พระราชบัญญัติการศึกษาในทัศนะของข้าพเจ้า
โดย นางสายชล วนาธรัตน์
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาหลักสูตรและการสอน
การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
เกิดขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี
เศรษฐกิจการค้า อย่างรวดเร็ว การแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง กับต่างประเทศ
และเพื่อไม่ให้ประเทศตกเป็นรองประเทศอื่นไม่ว่าในด้านใดๆก็ตามต้องเป็นผลมาจากประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ
รู้เท่าทันสังคมโลก
ในต่างประเทศก็เช่นกันทุกประเทศต่างก็ต้องปฏิรูปการศึกษาในประเทศของตนให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วทั้งสิ้น
ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
ความพยายามที่จะแก้ปัญหาของชาติด้วยการปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้น
เมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาฉบับแรกมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
2542สร้างความตื่นเต้น ความหวังให้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน ผู้ปกครอง
บุคลากรทางการศึกษา หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็ตาม เวลาผ่านไปเกือบ 6
ปีที่ผ่านมาเมื่อย้อนมองกลับไปดู
หลายๆฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร
ยังคงมีปัญหาอุปสรรค ความคลุมเครือ ความล่าช้า และขาดการประสานงานที่ดี
ซึ่งที่ผ่านมาเราพอจะสรุปเป็นปัญหาได้ดังนี้
1.
กระทรวงศึกษาธิการเปรียบเหมือนนาวาลำใหญ่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ยุบ ย้าย
จึงเป็นไปด้วยความล่าช้า และไม่ลงตัว
ตัวอย่างเช่นการรวมสำนักงานการประถมศึกษาและกรมสามัญศึกษา
เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวางตัวบุคคลในตำแหน่ง การประสาน
ดำเนินงานที่ต่างวัฒนธรรม
ต้องมารวมกันย่อมต้องอาศัยเวลาในการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันผลที่ตามมาคือความล่าช้าของการประสานงานกับโรงเรียน
และการดูแลติดตามในงานที่รับผิดชอบ
2.
ในการจัดการเรียนการสอนที่ต้องจัดโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา เมืองไทยนำแนวการจัดการศึกษามาจากต่างประเทศ (
สหรัฐอเมริกา) ซึ่งประชาชนของเรามีทัศนคติ วัฒนธรรม ที่ต่างกันอย่างมาก
การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ได้มาจากการศึกษาคุณลักษณะ
รากเหง้าที่แท้จริงของความเป็นไทย นักการศึกษาพยายามนำเสนอวิธีการสอนในแบบต่างๆ
ซึ่งครูก็พยายามที่จะเรียนรู้และทำตามแต่ยังไม่ทันจะจัดการสอนในแบบแรกได้ดี
ก็มีการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ เชื่อว่า ดีกว่า เป็นอย่างนี้โดยตลอด
การจัดการเรียนการสอนในยุคนี้ในทัศนคติของข้าพเจ้าขอให้คำความหมายสั้นๆว่า
ฟุ่มเฟือย ทั้งครูและ นักเรียน
ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐาน ร่องรอยของการเรียนการสอน
ในรูปของสื่อและแฟ้มสะสมงาน มีการใช้กระดาษ แฟ้ม แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด วัสดุสำนักงาน
ฯลฯ กันอย่างมากมายมหาศาลในยุคแห่งการปฏิรูปการศึกษา
3.
ในฐานะของคนเป็นครู ไม่เคยเห็นว่าครูในยุคใดจะได้รับการบีบคั้น กดดัน
เท่ากับยุคแห่งการปฏิรูป
การศึกษา ครูแก่ๆที่เห็นว่าไร้ประสิทธิภาพ ไม่ก้าวหน้าไม่ทันสมัย
เป็นความผิดของครูเหล่านั้น
หรือที่เขาเกิดก่อนยุคคอมพิวเตอร์ เราตัดสินว่าเด็กอายุ 10
ปีสามารถส่งE-mailได้นั้น เก่งกว่าครู
แก่อายุ50 60ปีที่กลัวแม้แต่จะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำไมจึงไม่มีการมองถึงคุณความดีที่ครูแก่ๆ
ได้ทำไว้เมื่อ 20-30ปีก่อนหน้านี้
คงยังมีปัญหามากกว่านี้ ถ้าเราได้วิเคราะห์ไปในแต่ละด้าน
แล้วสิ่งใดจะเป็นหนทางแห่งการนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาที่บรรลุวัตถุประสงค์
เรามักได้ยินคำว่า เราเดินตามหลังประเทศนั้น20 ปีประเทศนี้ 50 ปี
ตราบใดที่เรายังเลือกที่จะเอาอย่าง
การจัดการศึกษาของประเทศอื่นคัดลอกแบบมาโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของเยาวชนไทย
เป็นธรรมดาที่เราต้องตามหลังประเทศเหล่านั้นอยู่ดี
เราลองมาหยุดวิ่งตามต่างชาติ พร้อมให้คนไทยช่วยกันคิดระบบวิธีการจัดการศึกษาของชาติ
ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง ชุมชน
ให้มีวาระแห่งชาติที่จะประมวลรูปแบบแนวทางการจัดการเรียนการสอนของคนไทย
โดยไม่ต้องอาศัยอ้างอิงนักการศึกษาต่างประเทศ
ข้าพเจ้าเชื่อว่าด้วยความสามารถของคนไทย จัดการศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ค่านิยมไทย
ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างจริงจัง
ส่งเสริมคนมีความสามารถพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ ไม่ว่าจะทำงานสาขาอาชีพใดก็ตาม
ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราจะต้องวิ่งแซงหน้านานาประเทศในเร็ววัน
ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู