วันครู ประวัติวันครู
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่าที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์ ว่าดังนี้
คำประพันธ์ของ พระวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ครูอาวุโสสวดคาถาแรกแล้ว สวดคำฉันท์ ในวรรคแรก นำผู้ที่มาประชุมสวดต่อจนจบ แล้วครูอาวุโสสวดคาถาท้าย จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ ๑ นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ นำผู้ร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ ดังนี้ ข้อ ๑ ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
|
ผู้ที่จะเป็นครูได้นั้น
ต้องเป็นผู้มีความเสียสละอย่างมาก
เพราะการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคมได้
ไม่เพียงแต่ครูจะต้องถ่ายทอดวิชาความรู้ให้เท่านั้น แต่ต้องสอนสั่งให้ศิษย์เป็นคนดี
เป็นคนมีคุณภาพของสังคม
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งเวลาและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
ครูจึงมีพระคุณเปรียบประดุจพ่อแม่คนที่สองของเรา
ในหนังสือวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยฯ
ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวถึง ความเป็นมาของ วันครู
ว่าสืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. ๒๔๙๙จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ด้วยในสมัยนั้น
ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ ถึงแนวความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครูขึ้น
ด้วยเห็นว่าครูเป็นผู้มีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างแก่ชีวิต
จึงควรมีสักวันหนึ่งที่จะให้ศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณ
ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูทั่วไป
ดังนั้น ในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๙๙คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ทุกวันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปี เป็น วันครู
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงาน วันครู
มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๐ ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ
โดยมีหลักการว่าให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี
ซึ่งอนุสรณ์สำคัญก็ได้แก่ หนังสือประวัติวันครู หนังสือที่ระลึกวันครู
และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
ต่อมาการจัดงานวันครูก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเรื่อยมา
จนปัจจุบันรูปแบบสำคัญมักจะประกอบด้วย กิจกรรมทางศาสนา
พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ การกล่าวปฏิญาณตน การกล่าวรำลึกถึงพระคุณบูราพาจารย์
และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู เป็นต้น
สำหรับดอกไม้ประจำวันครู คือ
ดอกกล้วยไม้ โดยพิจารณาเห็นว่าคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้
มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับสภาพชีวิตครู นั่นคือ
กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผลให้เราชื่นชมได้
ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละคน
กว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้
ก็ต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน นอกจากนี้
กล้วยไม้ยังเป็นพืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย
เปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ
ดังคำกลอนของ หม่อนหลวงปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติ ที่ว่า
กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวใด งานเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม
พระพุทธเจ้าได้เปรียบครูว่า เป็นดังทิศเบื้องขวา
ผู้ซึ่งมีหน้าที่อนุเคราะห์ต่อศิษย์ดังนี้
๑ แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒.สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓.สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔.ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฏ และ
๕.สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกให้สามารถใช้วิชาเลี้ยงชีพ
และรู้จักดำรงรักษาตน ในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี
งานของครู นั้น เป็นงานหนัก
และเป็นงานที่มีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นงานสร้างคน
โดยเฉพาะการสร้าง คนดี อันจะเป็นเสมือน ต้นกล้าที่มีคุณภาพให้แก่แผ่นดินในอนาคต
ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม
และ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อมูลวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2537.
ได้รับการสนับสนุนโดย ร้านขนมจีน
[หน้าแรก] [webboard] [รวมสาระ] [คุรุชน] [สอบบรรจุครู] power by seal2thai.org