คำถาม – ตอบ การพัฒนาข้าราชการครูผู้ขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3 ตามหลักเกณฑ์ใหม่

 

 


 
ดินแดนปัญญาชน

[หน้าแรก]

[รวมสาระ]

[webboard]

[คุรุชน]

[สอบบรรจุครู]

      

ผลงาน คศ.3

 

 

  

โดย

หน่วยเฉพาะกิจเตรียมการอบรมพัฒนาครูให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (อาจารย์ 3 เชิงประจักษ์)

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ.
สอบถาม โทร. 02-628 9183 , 089-2777200 ,081-2610459 , 089-6444491  ,086-5503222

Fax 02-288 5651, 02-2819992, 02-2821897
http://personel.obec.go.th   
หรือ  http://www.obec.go.th

 

...................................

1.การอบรมพัฒนาครูเพื่อให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ มีความเป็นมาอย่างไร

            ตอบ ก.ค.ศ.มีมติ  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูมีหรือเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญพิเศษ(กรณีขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์  3 จามหลักเกณฑ์ใหม่) กำหนดให้มีการพัฒนา  2 ครั้ง  ครั้งที่ 1  ภายในเดือนมีนาคม 2550,ครั้งที่ 2 ภายในเดือน กันยายน 2550) มี 2 กลุ่ม ดังนี้

            1. ผ่านการประเมินกรรมการ ชุดที่ 1และชุดที่ 2  ผลการประเมินกรรมการชุดที่ 3 ไม่อนุมัติ ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.กำหนด

            - ผู้ประสงค์เข้ารับการอบรม สามารถสมัครเข้ารับการอบรม ได้เพียง 1 ครั้ง (เลือกครั้งที่ 1หรือ ครั้งที่ 2 ได้เพียง 1 ครั้ง)

            2. อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กรรมการชุดที่ 3 หรือ การพิจารณาของ ก.ค.ศ. (กรณีปรับปรุงหรือรอการพิจารณา)

            - แบ่งเป็น 2 แนวทาง

                        1) กรณีที่ขอยกเลิกการพิจารณาของกรรมการชุดที่ 3 หรือการพิจารณาของ ก.ค.ศ. สามารถแสดงความประสงค์เข้ารับการอบรมได้ 2 ครั้ง

                        2) กรณีที่ไม่ขอยกเลิก รอการประเมินจากกรรมการชุดที่ 3 และการพิจารณาของ ก.ค.ศ. และปรากฏว่าไม่อนุมัติ สามารถแสดงความประสงค์เข้ารับการอบรมในครั้งที่ 2 (เดือนกันยายน 2550)ได้

2.ในปี 2550 นี้มีแผนการอบรม จัดอบรมในช่วงเดือนอะไร และสถานที่จัดที่ใดบ้าง

        ตอบ

            1. ปี 2550 มีแผนการจัดอบรม 2 ครั้ง   ครั้งที่ 1 ภายใน 31 มีนาคม 2550 และครั้งที่ 2 ภายใน 30 กันยายน 2550

            2.ในครั้งที่ 1 ภายเดือน มีนาคม 2550 มีสถานที่จัด จำนวน 48 จุด

 

 

3. ผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถเข้ารับการอบรมได้อย่างไร

            ตอบ  สมัครเข้ารับการอบรมที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนสังกัดอยู่

 

4. มีแนวทางในการจัดการอบรมอย่างไร

            ตอบ 

            1.ใช้เวลาในการอบรมทั้งสิ้น 13 วัน

                        - พัฒนาตามหลักสูตร 9 วัน

                        - ทดสอบปฏิบัติการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง  3 วัน                     (สอนคนละ 30 นาที)

                        -ทดสอบประมวลความรู้  1 วัน

                        -เกณฑ์การประเมินทั้ง 3 รายการ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70

            2.ใช้จุดการอบรมทั้งสิ้น (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ประมาณ  48 จุด

            3.จัดหน่วยให้การพัฒนา โดยคัดเลือกจาก สถาบันอุดมศึกษา สถาบันพัฒนาบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือภาคเอกชน ทำหน้าที่ในการพัฒนา

            4.ก.ค.ศ.แต่งตั้งกรรมการประเมินทำหน้าที่ประเมินผู้เข้ารับการอบรม ทั้งพฤติกรรมการการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง  และการทดสอบประมวลความรู้ โดยเป็นบุคคลที่มีวิทฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ จากนอกสังกัด สพฐ. 2 คน ในสังกัด 1 คน

            5.สำนักทดสอบ สพฐ.เป็นผู้ออกข้อสอบประมวลความรู้ ที่ใช้ทดสอบในวันที่ 13 ของการอบรม

            6.การเข้ารับการอบรม ณ จุดอบรมใด  เป็นหน้าที่ของ สพฐ.จัดให้

            7.ผู้เข้ารับการอบรมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาหาร และค่าที่พัก ในการอบรมในส่วนตัวเอง นอกนั้น สพฐ.รับผิดชอบให้ และไม่มีการเก็บเงินจากผู้เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด

 

5.ในการเข้ารับการอบรมสามารถเปลี่ยนสาขาวิชา หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้หรือไม่

            ตอบ  สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความประสงค์ของผู้เข้ารับการอบรมที่เห็นว่ามีความพร้อม โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนสังกัดอยู่

 

6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่อย่างไร

            ตอบ 

            1. ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่

                        - รับสมัครผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการอบรม ตามกำหนดเวลาที่ สพฐ.กำหนด

                        - สร้างความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล

            2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้เป็นจุดพัฒนา มีหน้าที่

                        -  จัดสถานที่ที่ใช้การอบรมและอุปกรณ์ ประมาณ 500 คน จำนวน 1 ห้อง          (ใช้ในการอบรมในวันที่ 1-3,13 ของการอบรม)

                        - จัดห้องประชุมย่อย พร้อมอุปกรณ์ ห้องละประมาณ 50 คน ประมาณ 10 ห้อง(ใช้ในการอบรมในวันที่ 4-12 ของการอบรม)

                        - ประสาน และอำนวยความสะดวก แก่ผู้เข้ารับการอบรม หน่วยผู้ทำหน้าที่ในการอบรม

                        - ประสาน ดูแลความเรียบร้อย อำนวยความสะดวก เบิกจ่ายค่าใช้จ่าย และงานธุรการให้แก่คณะกรรมการประเมิน ที่ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง


ข้อมูลจาก สพร.


 

  counter powered by ดินแดนปัญญาชน