108 คำถามเกี่ยวกับ Admission

Q1
สายวิทย์ สอบ O-NET ได้เปรียบกว่า สายศิลป์ จะทำเช่นไร ?
A1
การสอบ O-NET 5 วิชา นักเรียนทุกคนทั้งประเทศ ต้องสอบเหมือนกัน คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ O-NET นี้เป็นการวัดมาตรฐานสาระการเรียนรู้พื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนเหมือนกันหมด การที่จะสรุปว่าสายวิทย์ สอบ O-NET ได้เปรียบกว่าสายศิลป์นั้นคงไม่ถูกต้องเนื่องจาก ข้อสอบออกในส่วนที่เป็นพื้นฐานที่ทุกคนได้เรียนเท่าเทียมกัน หากพิจารณาผู้เรียน ต่างสายกันมีส่วนได้เปรียบและเสียเปรียบ
 
 
Q2
 A-NET นักเรียนจะสอบทุกวิชา ได้หรือไม่ เพราะยังไม่รู้ว่าวิชาใด จะได้คะแนนดี ?
A2
ได้ครับ 
 
 
Q3
ถ้านักเรียนไม่สบาย หรือขาดสอบ O-NET ต้องทำอย่างไร ?
A3
การสอบ O-NET เป็นการสอบหลังจากที่นักเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว หากมีเหตุจำเป็นต้องขาดสอบตามที่กำหนดไว้ สามารถสมัครสอบ O-NET ไม่มีถัดไปได้ และนักเรียนสามารถสอบ O-NET ได้เพียงครั้งเดียว 
 
 
Q4
 วิธีที่สมัครสอบ O-NET, A-NET สมัครอย่างไร ?
A4
 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้แจ้งรายละเอียดและโปรดติดตามใน www.ntthailand.com / www.ntthailand.com
 
 
Q5
 การสมัครสอบวิชาเฉพาะในเดือนตุลาคม สมัครผ่านทาง Web site ใช่หรือไม่ ?
A5
 ใช่ครับ แล้วคอยดูประกาศจาก www.cuas.or.th / www.cuas.or.th
 
 
Q6
 ไม่ทราบว่าการสอบ A-NET และ O-NET จะจัดสอบที่ไหนคะ ?
A6
 
 
 
Q7
 นักเรียนสอบข้ามสายได้หรือไม่ เช่น แผนวิทย์ สอบสายศิลป์ ?
A7
ไม่มีข้อห้ามแต่นักเรียนต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่เีรียนมาว่าเน้นทางสายใด และมีความถนัดด้านใด
 
 
Q8
ขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มรับตรงมาก สัดส่วนระหว่างรับตรงกับระบบ Admission เป็นอย่างไร มีการควบคุมหรือไม่ ?
A8
     ในหลัการควรจะเป็นสัดส่วน 50 : 50 ทั้งนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความหลากหลายของ ผู้เรียน การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดจำนวนและวิธีการ รับนักศึกษาเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัยโดยตรง ระบบ Admissions เป็นระบบการรับนักศึกษาที่เป็นความตกลงร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อความสะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของนักเีรียนและผู้ปกครอง ที่ไม่ต้องวิ่งรอกไปสมัครสอบในสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งนี้ที่ประชุมอธิการบดี แห่งประเทศไทยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานกลาง ในการดำเนินการรับสมัคร
       การรับตรงหรือโควตาก็ยังมีความจำเป็นเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ท้องถิ่นและการตอบสนองต่อวัตถุึประสงค์เฉพาะ เช่น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข การรับนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา เป็นต้น
 
 
Q9
คะแนนสอบ O-NET และ A-NET ใช้ได้กี่ปี สามารถใช้ได้ 2 ปีเหมือนเดิมหรือไม่ ?
A9
คะแนน O-NET ใช้ได้ตลอดไปส่วน A-NET ใช้ได้ 3 ปี 
 
 
Q10
นักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนปีการศึกษา 2548 จะสมัครสอบ O-NET ได้หรือไม่ ?
A10
สามารถสมัครได้ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติผ่าน Web Site www.ntthailand.com / www.ntthailand.com
 
 
Q11
นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ต้องการสอบเลือกคณะใหม่ สามารถใช้ระบบ Admissions ได้หรือไม่ อย่างไร  ?
A11
ได้ครับ ขอให้เตรียมสมัครสอบ O-NET และ A-NET และกลับไปให้โรงเรียนคิดค่า GPA 8 กลุ่มสาระด้วย 
 
 
Q12
คะแนน Entrance ปี 48 และปี 47 สามารถเอามาใช้ในการสอบ Entrance ปี 49 ได้หรือไม่ ?
A12
ไม่ได้ ต้องสอบ O-NET และ A-NET ครับ 
 
 
Q13
คะแนน Entrance ของปี 47 ปี 48 สามารถใช้แทนเป็นคะแนน O-NET ได้หรือไม่ ?
A13
ไม่ได้ครับ 
 
 
Q14
นักเีรียนที่จบ ม.6 เมื่อปีการศึกษา 2547 ถ้าจะสอบใหม่ทำอย่างไร ?
A14
1. มีคะแนนของกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ต้องมีคะแนนสอบ O-NET และ/หรือ คะแนนสอบ A-NET 
 
 
Q15
สนามสอบ O-NET กับ A-NET เป็นที่เดียวกันหรือไม่ ?
A15
 ขณะนี้ยังไม่ชัดเจน สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.ntthailand.com / www.ntthailand.com
 
 
Q16
มีการยกเลิก PR ใช่หรือไม่ ?
A16
 ใช่ ระบบ Admissions จะไม่มีการใช้ PR
 
 
Q17
ภาระงานที่โรงเรียนต้องส่งข้อมูลมีอะไรบ้าง และใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เช่น โปรแกรมอะไร ?
A17
คะแนนเฉลี่ยสะสมรวมตลอดหลักสูตรของนักเรียน และคะแนนเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีโปรแกรมที่ใช้สำหรับคำนวณ 
   
Q18
วิชาเฉพาะ สถานที่สอบที่ไหน ?
A18
 ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด จะแจ้งให้ทราบผ่าน www.entrance.mis.mua.go.th / www.entrance.mis.mua.go.th และ www.cuas.or.th
   
Q19
สายศิลป์ สายวิทย์ วิชาที่สอบเหมือนกันหรือเปล่า ?
A19
 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปี พ.ศ. 2544 ไม่มีการแบ่งแยกสายวิทย์หรือสายศิลป์ ดังนั้น นักเรียนทุกคนต้องสอบ O-NET เหมือนกันหมด
   
Q20
วิชาเฉพาะ เช่น วัดแววความเป็นครูสอบช่วงเดือนไหน ?
A20
 เดือนตุลาคมครับ แต่จะใช้ชื่อว่าความถนัดทางวิชาชีพครู
   
Q21
การคุมสอบ O-NET และ A-NET คณะกรรมการคุมสอบมาจากส่วนไหน อาจารย์ โรงเรียน เอกชนสอนศาสนามีสิทธิ์เป็นกรรมการคุมสอบหรือไม่ ?
A21
 การคุมสอบ O-NET และ A-NET จะใช้รูปแบบการบริหารและจัดการคุมสอบผ่านศูนย์สอบของมหาวิทยาลัยเหมือนเช่นใน ระบบเอ็นทรานซ์เดิม

การจัดสอบ A-net และ O-net

                1. O-NET - แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test) เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 วิชา
ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ
 
             จัดสอบเพียงครั้งเดียว สำหรับผู้เรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงนับว่า
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และในปีการศึกษา 2549 กำหนดสอบ O-NET
วันที่ 25 – 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลาสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
 
            2. A-NET - แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขึ้นสูง (Advanced National Educational Test) เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยเน้นทักษะ
ความคิดมากกว่า O-NET ประกอบด้วยวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ
 
             ในระยะแรกจะจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบต่อจากการสอบ O-NET
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2549 นักเรียนสามารถสมัครสอบ A-NET ได้มากกว่า 1 ครั้ง โดยใช้ผลคะแนนการสอบครั้งที่ดีที่สุดยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา การสอบ A-NET แต่ละครั้งจะมีอายุการใช้ 3 ปี ข้อสอบใช้เวลา 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
 
              การจัดสอบ O-NET และ A-NET สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จะร่วมกับสนามสอบของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพ และส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดสอบโดยยึดมาตรฐานเดียวกับ การดำเนินการจัดสอบวัดความรู้ฯ ในระบบ Entrance เดิม

ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู

     มะขาม

[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard]   power by seal2th