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบซิปปา (Cippa Model) เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งด้านกาย (Physical Participation) ด้านสติปัญญา (Intellectual Participation) ด้านสังคม (Social Participation) และทางด้านอารมณ์ (Emotional Participation)  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงปฏิบัติ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ดังนั้นผู้สอนจึงได้หาแนวการแก้ไข ปรับปรุง แนะนำ นักเรียน              ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีผลการเรียนที่ดี ผู้วิจัยจึงสนใจนำเอาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้มาจัดกิจกรรมทางการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  และเพิ่มศักยภาพทางการเรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้สมบูรณ์ 

 

จุดมุ่งหมายของการพัฒนา

1.  เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์    

2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ  CIPPA

3.  เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ  CIPPA

 ขอบเขตของการวิจัย

1.   ประชากร   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนบ้านวังวน(ราษฎร์พิทยา)  จังหวัดแพร่  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2551     

2.   ตัวแปรในการวิจัย

                  ตัวแปรจัดกระทำ คือ  
                       ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ
CIPPA

ตัวแปรตาม คือ 
                          
1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                          
2.  ความสนใจในการเรียน

3.   การดำเนินการทดลอง

                  แบบแผนการทดลอง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบ  One Group Prettest-Posttest only Design

 

ขอเชิญครูทุกท่านเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของท่าน เพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะครับ
ขอแนะนำ
CD สนับสนุนการทำผลงานครู
ท่านสามารถอ่านบทความได้ที่
www.seal2thai.org/kru/kru031.htm

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ครู ได้ที่ กระดานปัญญาชน
 

  counter powered by ดินแดนปัญญาชน