ญาณวิทยา
เป็นปรัชญาบริสุทธิ์ที่กล่าวถึงเรารู้จักรความจริงได้อย่างไร
และมีมาตรการอะไรที่จะตัดสินว่าความรู้ของเราตรงกับความจริง
มนุษย์มีวิธีการเรียนรู้โดยอาศัยรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัส
ความรู้แบบอนุมาน ความรู้แบบอัชฌัตติกญาญาณ ความรู้โดยอาศัยการตรัสรู้
และความรู้โดยอาศัยการดลใจ Kant ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทคือ
ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้มาจากความคิดหรือความเข้าใจ
ความรู้ของเราประกอบด้วย ความรู้สึก ความเข้าใจ และการคิดหาเหตุผล
บ่อเกิดของความรู้
ความรู้เกิดขึ้นได้ด้วยจิต,ประสาทสัมผัส,การหยั่งรู้เอง
ฯลฯ ลัทธิสำคัญที่พูดถึงเกี่ยวกับความรู้มีดังนี้
1. ลัทธิเหตุผลนิยม ความรู้เกิดจากการหาเหตุผล โดยใช้ตรรกวิทยานิรนัยเป็นหลักตัดสิน
2. ลัทธิประจักษ์นิยม ความรู้เกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส
สิ่งที่เรารับรู้โดยตรงคือ จินตภาพ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการรับรู้มีอยู่ คือ
สิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา มีจินตภาพ และจิตของเรา
3. ลัทธิวิมัตินิยม ความรู้เกิดจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและประสบการณ์
4. ลัทธิอัชฌักติกญาณนิยม ความรู้เกิดขึ้นเองภายในโดยการเพ่งของจิต
อัชฌัติกญาณเท่านั้นที่เป็นบ่อเกิดความรู้
5. วิภาษวิธี เป็นการเสนอแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานหรือหลักการ
จากนั้นก็เสนอแนวความคิดที่ขัดแย้ง
ซึ่งเป็นการปฎิเสธหลักการเดิมแล้วหาข้อสรุปจากสภาวะทั้งสอง
โดยยอมรับความรู้ใหม่ที่ถูกต้อง ซึ่งเราเรียกว่าสภาวะสังเคราะห์
6. ลัทธิอจินไตยนิยม ความรู้ทุกอย่างที่มนุษย์มี เชื่อถือได้ เป็นจริงและถูกต้อง
7. ลัทธิรหัสนิยม มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงได้ทั้งหมด ความรู้เกิดจาก
อัขฌัติกญาณ
8. ลัทธิปฏิบัตินิยม ใช้วิธีอุปนัยแสวงหาความรู้ ความรู้มีฐานะเป็นเครื่องมือ
9. ลัทธิมนุษย์นิยม ความรู้สึกทำให้มนุษย์รู้จักรกับความจริงมากกว่าความรู้
ความรู้เป็นความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างโลกกับมนุษย์แต่ความรู้เป็นความสัมพันธ์ที่มีตัวกลางขวางกั้น
ทฤษฏีธรรมชาติของความรู้
จิตนิยม เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญแก่ความคิดมากกว่าข้อเท็จจริง
สัจนิยม ความมีอยู่ของวัตถุเป็นความจริงและอิสระ
ปฏิบัตินิยม ความรู้มาจากประสบการณ์ การรู้ ความจำ และจิตนาการ
เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต
ความสมเหตุสมผลของความรู้
ทฤษฏีความเป็นจริง เป็นเกณฑ์หรือมาตรการที่ใช้ตัดสินประพจน์ใดว่ามีจริงหรือไม่
มีอยู่ 3 อย่าง
1. ทฤษฏีเชื่อมนัย ประพจน์สอดคล้องกับความรู้เดิมซึ่งเป็นความรู้ที่ถูกต้องมาก่อน
2. ทฤษฏีสมนัย ประพจน์จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมันตรงกับข้อเท็จจริง
3. ทฤษฏีปฎฎิบัตินิยม สิ่งที่เป็นจริงคือสิ่งที่มีประโยชน์
นำมาปฏิบัติให้ผลที่เราพึงพอใจ
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู