บทบาทหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
 
1.
ด้านนิติบัญญัติ อันได้แก่
 
1.1
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
 
1.2
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย
 
1.3
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรี ระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบโดยมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
 
1.4
การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
 
1.5
การพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2.

การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การควบคุมดูแลหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายที่ให้ไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา ผู้ที่มีอำนาจควบคุมได้แก่สภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในบางสมัยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหาร แต่บางสมัยก็กำหนดให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้ทั้งสองสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
ในส่วนของวุฒิสภา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยวิธีการดังนี้

 
2.1
การตั้งกระทู้ถาม
สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน อนึ่งการตอบกระทู้ถามที่สมาชิกวุฒิสภาตั้งถาม อาจทำได้ ๒ กรณี คือ
 
 
(1) ตอบในราชกิจจานุเบกษา
(2) ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
 
2.2
การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่มีการลงมติ และการขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้
จะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง ๆ
 
2.3
การตั้งคณะกรรมาธิการ
วุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวน สอดส่องการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการนั้น มีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นได้
3.
การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในเรื่องที่มี
ความสำคัญต่าง ๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของรัฐสภาจึงย่อมมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนี้ และมีหน้าที่ในกรณีสำคัญ ๆ ดังสรุปได้ คือ
 
3.1
ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในกรณีที่
พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือด้วยเหตุอื่นใด ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 
3.2
รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พระพุทธศักราช 2467 แล้วให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและ ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วจึงประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป
ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์นั้นขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป
 
3.3
ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว
ทั้งนี้มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภา
ทำหน้าที่รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบและการลงมติ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
 
3.4
ให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญาสำคัญ
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาโดยที่ประชุมร่วมกัน
4.
พิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ
 
4.1
วุฒิสภาถวายคำแนะนำ
เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ หลังจากที่วุฒิสภาได้ดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือกมาแล้ว องค์กรเหล่านั้นประกอบด้วย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอีกสี่คน)
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (จำนวนไม่เกินสามคน)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน)
ศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งมีประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คน)
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกแปดคน)
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกเก้าคน)
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
 
4.2
วุฒิสภาพิจารณาเลือก
โดยเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าเป็นคณะกรรมการตุลาการของศาลประเภทต่าง ๆ ดังนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (จำนวนสองคน)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (จำนวนสองคน)
 
4.3
วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ
อันเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้ได้บุคคลผู้จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป อาทิ
การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดิน
เป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดซึ่งได้รับ
ความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วย
5.
ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
 
5.1
การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง อันได้แก่
นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
อัยการสูงสุด
กรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
พนักงานอัยการหรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
หากบุคคลนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
 
5.2
วุฒิสภาอาจมีมติให้กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งได ้
เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
กระทำการขาดความเที่ยงธรรม
จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
มีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง
6.
บทบาทและอำนาจหน้าที่อื่นๆ
 
6.1
ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
 
6.2
ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
 
6.3
ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
 
6.4
ทำหน้าที่รัฐสภา เพื่อรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
 
6.5
ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน และรายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคปีละหนึ่งครั้ง
 
6.6
ให้ความเห็นชอบร่วมกันกับสภาผู้แทนราษฎรในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด 120 วัน
 
6.7
ขอเปิดประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ โดยเข้าชื่อร่วมกับ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
 
6.8
ตราข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภาและรัฐสภา
 
6.7
ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน
และเปิดเผยบันทึกดังกล่าว
 
6.8
ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอาจให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีในการดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติในกิจการใดที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศหรือประชาชน
 
6.9
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
 
6.10
ร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้ง คนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๗ หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๙
 
6.11
มีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
 
6.12
ร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใคคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 137 หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 139
 
6.13
ร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงหรือไม่
 
6.14
ดำเนินการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในการตราพระราชกำหนด
 
6.15
เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีการเสนอการแปรญัตติหรือ การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
 
6.16
เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
 
6.17
รับทราบรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
  6.18
รับทราบรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  6.19
รับทราบรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  6.20
รับทราบรายงานและเสนอความเห็นของคณะกรรมการเลือกตั้ง คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นเมื่อครบห้าปีแล้วนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
  6.21
ให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบและคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
  6.22
รับทราบรายงานขององค์กรอิสระหรือหน่วยงานอิสระต่างๆ ตามที่กฏหมายกำหนด
  6.23
ร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาพิพากษาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  6.24
พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สอบสวนสมาชิกวุฒิสภาในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุมหรือในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาถูกจับขณะกระทำความผิด ให้พนักงานสอบสวนรายงานไปยังประธานวุฒิสภาโดยพลันและประธานอาจสั่งให้ปล่อยได้
  6.25
พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ศาลพิจารณาคดีที่สมาชิกวุฒิสภาเป็นจำเลยในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุม
  6.26
ประธานวุฒิสภามีอำนาจร้องขอให้พนักงานสอบสวนหรือศาลสั่งปล่อยสมาชิกวุฒิสภาที่ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว.

 

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  5. เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
  6. เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
  7. เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
  8. เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี

มาตรา126 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
  1. เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
  2. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  3. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง

มาตรา 109 ใครที่มีลักษณะอย่างนี้ ห้ามมาสมัคร
  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
  3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 106 (1)(2) หรือ (4)

มาตรา 106 ใครที่มีลักษณะอย่างนี้ ห้ามมาสมัคร
  1. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  2. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  3. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 109 (ต่อ)
  1. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  2. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
  3. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  4. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  5. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
  6. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  7. เป็นสมาชิกวุฒิสภา
  8. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  9. เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  10. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 295
  11. เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง


ใครที่เป็นบุคคลตามมาตราเหล่านี้ สมัครไม่ได้

มาตรา 307
      สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มาตรา 295
     ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นตามมาตรา 292 หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี และผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ เป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา 97 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 97
      การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิก รวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่ง เพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว

มาตรา 292
      บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 291 ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าว และต้องยื่นภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
  1. ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
  2. ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
  3. ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา 291 ซึ่งได้ยื่นบัญชีไว้แล้ว ตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่ง นอกจากต้องยื่นบัญชีตาม (2) แล้วให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีด้วย

มาตรา ๒๙๑
      ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง
  1. นายกรัฐมนตรี
  2. รัฐมนตรี
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  4. สมาชิกวุฒิสภา
  5. ข้าราชการการเมืองอื่น
  6. ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
      บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา โดยผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีและสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้าด้วย

 

 

ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู

     มะขาม

[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard]]   counter power by seal2th