|
การเผยแพร่ผลงานวิชาการ
|
|
|
|
|
|
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก และโรงเรียนภาคีเครือข่าย
ชื่อผู้วิจัย นายธวัช
บุญประสพ
บทคัดย่อ รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก และโรงเรียนภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ (1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) (3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และ (5) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากร ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารโครงการ และครูผู้สอนผู้เข้ารับการอบรมในโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 โครงการ ดังนี้ คือ
1.
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
2. โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนในฝัน
3. โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาการเรียน
4. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนในฝัน
5. โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน 6. โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (ICT) โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ICT) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก และโรงเรียนภาคีเครือข่าย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สอบถามความคิดเห็นด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก และโรงเรียนภาคีเครือข่ายมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ วิทยากร กิจกรรมการอบรม สื่อวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และการบริการ และระยะเวลาการอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบว่า 1. ด้านบริบท มีผลการประเมินโครงการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) จังหวัดพิษณุโลก (2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝันและเครือข่าย (3) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก (4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน กระบวนการคิดสู่ห้องเรียน โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนโครงการอื่นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเท่านั้น 2. ด้านปัจจัยนำเข้า มีผลการประเมินโครงการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝันและเครือข่าย (2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนโครงการอื่นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเท่านั้น 3. ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินโครงการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) จังหวัดพิษณุโลก (2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝันและเครือข่าย (3) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก (4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน กระบวนการคิดสู่ห้องเรียน โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนโครงการอื่นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเท่านั้น 4. ด้านผลผลิต มีผลการประเมินโครงการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) จังหวัดพิษณุโลก (2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝันและเครือข่าย (3) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก (4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน กระบวนการคิดสู่ห้องเรียน โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนโครงการอื่นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเท่านั้น 5. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการเสริมสร้าง ศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากกับ ทุกโครงการโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) จังหวัดพิษณุโลก (2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน กระบวนการคิดสู่ห้องเรียน โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก (3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝันและเครือข่าย (4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก (5) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษด้วยวิธีที่หลากหลาย (6) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ครู
ได้ที่ กระดานปัญญาชน |
|
powered by ดินแดนปัญญาชน |