ความหมายและคุณค่าของคำว่าครูในวิถีชีวิตของสังคมไทย



ความหมาย
        ครู มาจากคำว่า “ครุ” แปลว่า หนัก อันเป็นความหมายแต่โบราณ
        พุทธทาสภิกขุ (2527 : 92) ครูเป็นผู้เปิดประตูวิญญาณ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ มากกว่าเรื่องทางวัตถุ
        เปลื้อง ณ นคร (2516 : 89) ให้ความหมายไว้ว่า ครูคือผู้มีความหนักแน่น ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์ ผู้สั่งสอน
        ประเวศ วะสี (ม.ป.ป.) ให้ความหมายว่า ครู คือเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม ตกไปอยู่ที่ใด ก็ทำให้ที่นั้นมีแต่ความดี ความเจริญ อุดมสมบูรณ์
        จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า ครู มาจากคำว่า “ครุ” แปลว่า หนัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษกำหนดให้บุคคลที่ทำหน้าที่ในการ สืบทอด และถ่ายทอด องค์ความรู้จากภายนอกที่มองเห็น ความรู้จากภายใน อีกทั้งทำความรู้ให้กระจ่าง และเป็น ผู้มีหน้าที่ สร้างบุคคลให้มีคุณภาพทั้งวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข และเป็นกัลยาณมิตร

คุณค่าของความเป็นครู
        คุณค่า คือ การเห็นความสำคัญ และให้ค่าของสิ่งนั้น ซึ่งมองจากภายนอกเข้าสู่ภายใน
 

ความหมายของครูเป็นรูปธรรม
        คุณค่าของความเป็นครูเป็นนามธรรม
        - ครูมีคุณค่าในความเป็นปูชนียบุคคล
        - ครูเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
        - ครูเป็นวิศวกรแห่งชีวิต
        - ครูเป็นผู้ให้ความผูกพัน
        - ครูเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนต่อตนเองมากไปกว่าการได้เห็นศิษย์ถึงจุดหมาย
        - ครูเป็นผู้ซึ่งมีความดี ความงาม ซึ่งแสดงออกโดย กาย วาจา ใจ อย่างบริสุทธิ์ใจ
        - ครูเป็นผู้สืบทอด และถ่ายทอดวัฒนธรรม
        - ความเป็นครู มองจากภายนอก (คนเป็นครู) เพื่อให้เห็นหน้าที่ของ ครู
        - ครูเป็นผู้อบรม บ่ม เพาะ สั่งสอน

        เมื่อเรามองพฤติกรรมของครู เราจึงจะกำหนดคุณค่าของความเป็นครูได้ โดยมองทางกาย(พฤติกรรม การกระทำ) ทางวาจา อันเป็นสิ่งสะท้อนจากใจ อันเป็นความดี ความงามของบุคคล


 

ผลงาน คศ.3

  [หน้าแรก] [webboard] [รวมสาระ] [คุรุชน] [สอบบรรจุครู]  counter power by www.seal2thai.org