กายวิภาคและกลไกของอวัยวะเพศชาย
สรีรวิทยาของการแข็งตัว


กระบวนการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย เกิดจากผลการทำงานหลายอย่าง
ประกอบกัน คือ เมื่อมีสิ่งเร้าทางเพศ จะเกิดการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้
เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดแดง เกิดการขยายตัวของหลอด
เลือดแดง และมีเลือดไหลเข้าสู่หลอดเลือด และโพรงภายในอวัยวะเพศในปริมาณมาก
ขึ้นการพองตัวของอวัยวะเพศจะไปกดหลอดเลือดดำ เลือดไหลออกจากอวัยวะเพศได้
น้อยมาก ทำให้เกิดการคั่งของเลือดภายในอวัยวะเพศ เกิดการแข็งตัว

** สารเคมีที่มีบทบาทสำคัญใน การควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของ
เส้นเลือดภายในอวัยวะเพศ คือ ไนตริกออกไซด์

 

การแข็งตัวของอวัยวะเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ
เกิดขึ้นได้ 3 แบบ คือ


 

* จากจิตใจ : ส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นด้วยรูป รส กลิ่น เสียง จินตนาการ
 
* จากการกระตุ้นระบบเส้นประสาท : ส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นที่
อวัยวะ เพศ โดยตรง
 
* ในยามหลับ : เกิดขึ้นในช่วงของการหลับซึ่งคนปกติจะมีการแข็งตัวคืนละ
4-5 ครั้ง การแข็งตัวส่วนใหญ่เป็นผลร่วมกันของการกระตุ้นทางจิตใจและ
ปฏิกิริยาของระบบ เส้นประสาท
เด็กหญิงมี "รังไข่" และ "มดลูก" ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด อวัยวะทั้งสองเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน เพราะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์และอยู่ภายในร่างกายทั้งรังไข่และมดลูกจะเริ่มทำงาน ก็ต่อเมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาว คือ ประมาณ ๑๑-๑๔ ปี
รังไข่ มีขนาดเล็ก มีอยู่สองอัน อยู่แยกกัน แต่ละอันอยู่ใกล้ "ปากท่อนำไข่" รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งเรียกว่า "เอสโตรเจน" (estrogen) ฮอร์โมนนี้ควบคุมการเกิดลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิงเมื่อมีอายุเข้าสู่วัยสาว เช่น มีเสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอกและอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น มีขนขึ้นตามรักแร้และอวัยวะเพศ มดลูกมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีประจำเดือน เป็นต้น
มดลูกมีอยู่อันเดียว ภายในเป็นโพรง ตอนบนกว้าง และติดต่อกับท่อนำไข่ ตอนกลางแคบ ตอนล่างติดต่อกับ "ช่องคลอด" ส่วนของมดลูกซึ่งติดต่อกับช่องคลอดเรียกว่า "ปากมดลูก" มดลูกเป็นที่อาศัยของทารกขณะอยู่ในท้องแม่
ภายในรังไข่แต่ละข้างมีไข่อ่อน ซึ่งยังไม่เจริญเต็มที่อยู่มากมาย ไข่อ่อน แต่ละใบมี "ถุงไข่" (ฟอลลิเคิล) หุ้มไว้ โดยปกติ รังไข่ผลิตไข่สลับข้างกัน และผลิตเดือนละครั้ง ครั้งละหนึ่งใบ ในการผลิตไข่แต่ละครั้งจะมีถุงไข่เจริญเติบโตขึ้นมาหลายถุง แต่จะมีเพียงถุงเดียวเท่านั้นที่ไข่อ่อนเจริญเต็มที่ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป เมื่อไข่อ่อนเจริญเต็มที่จะหลุดจากรังไข่ลงสู่ช่องท้อง เรียกว่า "ตกไข่" ขณะที่ถุงไข่กำลังเจริญเติบโตจะมีการสร้างเอสโตเจนไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นด้วย เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้วซากถุงไข่ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "โปรเจสเตอโรน" (progesterone) ฮอร์โมนนี้จะทำให้เยื่อบุภายในโพรงมดลูกซึ่งหนาตัวขึ้นนั้น เตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมพันธุ์แล้ว
หลังจากหลุดจากรังไข่ตกลงสู่ช่องท้องแล้ว ไข่จะเคลื่อนที่เข้าสู่ท่อนำไข่ ลงสู่โพรงมดลูกตามลำดับ ขณะที่อยู่ในท่อนำไข่ ถ้ามีการผสมพันธุ์ หรือ "การปฏิสนธิ" เกิดขึ้นระหว่างไข่กับ "อสุจิ" หรือ "สเปิร์ม" (sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายไข่ที่ผสมพันธุ์แล้วจะเคลื่อนที่ลงไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและทารกต่อไปตามลำดับ ถ้าไม่มีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น ไข่จะฝ่อและสลายตัว แล้วเยื่อบุโพรงมดลูกจะเสื่อม และลอกหลุดจากผนังโพรงมดลูก พร้อมทั้งมีเลือดไหลปนออกมาทางช่องคลอด เรียกว่า "ประจำเดือน" หลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกแล้วก็จะมีครั้งต่อไปอีกทุกเดือน เดือนละครั้งจนอายุประมาณ ๔๕-๕๐ ปี จึงจะหยุดมีประจำเดือน โดยทั่วไประยะเวลาของการมีประจำเดือนแต่ละครั้งประมาณ ๓-๕ วัน และปริมาณของเลือดที่ไหลออกมาประมาณ ๕๐-๗๐ มิลลิเมตร ต่อครั้ง เราเรียก "วัยมีประจำเดือน" ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "วัยเจริญพันธุ์" เพราะเป็นวัยที่หญิงสามารถมีลูกได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะการตกไข่เกิดขึ้นเฉพาะในวัยนี้เท่านั้น แต่ในวัยหมดประจำเดือนจะไม่มีการตกไข่ หญิงในวัยหมดประจำเดือนจึงหมดความสามารถที่จะมีลูกได้อีกต่อไป
การมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่า เด็กหญิงนั้นได้เจริญเต็มที่พร้อมที่จะมีลูกได้ โดยปกติการตกไข่และการมีประจำเดือนนั้น เกิดขึ้นทุกเดือน ระยะเวลาระหว่างวันแรกของประจำเดือนครั้งหนึ่งกับวันแรกของประจำเดือนครั้งต่อไปเรียกว่า "รอบเดือน" หรือ "รอบประจำเดือน" โดยทั่วไป "รอบเดือน" กินเวลาประมาณ ๒๘ วัน ก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือน อาจมีอาการบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ปวดศีรษะ เมื่อยล้า หงุดหงิด ปวดท้อง ฯลฯ อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ประจำเดือนมาเร็วหรือช้าเกินไป มีนานกว่าปกติหรือมากกว่าปกติ ขาดประจำเดือนหรือไม่มีประจำเดือนเลย ฯลฯ เหล่านี้ควรไปให้แพทย์ตรวจดูว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากอะไร จะได้ให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการขาดประจำเดือนคือ "การตั้งครรภ์" ในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากประจำเดือนขาดหายไป และไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นแล้ว ร่างกายของแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อเตรียมผลิตน้ำนมไว้เลี้ยงทารก มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น ฯลฯ และอาจมีการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะเกิดขึ้นได้
ในระยะหนึ่งของการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั้น จะมีอวัยวะสำคัญเกิดขึ้น ๓ ชนิด คือ ถุงน้ำคร่ำ รก และสายสะดือ "ถุงน้ำคร่ำ" เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มทารกไว้โดยรอบภายในถุงมีของเหลว เรียกว่า "น้ำคร่ำ" บรรจุอยู่ ถุงน้ำคร่ำทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ทารกในท้องได้รับความกระเทือน "รก" เป็นอวัยวะที่อยู่ระหว่างผนังโพรงมดลูกของแม่กับสายสะดือของทารก รกทำหน้าที่แลกเปลี่ยน อาหาร อากาศ และของเสียระหว่างแม่กับทารก ส่วนสายสะดือทำหน้าที่สื่อสารดังกล่าว เนื่องจากเส้นเลือดของแม่และทารกไม่ได้เชื่อมติดกันโดยตรง ดังนั้น เลือดของแม่และทารกจึงไม่ปนกัน อาหารและออกซิเจนจะแพร่ออกจากเลือดของแม่ผ่านรกเข้าสู่เลือดของทารก ส่วนของเสียจะแพร่ออกจากเลือดของทารกผ่านรกเข้าสู่เลือดของแม่ เพื่อให้ร่างกายแม่ขับออกสู่ภายนอก
โดยปกติระยะเวลาของการตั้งครรภ์ประมาณ ๒๘๐ วัน หรือ ๔๐ สัปดาห์นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นต้นไป เมื่อท้องครบกำหนดแม่จะเจ็บท้อง กล้ามเนื้อมดลูกจะบีบตัว ทำให้ทารกเคลื่อนที่ต่ำลงไปโดยหันศีรษะลงสู่ช่องคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิด และเปิดมากขึ้นตามลำดับ เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ ถุงน้ำคร่ำจะแตกออกทารกจะเคลื่อนตัวผ่านออกมาทางช่องคลอด ส่วนรกจะหลุดตามออกมาหลังคลอดแล้ว
การคลอดตามขั้นตอนดังกล่าว เป็นการคลอดตามธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นการคลอดปกติ ส่วนการคลอดที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือต้องผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องของแม่นั้นเป็นการคลอดผิดปกติ สาเหตุสำคัญที่ทำให้คลอดผิดปกติมีหลายประการ เช่น ทารกมีขนาดใหญ่เกินไป หรือไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของช่องเชิงกรานของแม่ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ รกเกาะต่ำ เป็นต้น
สมัยก่อนคนไทยนิยมคลอดตามบ้าน โดยมี "หมอตำแย" เป็นผู้ทำคลอด แต่ปัจจุบันนิยมคลอดที่โรงพยาบาลที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เพราะปลอดภัยกว่า เนื่องจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมีอุปกรณ์สำหรับคลอดพร้อมและทันสมัย สะอาด ปราศจากทารกให้ปลอดภัยและปราศจากภาวะแทรกซ้อนได้ เพราะทั้งแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ต่างก็ได้รับการศึกษาและผ่านการฝึกฝนในเรื่องทำคลอดมาแล้วเป็นอย่างดี
ในบรรดาวิชาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหลักสูตรแพทย์และพยาบาลนั้น มีวิชาที่ว่าด้วยระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงอยู่ ๒ วิชา คือ "สูติศาสตร์" และ "นรีเวชวิทยา" คำว่า "สูติ" แปลว่าเกิด "ศาสตร์" แปลว่าวิชา ดังนั้น "สูติศาสตร์" จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการเกิด ซึ่งหมายรวมทั้งการตั้งครรภ์ปกติและไม่ปกติ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และ การดูแลหลังคลอด แพทย์ซึ่งมีหน้าที่ทำคลอดเรียกว่า "สูติแพทย์" ส่วนพยาบาลซึ่งได้รับการอบรมจนสามารถทำคลอดได้เรียกว่า "พยาบาลผดุงครรภ์"
ส่วนคำว่า "นรี" แปลว่าหญิง "เวช" แปลว่านายแพทย์ "วิทยา" แปลว่าความรู้ดังนั้น "นรีเวชวิทยา" จึงหมายถึงความรู้ทางแพทย์ที่ว่าด้วยเรื่องของหญิง เป็นความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติ และโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์ของหญิง เช่น เนื้องอก มะเร็ง การอักเสบและการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น

 

กายวิภาค

อ้างอิง

www.menhealth.pfizer.co.th/html/learninged/ed2thai.htm
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK9/chapter2/t9-2-m.htm
http://www.doctor.co.th/cgi-bin/yabb/SanSexTalk.pl?board=interactivestory;action=display;num=1062760920
 

ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู

     มะขาม

[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard]   counter power by seal2th