จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในปี 2551 บ้าง
โดย มงคล กริชติทายาวุธ
ส่งมาโดย อ.วาสนา บุญโสภา
มีคำถามที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในปี 2551หลั่งไหลเข้ามาหาผู้เขียนค่อนข้างมาก
หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เศร้าสลดเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547
อันเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ขยับตัว
และซ้อนเกยกันบริเวณเหนือเกาะสุมาตรา ซึ่งอยู่ห่างจากประเทศไทยประมาณ 400 กิโลเมตร
มีอัตราการสั่นไหว 9 ริกเตอร์ เป็นเหตุให้ประเทศไทยได้รับความสูญเสีย
โดยได้คร่าชีวิตผู้คนที่พักอยู่อาศัย และมาท่องเที่ยวใน 6
จังหวัดริมฝั่งทะเลอันดามัน โดยพบศากศพมากกว่า 5,000 ศพ บาดเจ็บมากกว่า 10,000 คน
และยังสูญหายอีกมากกว่า 3,000 คน โดยมีผู้คนของประเทศต่างๆอีกหลายประเทศ
ที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล
เมื่อนับจำนวนซากศพผู้ที่เสียชีวิตในคราวเกิดคลื่นยักษ์สึนามิครั้งนี้
ก็มีจำนวนมากกว่า 220,000 ศพ ทั้งนี้เนื่องจากในปี 2534
ผู้เขียนเคยเขียนเตือนเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ซูนามิ
ที่จะเกิดขึ้นโดยมีผลกระทบต่อประเทศไทย ( คำที่ถูกต้องในปัจจุบัน เรียกว่า สึนามิ)
และได้เขียนบทความอีกครั้งในต้นปี2539
รวมทั้งผู้เขียนได้เคยออกรายการให้สัมภาษณ์คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ itv 2
เสาร์ติดกันในรายการ น้ำท่วมโลก ในปลายปี 2539 ซึ่งมีผู้เคยอ่านบทความ ในปี 2534
แจ้งว่าผู้เขียนเคยเขียนเตือนให้ระวังซูนามิที่จะเกิดในปี 2547 , 2551 หรือ 2560
ในประเทศไทยมาก่อนแล้ว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปลายปี 2547 นี้
หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในปี 2551 หรือ ปี 2560 นั้น
ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเหตุการณ์ในปี 2551 หรือ ปี 2560
นั้น จะเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า อภิมหามหันตวิปโยคสุดแสนโศกสลด ทั้งนี้
เพราะจะมีผู้คนเสียชีวิตมากกว่าเหตุการณ์ช่วงปลายปี 2547 ประมาณ 1,000 เท่า
หรือถ้าจะพูดให้ชัดมากขึ้นคือ
มีคนตายมากกว่าเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกของช่วงปลายปี 2547 นี้ถึง 1,000
เท่าทีเดียว
เหตุการณ์อะไรเล่า
ที่ทำให้มีคนตายประมาณ 220 ล้านคน ในปี 2551 (ปลายปี 2547
เหตุจากคลื่นสึนามิได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายประเทศรวมกัน มากกว่า 220,000 คน)เหตุการณ์ในปี
2551 หรือ ปี 2560 มิได้มาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เดียว
แต่มีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นภายในปีเดียว คือปี 2551 หรือ ปี 2560 ตลอดทั้งปี
เสมือนพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกถูกถล่มด้วยพระราหู ทั้งนี้
เพราะเป็นช่วงเวลาที่เปลือกโลกหลายแผ่นมีการขยับเคลื่อนตัว และเกยทับกัน (การเกยทับกันเพียงเล็กน้อยของชั้นเปลือกโลก
บริเวณเหนือเกาะสุมาตราเพียงจุดเดียว เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547
เป็นเหตุให้เกิดการไหวของแผ่นดินถึง 9 ริกเตอร์
ทำให้เกิดคลื่นยักษ์วิ่งไปถึงชายฝั่งอัฟริกา ซึ่งมีระยะห่างกันหลายพันกิโลเมตรได้)
ในปี 2551 หรือ ปี 2560 นั้น จะมีการเกยทับกันทั้งในบริเวณใต้ทะเลลึก
และบริเวณที่เป็นพื้นแผ่นดินในหลายทวีป ความรุนแรงมีขนาดตั้งแต่ 9.5 ริกเตอร์ขึ้นไป
(ปกติถ้ามีการไหวของแผ่นดินเพียง 6.5 ริกเตอร์ ก็เป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือน
ตึกรามอาคารบ้านช่อง ถนนหนทางถล่มทลาย สามารถสร้างความเสียหายได้แล้ว
แต่ถ้าเกิดการไหวของเปลือกโลกบริเวณใต้ทะเลลึก ประมาณ 7.5 ริกเตอร์
จะเกิดคลื่นสึนามิ (คลื่นยักษ์) ซึ่งในปี 2551 หรือ ปี 2560 จะมีการเกิดแผ่นดินไหว
ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีขนาด 9.5 ริกเตอร์ขึ้นไป)
สำหรับในประเทศไทยเอง ผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกในปี 2551 หรือ ปี
2560 นั้น จะเกิดบนพื้นแผ่นดินประมาณ 3 4 จุด
ซึ่งในทะเลก็มีทั้งบริเวณเหนือเกาะสุมาตรา และบริเวณใกล้เกาะบอร์เนีย และอีก 2
รอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งจะมีผลทำให้เขื่อนใหญ่ 2 เขื่อนแตก และ ตึกราม
บ้านเรือน สะพานและถนนหนทางพังพินาศทลายลงเป็นจำนวนมาก สำหรับจังหวัดชายฝั่งทะเล
ก็จะได้พบกับสึนามิ หรือคลื่นยักษ์อีกครั้ง
ด้วยความรุนแรงของการเกยทับของแผ่นเปลือกโลกอีกครั้งด้วยความแรงมากกว่าเดิม คือ
ขนาด 9.5 ริกเตอร์ ขึ้นไป แม้ระบบเตือนภัยจะทำงานในอนาคต
แต่ความเร็วของคลื่นสึนามิใช้ความเร็วในทะเลประมาณ 500 กม./ ชั่วโมง
นักวิชาการบางท่านบอกว่ามีความเร็วระหว่าง 600 800 กม./ ชั่วโมง
ผู้คนจำนวนมากยังไม่ใส่ใจคำเตือน คนจำนวนมากหนีไม่รอด ศพตายเป็นเบือ
โผล่ให้เห็นในน้ำยิ่งกว่าดอกเห็ด แม้จะได้ทราบคำเตือน
แต่ความประมาทของประชาชนที่ไม่ติดตามข่าวสารก็คงยากที่จะป้องกันความเสียหายชีวิตของผู้คนและทรัพย์สินที่อยู่ชายฝั่งทะเล
ยกเว้นท่านต้องร่นให้อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลให้มากหน่อย
โดยมีต้นไม้ใหญ่เป็นกำแพงกั้น หรือภูเขาสูงบังไว้ (
ความจริงตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน บริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณเกาะ บริเวณภูเขา
จะต้องเป็นที่สาธารณะเท่านั้น จะไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
แต่ด้วยความฉ้อฉล ฉ้อโกง ของบุคคลผู้มีความละโมบโลภมาก
ร่วมกับข้าราชการที่มีหน้าที่ออกหลักฐานกรรมสิทธิ์ ( โฉนด)
ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. 1,2,3) ออกหนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.)
กลับกระทำละเมิดกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ออกหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ผิดกฎหมาย
จึงทำให้ข้าราชการ นักการเมืองและผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย
ได้สิทธิ์ที่ผิดกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน กลายเป็นเจ้าของเกาะ เจ้าของภูเขา
เจ้าของชายฝั่งทะเล ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินจริงๆนั้น ต้องเป็นที่สาธารณะ
กลายเป็นสถานที่ส่วนบุคคล
หากว่ากันตามกฎหมายทรัพย์สินจริงๆทุกสถานที่ดังกล่าวข้างต้น คือ ชายฝั่งทะเล
บริเวณที่เป็นเกาะ บริเวณที่เป็นภูเขา
เป็นสถานที่ที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทรัพย์สิน)
สิ่งสำคัญที่ทุกคนที่อยู่ริมฝั่งทะเลต้องรับทราบ คือ
เมื่อใดมีเหตุการณ์ขึ้นลงของน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว ต้องรีบหนี 2 วิธี คือ
วิ่งเรือออกสู่กลางทะเลลึก ถ้าขณะนั้นอยู่บนเรือในทะเล
ห้ามกลับเข้าชายฝั่งทะเลเป็นอันขาด อีกวิธี คือให้วิ่ง
หรือขับรถขึ้นที่สูงที่มีความมั่นคงแข็งแรงโดยเร็ว ซึ่งถ้ามีภูเขา
ขึ้นเขาให้เร็วที่สุด ถ้ามีตึกที่มั่นคงแข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง
ต้องอาศัยเป็นที่ยึดไว้ก่อน อาคารที่บอบบาง ที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
ห้ามเข้าไปอาศัยในช่วงขณะนั้น เพราะตัวอาคารอาจพังทลายได้แม้จะขึ้นบนชั้นสูง
แต่ถ้าฐานรากไม่ดี อาคารพังทลายลงมาได้ง่าย ผู้หนีไปอยู่ชั้นบนของอาคาร
ก็ไม่รอดเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อใดที่อยู่บริเวณชายทะเลในปี 2551 หรือ ปี 2560
กรุณามองทางหนีทีไล่ไว้ล่วงหน้าก็มีส่วนช่วยให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง
กรณีที่พึงต้องระวังเพิ่มขึ้นก็คือ
ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองโดยเฉพาะแม่น้ำสายใหญ่ๆทุกสาย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตาปี แม่น้ำโขง ฯลฯ ถ้ามีลักษณะขึ้นลงเร็วผิดปกติ
ผิดธรรมชาติที่เคยมีเคยเป็น
โปรดเตรียมการอพยพขนย้ายหาที่อยู่อาศัยพักพิงใหม่โดยเร็ว
และอีกเรื่องหนึ่ง โปรดศึกษาและสังเกตคำเตือนของคนโบราณที่ให้สังเกตดูลม ฟ้า อากาศ
และอาการของสัตว์ต่างๆที่แสดงออกก่อนที่จะเกิดภยันตรายต่างๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าว
ผู้เขียนไม่มีข้อมูลเพียงพอ
จึงขอบอกกล่าวประชาสัมพันธ์ท่านผู้รู้ที่มีโอกาสอ่านสารชมรมฯฉบับนี้ว่า
ถ้าท่านทราบคำบอกเล่า หรือคำสอนสั่งของปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา คุณพ่อคุณแม่
หรือครูบาอาจารย์ พี่น้องลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย หรืออ่านพบจากหนังสือใดๆ
ที่บอกกล่าวในเรื่องดังกล่าว กรุณาช่วย E- mail แจ้งมาให้ผู้เขียนได้ทราบที่
mkrichti @ ktb.co.th ด้วย จักขอบคุณยิ่ง หรือส่งทางโทรสารที่หมายเลข 0 2256
8320 ก็ได้ หรือส่งทางไปรษณีย์ที่ตู้ ปณ. 1234 นานา กรุงเทพฯ 10112
ซึ่งเป็นตู้ไปรษณีย์ของชมรมศาสนาและการกุศลได้เช่าไว้เป็นเวลา 3 ปี ( พศ. 2548
2550 ) ด้วย ก็จักขอบคุณยิ่ง
สัตว์มีประสาทสัมผัสบางเรื่องและหลายเรื่องดีกว่ามนุษย์
จากสัญชาติญาณจะทราบล่วงหน้าว่า ภัย หรือ ภยันตรายกำลังจะคืบคลานมาถึง
ด้วยสัญชาติญาณเพื่อความอยู่รอด ก็จะกระเสือกกระสนหนีตายก่อน
หรืออาจเกิดสิ่งผิดปกติบางประการที่แตกต่างกับความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 มีปลาวาฬ 165 ตัว มานอนตายเกยชายหาดของประเทศออสเตรเลีย
พอเดือนถัดมา คือ เดือนธันวาคม 2547
ก็มีคลื่นสึนามิถล่มเมืองชายฝั่งทะเลอันดามันไปหลายประเทศ
ซึ่งจะต้องย้อนกลับไปดูอดีต ทั้งนี้การนอนตายเกยชายหาดของปลาน้ำลึก
มีมาหลายครั้งหลายหน เพียงแต่ไม่มีผู้ใดโยง 2 เหตุการณ์
ให้กลายเป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันเท่านั้น
ในปี 2551 หรือ ปี 2560 นั้น นอกจากจะมีแผ่นดินไหวบนพื้นดิน และใต้ทะเลลึกแล้ว
ปัญหาที่เกิดจากฝนตกหนัก โคลนถล่ม น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุโซนร้อน ดีเปรสชั่น ทอนาโด
และเฮอริเคน ต่างก็มาเยี่ยมเยือนประเทศต่างๆ
ไม่เพียงเท่านั้นบางประเทศแอบทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ระเบิดไฮโดรเจน
อาวุธเชื้อโรคและอาวุธสารเคมี (เป็นปีที่มีการทดลองอาวุธร้ายแรงมากที่สุดในรอบพันปี)
จนปรากฏความเปลี่ยนแปลงของพื้นเปลือกโลกหลายชิ้น ก่อให้เกิดแผ่นดินยุบ ธรณีสูบ
เกาะแก่งสูญหาย แผ่นดินโผล่ขึ้นมาใหม่ และเกิดโรคระบาดคนและสัตว์ไปทั่ว
มีคนตายมากกว่า 220 ล้านคน แต่บางท่านว่าอาจถึง 1,000 ล้านคน (ผู้เขียนไม่ยืนยันตัวเลข
เพราะไม่สนใจจะไปนับซากศพที่ตายเกลื่อนกลาด)
ข่าวดี ขณะนี้ มีแนวโน้มว่าเหตุการณ์ที่จะเกิดในปี 2551 (คศ. 2008)
อาจขยับเขยื้อนเคลื่อนไปเกิดในปี 2560 (คศ. 2017) แต่ยังไม่มีผู้ใดกล้ายืนยันฟันธง
ประการสำคัญ คือ ต้องไม่ประมาท ถ้าเหตุการณ์เลวร้ายระดับ
อภิมหามหันตวิปโยคสุดแสนโศกสลด ถ้าเกิดในปี 2551 โดยไม่เปลี่ยนกำหนดการล่ะ
ท่านควรประพฤติปฎิบัติตนในปัจจุบันอย่างไร ?
ผู้เขียนขออนุญาตนำผลการบันทึกของกรมอุตุนิยมวิทยา มาเรียนให้ท่านทราบว่า
กรมอุตุนิยมวิทยามีบันทึกการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่วัดได้ในอดีตหลายจุด
หลายจังหวัด เช่น
- 17 ก.พ. 2518 มีแผ่นดินไหวที่บริเวณ อ. ท่าสองยาง จ. ตาก ขนาด 5.6 ริกเตอร์
- 15 เม.ย. 2526 อ. ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 5.5
- 22 เม.ย. 2526 อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี 5.9
- 11 ก.ย. 2537 อ. พาน จ. เชียงราย 5.1
- 9 ธ.ค. 2538 อ. ร้องกวาง จ. แพร่ 5.1
- 21 ธ.ค. 2538 อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ 5.2
- 22 ธ.ค. 2539 บริเวณพรมแดนไทย ลาว 5.5
- 29 มิ.ย. 2542 บริเวณจังหวัดเชียงราย 5.6
- 15 ส.ค. 2542 บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ 5.6
- 20 ม.ค. 2543 บริเวณจังหวัดน่าน, แพร่, พะเยา, เชียงราย 5.9
- 14 เม.ย. 2543 บริเวณจังหวัดสกลนคร 4.9
- 29 พ.ค. 2543 บริเวณ อ. สันกำแพง, อ.สันสันทราย จ. เชียงใหม่ 3.8
- 7 ส.ค. 2543 อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ 3.0
มาตราริกเตอร์นั้นแบ่งออกเป็น 6 ระดับ คือ
ขนาด 1.0 2.9 ริกเตอร์ จะเกิดการสั่นไหวเล็กน้อย
ประชาชนรับความรู้สึกได้ บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
ขนาด 3.0 3.9 ริกเตอร์
ผู้อยู่ในอาคารจะรู้สึกสั่นไหวเหมือนมีรถไฟหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งผ่านข้างบ้านที่พักอาศัย
ขนาด 4.0 4.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวขนาดปานกลาง
วัตถุที่แขวนไว้จะมีอาการแกว่งไกวไปมา
ขนาด 5.0 5.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวรุนแรง บริเวณกว้าง เครื่องใช้ไม้สอย
และวัตถุสิ่งของเคลื่อนที่
ขนาด 6.0 - 6.5 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไวรุนแรงมาก อาคารบ้านเรือนจะเกิดความเสียหาย
มีการพังทลาย
ขนาด 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จะเกิดความสั่นไหวรุนแรง
อาคารสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง สะพาน จะเกิดความเสียหายมาก
แผ่นดินแตกแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นจะถูกเหวี่ยงกระเด็น
ในอดีตประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา
มีแผ่นดินไหวหลายครั้งที่ทำความเสียหายให้แก่ประเทศต่าง ๆ เช่น
20 ก.ค.2519 แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ ที่เมืองตังชาน มณฑลเหอเป่ย ของจีน
มีคนตาย 242,000 คน บาดเจ็บ 164,000 คน
19 ก.ย. 2528 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ ที่ประเทศแม็กซิโก มีคนตายมากกว่า
100,000 คน
7 ธ.ค. 2531 แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ ที่อาร์มาเนีย มีคนตายมากกว่า 25,000 คน
21 มิ.ย. 2533 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่อิหร่าน มีคนตายมากกว่า 40,000 คน
30 ก.ย. 2536 แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ ที่อินเดีย มีคนตายประมาณ 10,000 คน
17 ม.ค. 2538 แผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริกเตอร์ ที่โกเบ โอซาก้า ญี่ปุ่น มีคนตายประมาณ
6,400 คน
10 พ.ค. 2540 แผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ที่ทางตะวันตกของอิหร่าน มีคนตาย 16,130
คน บาดเจ็บ 37,120 คน
4 ก.พ. 2541 แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ ที่อัฟกานิสถาน มีคนตายประมาณ 4,000 คน
30 พ.ค. 2541 แผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ที่อัฟกานิสถานเช่นเดิม มีคนตายประมาณ
5,000 คน
17 ส.ค. 2542 แผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ เกิดที่ตุรกี มีผู้เสียชีวิต 15,613 คน
บาดเจ็บประมาณ 25,000 คน
26 ม.ค. 2544 แผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ เกิดที่รัฐคุชราช อินเดีย
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 160,000 คน
25 ม.ค. 2545 แผ่นดินไหวขนาด 6.0 ริกเตอร์ เกิดที่อัฟกานิสถาน มีผู้เสียชีวิตประมาณ
5,000 คน
21 พ.ค. 2546 แผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ เกิดที่เมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย
มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,000 คน มีผู้บาดเจ็บประมาณ 10,000 คน
26 ธ.ค. 2546 แผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ เกิดที่เมืองบาม ประเทศอิหร่าน
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 31,000 คน บาดเจ็บมากกว่า 18,000 คน
ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว
ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่เคยเกิดในอดีต เหตุการณ์ใหญ่ยังมาไม่ถึง
จึงไม่อยากให้ท่านประมาทเหตุการณ์ต่างๆ ในปี 2551
บทส่งท้ายที่ขอให้ข้อมูลแก่ท่านผู้อ่านเพิ่มอีกนิด คือ ได้รับทราบข้อมูลจาก
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงของโลก
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า
มีการเคลื่อนที่ของพิกัดบนเกาะภูเก็ตจริง และจากผลการศึกษาของคุณเลิศสิน
รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี พบว่าหลังจากการเกิดแผ่นดินไหว
มักจะมีการยุบของแผ่นดิน หรือแผ่นดินถล่มติดตามมา
ตัวบ่งชื้หรือลักษณะเตือนภัยเกิด แผ่นดินยุบ มี 3 อย่าง
1. สังเกตได้จากการได้ยินเสียงดังคล้ายดินถล่มมาจากใต้ดิน
2. บริเวณนั้นมีน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินโดยไม่มีสาเหตุ และ
3. มักมีรอยแตกคล้ายร่างแห หรือใยแมงมุมยาว 3 5 เมตร ในบริเวณนั้น
ผอ.เลิดสินบอกว่า ถ้าพบสิ่งบอกเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3
ลักษณะที่ว่าให้ผู้อยู่ในบริเวณนั้นรีบถอยห่าง และแจ้งเจ้าหน้าที่ทางการ
หรือกรมทรัพยากรธรณีโดยด่วน เพราะอาจเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินยุบตัวในบริเวณนั้นได้
ผอ.สำนักธรณีวิทยาเตือนว่า ในเมืองไทยพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดแผ่นดินยุบตัว
หลังเกิดแผ่นดินไหว มีมากถึง 49 จังหวัด
จังหวัดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินยุบสูงมี 23 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี นครราชสีมา
เพชรบูรณ์ สระแก้ว ขอนแก่น นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ฉะเชิงเทรา น่าน ระนอง
สุราษฎร์ธานี ชัยนาท ปราจีนบุรี ราชบุรี อุดรธานี ชุมพร พะเยา ลำปาง อุทัยธานี
เชียงใหม่ พัทลุง และ เลย
จังหวัดที่มีโอกาสเกิดแต่ไม่ถึงกับเสี่ยงสูง มี 26 จังหวัด คือ กระบี่ ตาก สตูล
นครศรีธรรมราช เพชรบุรี กำแพงเพชร แพร่ สระบุรี จันทบุรี นราธิวาส ยะลา สุพรรณบุรี
ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ปัตตานี ลพบุรี อุตรดิตถ์
เชียงราย พังงา ลำพูน ตรัง สงขลา และพิษณุโลก
นอกจาก แผ่นดินยุบ เป็นปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังแผ่นดินไหวรุนแรง
แผ่นดินถล่ม (Landslide) อาจเป็นอีกของแถมตามมา
แผ่นดินถล่ม หมายถึง ภาวะการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน
เป็นกระบวนการซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนที่ของดินหรือหินตามแนวลาดชัน
โดยมีแรงดึงดูดของโลกเข้ามาเกี่ยวการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือหิน
อาจมีความเร็วตั้งแต่ปานกลางจนถึงเร็วมาก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย วิศวกรโครงการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากคณะวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที)
หัวหน้าคณะวิจัยในโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประเทศไทย (ระยะที่ 1) บอกว่า
ผลของแผ่นดินไหว ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนไปทั่วแผ่นดิน
อาจก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มในบริเวณที่มีความลาดชัน
ส่งผลให้มวลดินหรือแผ่นดินเลื่อนไถลลงมายังพื้นที่ราบ หรืออาจเกิดภาวะแผ่นดินยุบ
ซึ่งคนไทยมักเรียกกันว่าธรณีสูบขึ้นได้
ในเมืองไทยโอกาสที่จะเกิด แผ่นดินยุบ เป็นหลุมกว้าง
หลังเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของเพดานโพรงหินปูน
ซึ่งอยู่ใต้ผิวดินแด่ละบริเวณ ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้ออกสำรวจ เฝ้าระวัง
และติดตามตรวจสอบเป็นระยะ บริเวณนั้นมีความลาดเอียง เช่น บริเวณที่ราบสูงต่างๆ
ทั้ง 2 กรณี อาจทำให้ก้อนธรณีหรือมวลดินมหึมาทรุดตัวลงมา
ยิ่งถ้าเกิดขึ้นบริเวณริมถนนหรือชุมชน ซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น ถือว่าอันตราย
แต่ปัญหาเฉพาะหน้าที่น่าเป็นห่วงกว่าและหลายคนมองข้าม
ก็คือผลของแผ่นดินไหวที่มีต่ออาคารซึ่งถูกต่อเติมหรือก่อสร้างผิดแบบ
เรามักจะย่ามใจกันว่า
ดูจากประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในเมืองไทยผ่านมามักจะไม่รุนแรง
และมักเกิดตามรอยเลื่อนที่สำคัญ เช่น ในภาคเหนือ เคยมีแผ่นดินไหวขนาด 5 6
ริกเตอร์ เกิดขึ้น 8 ครั้ง ในรอบ 30 ปีมานี้
แต่หารู้ไม่ว่า แผ่นดินไหวขนาดกลางเพียง 5 ริกเตอร์กว่าๆ
ซึ่งคิดกันว่าไม่น่าอันตราย เป็นความเข้าใจผิดมหันต์
เพราะหากศูนย์กลางการเกิดอยู่ที่ภาคเหนือ หรือแถวกาญจนบุรี
ซึ่งยังมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่ จะก่อความเสียหายอย่างมโหฬาร
เพราะมีรัศมีการทำลายที่อาจแผ่กว้างไปไกลถึง 20 กิโลเมตร
ดร.เป็นหนึ่งบอกว่า เรามักสนใจแต่เพียงว่ารอยเลื่อนหรือรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก
ซึ่งมีการเคลื่อนตัวได้และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว มีอยู่ 2 แบบหลักๆ
แบบแรก รอยเลื่อนที่ตายแล้ว (ไม่มีพลัง) ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน และภาคใต้ของไทย
อีกแบบ รอยเลื่อนที่ยังไม่ตาย (มีพลัง) อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก
เราคิดว่ารอยเลื่อนพวกนั้นอยู่ไกลตัว และในรัศมีใกล้ กทม.
ไม่มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แต่หารู้ไม่ว่า ยังมีความเสี่ยง จ่อคอหอย
เพราะระยะห่างจาก กทม.โดยรอบ 200 400 กม. มีรอยเลื่อนใหญ่อันดามัน
ซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8 ริกเตอร์ และรอยเลื่อนย่อยที่กาญจนบุรี
มีโอกาสเกิดได้เกิน 7 ริกเตอร์
คุณรู้มั้ย ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7 ริกเตอร์กว่าที่เมืองกาญจน์
อาคารสูงที่มีโครงสร้างอ่อนแอในกรุงเทพฯ
มีโอกาสโยกไหวรุนแรงหรือพังโครมลงมาได้ทั้งหลัง
ดร.เป็นหนึ่งบอกว่า แม้ แผ่นดินยุบ และ แผ่นดินถล่ม
สร้างความน่าสะพรึงให้แก่ผู้อยู่ในบริเวณที่ล่อแหลม
แต่เมื่อเทียบระดับความน่าสะพรึงกันแล้ว ทั้งรอยเลื่อนใหญ่ในทะเลอันดามัน
และรอยเลื่อนแขนงที่ จ.กาญจนบุรี
เปรียบเสมือนระเบิดเวลากลางเมืองกรุงที่น่าสะพรึงกว่า
เขาบอกว่า ทุกวันนี้อาคารสูงส่วนใหญ่ใน กทม. ไม่มีการออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว
ส่วนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในภาคเหนือ
แม้ปัจจุบันมีกฎหมายบังคับให้ออกแบบอาคารสูง รองรับแผ่นดินไหว
แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครสนใจปฏิบัติ
ดร.เป็นหนึ่งว่า ทางออกที่ดีในการล้อมคอก ก่อนเกิดปัญหาไม่คาดคิด
สำหรับอาคารสูงในกรุงเทพฯ หรือบางจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ที่จะสร้างขึ้นใหม่
ควรนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด
ให้มีการออกแบบโครงสร้างเผื่อรองรับกรณีแผ่นดินไหว
ส่วนอาคารสูงสำคัญหรือมีผู้ใช้งานมาก ที่สร้างขึ้นมาแล้ว
แต่ยังไม่มีระบบรองรับแผ่นดินไหว แก้ไขได้โดยออกมาตรการบังคับให้เจ้าของอาคาร
เสริมตัวโครงสร้างทั้งคานและเสา โดยใส่เฟรมเหล็กเพิ่มเข้าไป
หรือปรับปรุงเสาและคานบางจุดให้แข็งแรงขึ้น ไม่ก็ทำเป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก
(คสล.) เข้าช่วยในบางจุดเพื่อลดความอ่อนแอของตัวอาคาร
ถ้าคิดจะป้องกันแก้ไขจริงจังตอนนี้ ยังไม่สายเกินไป แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย
วันหน้าอาจสายเกินแก้ และต้องเสียใจกว่าเหตุการณ์สึนามิ
ดร.เป็นหนึ่งฝากประโยคทิ้งท้าย นั่นคือ
สิ่งที่ผู้เขียนขอนำข้อมูลด้านวิชาการมาฝากเพิ่มเติมครับ
มงคล กริชติทายาวุธ
ศุกร์ที่ 14 มกราคม 2548 23.59 น.
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู
หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard] power by seal2th