การเจริญเติบโตของคน
โดย อ.เรณู บุญเสรฐ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
การเจริญเติบโตของคนในระยะเอ็มบริโอ |
การเจริญเติบโตของคน เริ่มจากไข่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิเป็นไซโกตที่บริเวณท่อนำไข่ส่วนต้น จากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนในระยะคลีเวจพร้อมกับเคลื่อนที่ตามท่อนำไข่ ฝังตัวในผนังมดลูก เมื่ออายุได้ประมาณ 7 วัน ซึ่งอยู่ในระยะบลาสทูลา จากนั้นเอ็มบริโอ จะเข้าสู่ระยะที่แกสทรูลาเกิดเนื้อเยื่อ 3 ชั้นเมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีความยาว 1.5 มิลลิเมตร ในสัปดาห์ที่ 3 จะปรากฏร่องรอยของระบบและอวัยวะขึ้น ซึ่งเข้าสู่ระยะออร์แกนโนจีเนซิส จะมีการสร้างอวัยวะจนครบภายในเวลา 8 สัปดาห์ซึ่งเป็นระยะสิ้นสุด ของเอ็มบริโอ และหลังจากระยะนี้แล้วจะเรียกว่าฟีตัส |
การเจริญเติบโตของคนระยะฟีตัส |
เมื่ออายุได้ 8-9 สัปดาห์ จะมีนิ้วมือและนิ้วเท้าเจริญเห็นได้ชัดเจนสามารถแยกเพศได้
ช่วงเดือนที่ 4-6 ฟีตัสจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
มีการเจริญของกระดูก มีผม และขน ในช่วง 3
เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จะมีขนาดโตเพิ่มมากขึ้นในระยะนี้
เป็นระยะที่ระบบประสาทเจริญมาก หลังจากแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 280 วัน ซึ่งนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน ครั้งสุดท้ายก็ถึงระยะครบกำหนดคลอดออกมาโดยส่วนใหญ่ส่วนหัวของทารกจะออกมาก่อน หลังจากคลอดออกมาประมาณ 1 นาทีทารกจะเริ่มหายใจและติดตามด้วยเสียงร้อง |
การเจริญเติบโตของคนระยะหลังคลอด |
การเจริญเติบโตของคนในระยะหลังคลอดนี้ส่วนใหญ่จะมีการเพิ่มความสูงและน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะไม่เท่ากัน |
สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ |
เอ็มบริโอและฟีตัสได้รับอาหารจากแม่โดยผ่านทางรก ผู้เป็นแม่จึงต้องบริโภคอาหาร
ให้ครบและพอเพียงต่อความต้องการ ครบสารอาหารหลัก 5 หมู่ โดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์
ไข่ นม และถั่วเหลือง และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
พบว่าถ้าขาดสารอาหารประเภทโปรตีนในระยะ 3
เดือนก่อนคลอดจะทำให้การเจริญของระบบประสาทของทารกผิดปกติ หญิงมีครรภ์ควรได้รับพลังงานจากอาหารวันละประมาณ 2,300 กิโลแคลอรี่ สารเคมีบางอย่างที่แม่ได้รับอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้โดยเฉพาะการเจริญของเอ็มบริโอระยะ 2 เดือนแรก ถ้าเอ็มบริโอได้รับสารพวกเทอราโทเจน (teratogens) การดื่มสุราและ การสูบบุหรี่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะผิดปกติและอาจก่อให้เกิดการแท้ง หญิงตั้งครรภ์ในระยะต้น ๆ ถ้าติดเชื้อหัดเยอรมันจะทำให้การเจริญเติบโตของหัวใจ เลนส์ตา หูส่วนใน และสมองของเอ็มบริโอผิดปกติได้ การได้รับรังสีเอ็กซ์ (x-rays) มากเกินไป ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตก็มีผลต่อการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ |
อ้างอิง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนชีววิทยา ว 043
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2533). 2544. หน้า 92-93.
เล่มเดิม. หน้า 94.
เล่มเดิม. หน้า 99
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู
[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard] power by seal2th