สาระที่ได้รับจาก e-mail ครับ

 
โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน
Astronomical Network for Schools : ANS
http://www.astroschool.in.th
================================================

ดาวหางแตกสลาย
WWW.SPACE.COM : BROKEN COMET ON ITS WAY




เมื่อปี 2538 นิวเคลียสของดาวหาง 73P/SCHWASSMANN-WACHMANN 3
แตกตัวออกเป็นสามชิ้น กลายเป็นดาวหางขนาดเล็กอย่างน้อยสามดวง (MINI-COMET)
โคจรตามกันไปภายในอวกาศ ดาวหางดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ห่างจากโลก ประมาณ
150 ล้านไมล์ และกำลังจะเข้าใกล้โลกภายในเดือนพฤษภาคมศกนี้
ชิ้นส่วนทั้งหมดจะโคจรผ่านโลกใกล้กว่าดาวหางดวงอื่นๆ ในรอบแปดปี
เจ้าหน้านาซากล่าวว่าการมาเยือนของดาวหางดังกล่าวจะไม่มีอันตรายเนื่องจากการชน
โดยชิ้นส่วนที่เข้าใกล้โลกมาที่สุดอยู่ที่ระยะ 6 ล้านไมล์ หรือประมาณ 25 เท่า
ของระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงจันทร์


เพื่อเตรียมต้อนรับอาคันตุกะรายนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจะถูกใช้เพื่อถ่ายภาพ
ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์วิทยุ ARECIBO ใน PUERTO RICO
จะถูกใช้เพื่อศึกษารูปร่างและการหมุนรอบตัวเอง
สำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสามารถถ่ายภาพดาวหางดังกล่าวเมื่อพวกมันอยู่ในกลุ่มดาวหงส์
(CYGNUS) และม้าบิน(PEGASUS) ในวันที่ 12,13 และ 14 พฤษภาคม
ทว่าเมื่อมันเข้าใกล้โลกมากที่สุดก็เป็นช่วงที่มันสว่างน้อยที่สุดเช่นกัน
โดยมีความสว่างเพียงลำดับที่ 3 หรือ 4 ซึ่งไม่เพียงพอที่ตาเปล่าจะมองเห็นได้
ต่างจากดาวหาง HAYUTAKE และ HALE-BOPP เมื่อปี 2539 และ 2540
ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลพิษทางแสง ส่วน ชิ้นส่วนดาวหาง
73P เหมาะที่สุดสำหรับบริเวณชานเมืองหรือชนบท
จำนวนชิ้นส่วนของดาวหางเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ครั้งแรกเมื่อปี 2538
มันแตกเป็น 3 ชิ้น (A,B และ C) แต่ขณะนี้พบว่ามันมี 8 ชิ้น ได้แก่ B กับ C
บวกกับชิ้นส่วนเล็กๆ G H J L M และ N ซึ่งคาดว่าแตกออกมาจากชิ้นส่วน A


นอกจากนี้บางทีกลุ่มฝุ่นดาวหางที่หลุดออกมาตามรายทางอาจก่อให้เกิดเมฆฝุ่น
และฝนดาวตกด้วย แม้ว่ากลุ่มฝุ่นจะขยายตัวตลอด 11 ปี แต่ก็ช้าเกินไป
ซึ่งนั่นอาจมีสาเหตุเดียวกับที่ทำให้ดาวหางแตกตัวและนั่นยังไม่มีใครทราบ
คำอธิบายที่ดีที่สุดคือแกนกลางดาวหางแตกตัวเหมือนกับก้อนน้ำแข็งที่ถูกทิ้งลงไปในน้ำร้อน
ดาวหางแยกตัวออกจากกันเมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์
นั่นคือสาเหตุที่ทำให้กลุ่มฝุ่นดาวหางขยายตัวช้า เกินกว่าจะทำให้เกิดฝนดาวตกอันชุกชุม
ในมุมกลับกันหากดาวหางแตกตัวเพราะถูกชนเพราะเทหวัตถุอื่นๆ
การชนแบบนี้จะทำให้เกิดชิ้นส่วนที่มีความเร็วสูงพอที่จะเกิดฝนดาวตกอันหนาแน่น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือดาวหาง BIELA ที่เริ่มแตกตัวในปี 2389
และแตกออกอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2415 ทำให้เกิดฝนดาวตกที่ชุกที่สุดประมาณ (3000 ถึง
15000 ดวงต่อชั่วโมง) ที่เกิดจากการตายของดาวหางดวงนี้ในปี 2415 , 2428
และ 2435



สมมติว่าการแตกตัวเนื่องจากความร้อนของ 73P
กลุ่มฝุ่นจะเดินทางมาถึงโลกในปี 2565 ทำให้เกิดฝนดาวตกเบาบาง
แต่หากดาวหางดวงนี้ยังคงแตกตัวออกไปเรื่อยๆ
โอกาสที่จะเห็นฝนดาวตกที่น่าดูมากยิ่งขึ้นจากดาวหางดวงนี้ก็ยังเป็นไปได้อยู่

more detail.
http://www.astroschool.in.th/1024size/high/morning/news/detail_news_inc.php?id=361

ส่งข่าวถึงเมื่อวันที่ : 30-03-2549 เวลา : 17:04:11
================================================
หากมีปัญหา หรือมีข้อสงสัยประการใด
กรุณาติดต่อมาที่ astroschooltechnic@astroschool.in.th
 

 
 

  [หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard] [คุรุชน]   counter power by www.seal2thai.org    

 

ร่วมสนับสนุนเรา โดยการทำ link มาหาเรานะครับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก พรมลายน่ารัก มะขาม ขนมจีน ข้อสอบ o-net a-net สอบบรรจุครู

     มะขาม