[หน้าแรก] [webboard] [รวมสาระ]   counter power by seal2th

 

หน่วยที่ 5 การแลกเปลี่ยน
จุดประสงค์

1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของการแลกเปลี่ยนได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถจำแนกความแตกต่างของการแลกเปลี่ยนประเภทต่างๆได้


เนื้อหา
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ในทางเศรษฐศาสตร์ การผลิตสินค้าเฉพาะที่ตนชำนาญเรียกว่า “การแบ่งงานกันทำ” เป็นลักษณะของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งถือว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าด้วยตนเองทุกอย่าง แต่จะเลือกผลิตเฉพาะที่ตนเชี่ยวชาญ โดยผลิตใช้ภายในครอบครัวส่วนหนึ่ง และนำส่วนที่เหลือไปแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การแบ่งงานกันทำ” เป็นรากฐานของการแลกเปลี่ยนสินค้า

ประเภทของการแลกเปลี่ยน
การแลกเปลี่ยนเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าต่อสินค้า เป็นวิธีการแลกเปลี่ยนที่ใช้ในสังคมดั้งเดิม หรือในยุคดึกดำบรรพ์ โดยนำของมาแลกของโดยตรง เช่น นำหนังสัตว์มาแลกข้าว นำปลามาแลกกับภาชนะหม้อดินเผา ผู้แลกทั้งสองฝ่ายจะต้องมาทำการตกลงเจรจากัน
2. การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลาง เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความสะดวกเพราะเจ้าของสินค้าจะนำสินค้าของตนไปขายที่ตลาด และเก็บรักษาเงินตราเหล่านั้นไว้ในปัจจุบันได้พัฒนาไปสู่ระบบการใช้บัตรเคดิตแทนเงินสดเพราะช่วยให้เกิดความปลอดภัยไม่ต้องพกเงินสดติดตัวคราวละมากๆ


ความสัมพันธ์ของวงจรธุรกิจ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมนุษย์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริโภคสินค้าโดยพึ่งพาอาศัยกันดังนี้
1. การหมุนเวียนของสินค้า คือสภาพการเปลี่ยนแปลงเคลื่นอย้ายสอนค้าจากหน่วยเศรษฐกิจหนึ่งไปยังอีกหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น ข้าวสาร ผัก ผลไม้ จะถูกเปลี่ยนมือจากผู้ผลิตคนหนึ่งไปยังผู้บริโภคโดยวิธีแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมากในสังคมดั้งเดิมของมนุษย์
2.การหมุนเวียนของสินค้าและเงินตราควบคู่กันเป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างบุคคลที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราและสินค้าควบคู่กัน เช่น ชาวนาขายข้าวให้เจ้าของโรงสีและเจ้าของโรงสีจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินตรา

ความสัมพันธ์ระหว่างภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจและภาครัฐบาล
ในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน หน่วยเศรษฐกิจต่างๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การให้ปัจจัยการผลิตความสัมพันธ์ในด้านรายรับกับรายจ่าย มีดังนี้
1. หน่วยธุรกิจ มีบทบาทเป็นผู้ผลิตสินค้าและการว่าจ้างงานจากหน่วยครัวเรือน
2. หน่วยครัวเรือน มีบทบาทเป็นผู้บริโภคโดยซื้อสินค้าชนิดต่างๆมาใช้บริโภคตามกำลังซื้อหรือฐานะรายได้ของตน
3.ภาครัฐบาลมีบทบาทเป็นผู้เก็บภาษีอากรจากหน่วยธุรกิจและหน่วยครัวเรือนซึ่งถือว่าเป็นรายได้ของรัฐและนำรายได้ดังกล่าวไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ


สรุป
สาเหตุที่เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวเป็นเพราะมนุษย์มีความสามารถในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันโดยทั่วไปจะผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนถนัด เช่นทำสวนผัก เลี้ยงหมู จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ตนไม่ได้ทำเองขึ้นมาในชีวิตประจำวันแต่วิธีการแลกเปลี่ยนดังกล่าวมีความไม่สะดวก หลายประการ เช่น การเดินทางขนส่งไม่สะดวก ทำให้สินค้าบางอย่างแตกหักเสียหายหรือเน่าเสียได้ แม้กระนั้น วิธีการแลก เปลี่ยนแบบนี้ก็ยัง คงมีให้เห็นบ้าง ในสังคมชนบทในปัจจุบัน เช่น นำไข่ไก่ไปแลกเสื้อผ้า นำถ้วยชามไปแลกกับข้าวเปลือก

แบบฝึกหัด
คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง


1. ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่าแลกเปลี่ยน
ก. นายดำไปรับจ้างแบกข้าวสารที่โรงสี
ข. นายแดงขี่รถจักรยานไปทำงาน
ค. นางขาวเปิดร้านขายข้างแกงหน้าบ้าน
ง. นายเขียวใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าน้ำมันที่ปั๊ม

2. การแลกเปลี่ยนแบบใดเป็นวิธีการเก่าแก่ที่สุดมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
ก. สินค้าแลกเปลี่ยน
ข. สินค้าแลกเงิน
ค. ใช้สินค้าแลกเงินโดยผ่านคนกลาง
ง. ใช้แรงกายแลกสินค้า

3. การแลกเปลี่ยนในระบบ “ของแลกของ” จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้แลกเปลี่ยนทั้งสองฝ่ายมีสภาพเป็นอย่างไร
ก. ต่างมีสินค้าที่ฝ่ายหนึ่งต้องการ
ข. ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางเหมือนกัน
ค. ต่างมีสินค้าที่เหมือกัน
ง. มีความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

4. การแลกเปลี่ยนประเภท “สินค้าแลกสินค้า”ไม่เป็นที่นิยมในสังคมปัจจุบันเพราะเหตุใด
ก. ขาดสถานที่เก็บรักษา
ข. ขาดเงินทอน
ค. ไม่สะดวกในการขนส่งและพกติดตัว
ง. ต้องเจรจาต่อรองกัน

5. เพราะเหตุใดการแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางเป็นระบบสากลในปัจจุบัน
ก. มีความเที่ยงธรรม
ข. สะดวกในการเก็บรักษา
ค. มีความปลอดภัย
ง. มีหน่วยเงินตราเหมือนกันทั่วโลก